ไม่ผิดจะกลัวอะไร : “ปราบมาเฟียเพื่อความมั่นคง”

คำสั่ง หน.คสช. “ปราบมาเฟียเพื่อความมั่นคง” Chapter II โดย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน 

“เมื่อรั้วของชาติ ทำลายรั้วของประชาชน”

สารคดีว่าด้วยพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ทหารในการควบคุมตัวประชาชนชาวไทยตามอำนาจที่ได้รับมาจากกฎอัยการศึกจนถึงคำสั่งจากหัวหน้า คสช.จริงหรือไม่ที่ทหารกำลังจะปราบมาเฟียตามที่รัฐบาลกล่าวอ้าง

สารคดีชิ้นนี้จะเปิดเผยคำบอกเล่าจากบุคคลที่ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหารจะมาเล่าข้อเท็จจริงโดยละเอียดว่าใครคือ “มาเฟีย” ตัวจริง

พร้อมบทความที่สะท้อนคำบอกเล่าของบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหารที่ เป็นการควบคุมตัวโดยอาศัยอำนาจจาก คสช.ที่เป็นเพียงความชอบธรรมเดียว ทำให้ทหารสามารถควบคุมตัวประชาชนได้โดยไม่แจ้งข้อกล่าวหา ไม่มีหมายจับ ขัดกับหลักประมวลวิธีพิจารณาความทางอาญาและมีเสียงสะท้อนจากองค์กรระหว่างประเทศว่า อาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน

 

– การควบคุมตัวตามมาตรา 44

“ผมจะถามคำถามง่าย ๆ แต่ตอบยากแค่นั้นแหละ อย่างเช่นถามว่ามาทำแบบนี้กับไปใช้วิธีดำเนินคดีตามกฎหมาย อย่างไหนถูกต้องกว่า … ถามทุกคนที่มา ถามเจ้าหน้าที่ทุกคน ระหว่างใช้มาตรา 44 กับไม่ใช้มาตรา 44 แล้วทำแบบนี้ได้ไหม…”

คืนวันที่ 9 มี.ค. 2559 สราวุธ บำรุงกิตติคุณ ถูกทหารตำรวจอย่างน้อย 30 นาย ทั้งในและนอกเครื่องแบบ ควบคุมตัวไปจากห้องที่ทำงาน ใน จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมยึดคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโทรศัพท์มือถือของเขา โดยไม่แจ้งสาเหตุให้ทราบ ไม่มีหมายจับหรือแม้กระทั่งหมายค้น

อาศัยแค่อำนาจตามมาตรา 44 เพียงเท่านั้น เขาก็ต้องไปใช้ชีวิตกินนอนอยู่ในค่ายทหารถึง 8 วัน โดยไม่ได้สมัครใจ หรือกระทำผิดกฎหมายใด

อำนาจตามมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ที่ว่านี้ ระบุให้ “ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทำการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว”

อาจถือได้ว่า อำนาจตามมาตรา 44 ได้ให้อำนาจหัวหน้า คสช. ออกคำสั่งที่แทบจะเป็นอำนาจอาญาสิทธิ์ เบ็ดเสร็จ เด็ดขาด และไร้ซึ่งข้อจำกัด ซึ่งคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่มักถูกเจ้าหน้าที่ทหารนำมาอ้างเพื่อควบคุมตัวบุคคลไว้ในค่ายทหาร ได้แก่ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2559

ทั้งคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และ 13/2559 ให้อำนาจทหารในการตรวจค้น  ยึด  และควบคุมตัวบุคคลไม่เกิน 7 วัน  โดยไม่ต้องมีหมายศาล ใช้เพียงแค่ความสงสัยของทหารเพียงฝ่ายเดียวก็สามารถกระทำการดังที่ว่านี้ได้


– กรณีควบคุมตัวแอดมินเพจเปิดประเด็น

สราวุธ บำรุงกิตติคุณ เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า มีผู้แจ้งว่าเขาเป็นพวกหมิ่นสถาบันและรับจ้างทำเพจการเมือง คือเพจ “เปิดประเด็น” ที่สราวุธทำเป็นงานอดิเรกด้วยตนเองคนเดียว ทำให้เขาถูกควบคุมตัวราวกับเป็นผู้ก่อการร้าย ทั้งที่ตัวเขาเองไม่ชอบเฮทสปีช ไม่ชอบภาพตัดต่อใส่ร้าย ไม่ว่าจะเกี่ยวกับสถาบันหรือไรก็ตาม

คืนที่ถูกควบคุมตัวนั้น เจ้าหน้าที่พาสราวุธไปไว้ที่ค่ายวิภาวดีรังสิต (มทบ.45) ก่อนจะนำตัวขึ้นเครื่องบินมายัง มทบ.11 กรุงเทพมหานคร และถูกกักอยู่ในห้องหน้าต่างปิดทึบ มีทหารเวรคอยเฝ้ากะละสามนาย เขาถูกสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) และควบคุมตัวอยู่ที่ มทบ.11 ก่อนจะถูกส่งตัวกลับมาปล่อยที่ จ.สุราษฎร์ธานี ในวันที่ 16 มี.ค. 2559

“เขาก็พยายามโยง เขาคิดว่ามีต้นสาย ก็พยายามจะโยงให้ได้ เรื่องเครือข่าย ด้วยรูปแบบเพจ ด้วยรูปแบบเนื้อหา ด้วยภาษาที่ใช้ มันทำให้นึกว่ามีคนที่มีความรู้สูง ๆ ที่เรียนจบมาทางด้านกฎหมาย ทางด้านอะไรเป็นทีมงานกันหลายคน และมีการจ้างทำกราฟฟิก มีการจ้างทำทุกขั้นตอนอะไรแบบนี้ ภาพมันดูเหมือนว่าทำกันหลายคน ซึ่งจริง ๆ มันทำคนเดียวก็ทำได้ เขาพยายามถามว่ามีใครร่วมขบวนการบ้าง” สราวุธเล่าถึงการสอบสวนภายใน มทบ.11

ถึงจะไม่มีการทำร้ายร่างกายในกรณีของเขา แต่สราวุธก็ยอมรับว่าถูกข่มขู่ และมีความกังวลใจที่ไม่สามารถติดต่อใครได้ในระหว่างนั้น

“แต่ว่าขนาดนั้นมันก็คือการจำกัดสิทธิแล้ว คือการจำกัดความเห็น มีข่มขู่ว่าจะให้ขึ้นศาลทหารอย่างนี้ ผมก็ฟุ้งซ่านไปเยอะ”

เป็นเวลากว่า 8 วัน ที่สราวุธถูกควบคุมตัวไว้ในค่ายทหาร โดยไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกได้ เช่นเดียวกับที่ญาติและทนายความต่างถูกปฏิเสธไม่ให้ติดต่อกับสราวุธ ในขณะที่โฆษก คสช. ออกมาปฏิเสธผ่านสื่อมวลชนว่า ไม่มีข้อมูลการควบคุมตัวแอดมินเพจเปิดประเด็น

ตลอดระยะเวลา 8 วันนั้น สราวุธกลายเป็นบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย หรือ “อุ้มหาย” ซึ่งเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคล ตามมาด้วยการปกปิดสถานที่ควบคุมตัว และปฏิเสธจะทราบชะตากรรมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้บุคคลอยู่ภายนอกการคุ้มครองของกฎหมาย อันเป็นการละเมิดต่อพันธกรณีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญ โดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance: CED)

– กรณีควบคุมตัวแกนนำร้องเรียน เรื่องไล่รื้อบ้านเรือนและพื้นที่ประกอบอาชีพประมงริมชายหาด อ.เมือง จ.ระยอง

หลังการควบคุมตัวสราวุธในอีก 20 วันถัดมา เช้ามืดวันที่ 29 มี.ค. 2559 ชาวระยองสามคนถูกทหารควบคุมตัวจากบ้านพักไปยังค่ายนวมินทราชินี (มทบ.14) จ.ชลบุรี

“โอ๊ย! ทำไมมาเยอะแยะ อย่างกับจับเสือ จับโจร ทหารมาเยอะ หลายคัน เป็นแถวเลยตรงหน้าบ้าน ชาวบ้านก็แตกตื่นออกมาดู ก็ตกใจทหารมาเยอะ”ละม่อม บุญยงค์ หนึ่งในผู้ถูกควบคุมตัวเล่าย้อนไปถึงเหตุการณ์วันนั้น ก่อนที่ตัวเขา อนันต์ ทองมณี และรังสรรค์ ดอกจันทร์ จะถูกพาตัวไปที่ค่ายมหาสุรสิงหนาท (พัน ร.7) ที่ จ.ระยอง แล้วจึงส่งตัวต่อไปยัง มทบ.14 จ.ชลบุรี

“ถามว่ามาเชิญเรื่องอะไร เขาก็บอกว่ามันมีข่าวมาว่าลุง พวกลุงสามคน จะก่อม็อบ ชวนชาวบ้านทั้งหมดก่อม็อบไล่นายอำเภอ ลุงก็งง มันไม่เคยมีความคิดของลุงที่จะไปก่อม็อบอะไรพวกนี้ แล้วชาวบ้านหยิบมือแค่นี้จะไปก่อม็อบทำไม”

เช่นเดียวกับอนันต์ ทองมณี ที่ยืนยันว่าพวกเขาไม่ได้ทำอย่างที่ทหารอ้าง “คือกล้าพูดและกล้าแสดงออก กล้ามีจิตอาสาที่จะทำเพื่อชาวบ้าน คือกล้า ถ้าถามว่าจะกล้าไปก่อม็อบนั่นไม่กล้าหรอก บอกท่าน ผบ. ผมไม่ได้คิดทำอะไรท่านไปสืบดูได้ ไปสืบถามชาวบ้านว่า ณ วันนี้ชาวบ้านรวมตัวกันไหม รวมตัวไหม ไม่มี”

แม้ปรากฏข้อเท็จจริงดังว่า แต่ทั้งสามคนก็ต้องถูกควบคุมตัวไว้ที่ มทบ.14 หนึ่งคืน และถูกยึดโทรศัพท์ไว้ ก่อนจะปล่อยตัวในเช้าวันถัดมาโดยไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาว่ากระทำผิดตามกฎหมายใด


– การควบคุมตัวที่มีราคาต้องจ่าย

จุดร่วมของสี่คนนี้ คือการถูกจับจากข่าวที่ทหารได้รับ นำตัวพวกเขาไปไว้ในค่ายทหาร และปล่อยตัวออกมาหลังจากพบว่าไม่มีใครทำผิดตามที่ถูกสงสัย

“เรียกว่ามันเกิดความผิดพลาดที่เขา หน่วยข่าวกรองเขา การกรองข่าวเขามันผิดพลาด การกรองข่าวเขาว่าเขาจะต้องได้อะไรที่มันใหญ่โต ได้คนผิดแน่นอนอะไรอย่างนี้ แต่พอเอาเข้าจริงแล้วเขาไปได้เอาประชาชนธรรมดาที่วิจารณ์รัฐบาลอย่างบริสุทธิ์ใจ สุจริต” สราวุธให้ความเห็น

ไม่ผิดก็ไม่ต้องกลัว เนื้อความที่ผู้นำทหารย้ำผ่านสื่อมวลชนบ่อยครั้งเมื่อถูกถามถึงมาตรการที่นำมาใช้จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนผ่านมาตรา 44 เห็นได้ว่า กรณีตัวอย่างทั้งสี่คนนี้ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย และไม่มีการดำเนินคดีทางกฎหมายใด ๆ ตามมา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่ได้รับความเสียหายจากการถูกควบคุมตัวในลักษณะนี้

“นอกจากเสียเวลาไป 7-8 วันในการถูกควบคุมตัวแล้วยังต้องมานั่งตั้งสติ เรียกขวัญตัวเองอีก 4-5 วัน แล้วต้องมานั่งเช็คคอมพิวเตอร์อีก 3-4 วันอย่างนี้ กว่าจะเรียกกลับมาได้ก็เสียหายไปเยอะนะ” สราวุธชี้แจงในกรณีของเขา

อดีตแอดมินเพจเปิดประเด็นเล่าว่า คอมพิวเตอร์ของเขาเสียหายในส่วนของเมนบอร์ดและพาวเวอร์ซัพพลาย สายฮาร์ดดิสก์และฮาร์ดดิสก์บางตัวหลุดออกมา คล้ายกับถูกถอดเพื่อรื้อดูข้อมูลในนั้น ทำให้ฮาร์ดดิสก์เสียหาย อ่านข้อมูลไม่ได้ เพราะก่อนหน้านี้เขาเข้ารหัสคอมพิวเตอร์ไว้

นอกจากนี้ เขายังถูกบีบให้ต้องเซ็นยอมรับเงื่อนไขของ คสช. เพื่อจะได้รับการปล่อยตัว ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวระบุว่า จะไม่เดินทางออกนอกประเทศก่อนได้รับอนุญาต ละเว้นการเคลื่อนไหวหรือประชุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ และเมื่อไหร่ที่ให้ความช่วยเหลือ หรือสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง เขายินยอมที่จะถูกดำเนินคดีและถูกระงับธุรกรรมทางการเงิน อันเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 40/2557 ที่เพิ่มเติมคือ สราวุธถูกทหารสั่งให้ปิดเพจเปิดประเด็นอีกด้วย

เช่นกันกับที่ระยอง ละม่อม อนันต์ และรังสรรค์ ถูกห้ามรวมตัวกัน หรือไปปรากฏตัวในที่ชุมนุมของคนจำนวนมาก

“เขาก็บอกสั่งมาว่า ถ้ามานี่แล้วอย่าไปรวมตัวกันอีก อย่าไปอยู่กับคนหมู่มาก ถ้าเขาถ่ายรูปลุงอยู่ในคนหมู่มากอีก เขาจะเชิญมาอีก ทีนี้จะมาอยู่หลายวัน เขาว่าแบบนั้น” ละม่อมเล่าถึงเงื่อนไขการปล่อยตัวที่ถูกกำชับมาจากฝ่ายทหาร

อย่างไรก็ตาม ที่ จ.ระยอง นั้นดูเหมือนการควบคุมตัวและตั้งเงื่อนไขของ คสช. จะยิ่งส่งผลกระทบหนัก เมื่อคนที่ถูกควบคุมตัวไปคือหัวหน้าครอบครัว ผู้มีภาระหน้าที่ดูแลอีกหลายชีวิตในบ้าน

“มาจับผมทำไม ทางนี้ก็เดือดร้อนสิ หมึกก็ไม่มีใครไปซื้อ นั่นก็ไม่มีใครไปซื้อ ตาย มันเดือดร้อนนะ ถ้าอยู่สามวัน ครอบครัวผมจะทำไง มีกินไหม ลูกเต้าจะทำไง เพราะว่าเงินต้องอยู่กับผม ตื่นเช้ามาค่าใช้จ่ายอยู่กับผมหมด ทางนี้จะทำไง เอทีเอ็มก็อยู่กับผมหมด จะทำยังไงทีนี้” อนันต์เล่าถึงความร้อนใจระหว่างถูกควบคุมตัว

นอกจากนี้ ทั้งละม่อม อนันต์ และรังสรรค์ ต่างเป็นกลุ่มชาวประมงเรือเล็กและประกอบอาชีพแปรรูปอาหารทะเลริมชายฝั่ง ซึ่งได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไล่รื้อที่อยู่ของพวกเขาบริเวณชายหาด ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ระยอง เพื่อขอให้รัฐจัดพื้นที่รองรับสำหรับผู้ได้รับผลกระทบเสียก่อน แต่เมื่อมีเงื่อนไขห้ามรวมตัวดังกล่าวแล้ว กระบวนการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างก็เกิดขึ้นโดยที่พวกเขาไม่กล้าคัดค้านอะไรอีกต่อไป


เขาบอกว่าให้ทำตามมติที่ประชุม จับมือทำตามมติที่ประชุมเลย คือรื้อ บอกให้รื้อเลย แล้วห้ามให้เราเข้าไปในที่ที่มีคนมาก ห้ามประชุมชาวบ้านห้ามอะไร เราก็ไม่ทำ เราก็ไม่เคยเข้าไป แม้แต่จะไปงานบวชเขาเรายังไม่ไปเลย กลัวเขาจะมาเชิญเราอีก กลัวเดือดร้อน ไปงานแต่งก็กลัวที่มีคนเยอะ ๆ เพราะเขาห้ามไว้แล้ว” อนันต์เล่าถึงสถานการณ์หลังได้รับการปล่อยตัว

ปัจจุบันนี้ อนันต์อาศัยอยู่ในเพิงผ้าใบที่ทางเทศบาลนำมาตั้งไว้ เนื่องจากบ้านถูกรื้อทำลายตามนโยบายจัดระเบียบชายหาดของ คสช. ซึ่งนโยบายนี้ได้หอบเอาวิสาหกิจชุมชน ต.ปากน้ำ และธนาคารปูหายไปจากพื้นที่ เนื่องจากเป็นสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณชายหาดอีกด้วย


จะจัดยังไงก็ให้มีที่รองรับให้กับเรามั่ง ให้คนจน ๆ ระบบรากหญ้าได้มีที่ยืน ได้มีที่ทำกิน ไม่ใช่มารื้ออาชีพดั้งเดิมเขา ไม่ใช่ไม่มีที่รองรับอะไรเขาเลย อย่างนี้มันเดือดร้อนครับ มันเดือดร้อน ถามทุกคนได้ บางคนร้องไห้เลย มีภาพทหารมาหิ้ว ร้องไห้ ก็หมดตัวน่ะ คนเราหมดตัวจะทำไง

วันนี้ผมมาอยู่ตรงนี้ ตามคำสั่งของเทศบาล เขียนไว้ว่าที่รองรับผู้ได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบชายหาด ผมก็จำเป็นจะต้องมานั่งกินตรงนี้ นอนกินตรงนี้ เพื่อรออะไร รอให้เขาได้จัดสรร ได้เข้ามาช่วยเหลือ ผมก็อยากรู้ ท่านจะทนเห็นได้ไหมกับคนที่ถูกล้มล้างอาชีพที่ทำมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายต้องมาเป็นอย่างนี้” อนันต์เปิดปากเล่าท่ามกลางเครื่องเรือนและอุปกรณ์ทำกินกองระเกะรกะภายใต้เพิงผ้าใบที่เปิดโล่งทั้งสี่ด้าน

เวลา สภาพจิตใจ ทรัพย์สิน บ้าน อาชีพ และสิทธิที่จะเรียกร้องชีวิตที่ดีให้แก่ตนเอง คือสิ่งที่เสียหาย หรือถูกทำลายไปหลังการควบคุมตัวทั้งสี่คน ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44

หากไม่ผิดจะกลัวอะไร คงเป็นคำตอบที่ คสช. อยากจะย้ำกับสราวุธ ละม่อม อนันต์ รังสรรค์ และคนไทยคนอื่นอีกหลายล้านคน เพื่อให้ยังคงสามารถใช้อำนาจควบคุมตัวประชาชนได้ต่อไปไม่รู้จบ แต่จากสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนทั้งสี่ และอาจมีอีกมากมายนับพันคนที่ถูกควบคุมตัวโดย คสช. เราอาจต้องเริ่มเปลี่ยนคำถามมาเป็นหากปล่อยให้มีการใช้อำนาจตามอำเภอใจแบบนี้ ถึงไม่มีความผิด ใครเลยจะกล้าการันตีว่าจะไม่มีใครต้องสูญเสียอะไรไปอีกมากต่อมากเท่าไหร่.

ย่ำรุ่งที่หมุดคณะราษฎร สู่พลบค่ำในเรือนจำ: ประมวลสถานการณ์สิทธิฯ วัน 84 ปีอภิวัฒน์สยาม

24 มิ.ย.59 เหมือนเช่นทุกปี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนเวียนมาถึง วันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย ที่สังคมไทยมีการรำลึกถึงวันนี้ในแง่มุมต่างๆ ปีนี้ในโอกาสครบ 7 รอบ หรือ 84 ปี นับจากปี 2475 ก็มีการจัดกิจกรรมหลากหลายประเภท ทั้งกิจกรรมแสดงออกรำลึก กิจกรรมเสวนาวิชาการ หรือการอภิปรายต่างๆ รวมแล้วเกือบ 10 กิจกรรมตลอดวัน กระจายไปในหลายจุด ทั้งที่หมุดคณะราษฎร อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันปรีดี พนมยงค์ หรือห้องสมุดสันติประชาธรรม

แต่ภายใต้การควบคุมอำนาจของคสช.มากว่า 2 ปี ทำให้การจัดกิจกรรมสาธารณะต่างๆ ที่เคยเป็นเรื่องปกติกลายเป็น “เรื่องผิดปกติ” เพราะอยู่ภายใต้การปิดกั้นแทรกแซงของเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวด มิหนำซ้ำ ในปีนี้ ยังมีการจับกุมดำเนินคดีนักกิจกรรม นิสิตนักศึกษา คนงานจากสหภาพแรงงาน รวมแล้ว 20 ราย ในข้อหาชุมนุมทางการเมืองและต้องถูกพิจารณาในศาลทหาร สถานการณ์ในหนึ่งวันอันทำให้เห็นสภาวะสิทธิเสรีภาพในสังคมไทยที่ดูจะสวนทางกับการเป็น “วันเกิด” ของระบอบประชาธิปไตยไทย รายงานต่อไปนี้ประมวลสถานการณ์ตลอดวันอันยาวนานวันหนึ่งสำหรับหลายๆ คน

ความเดิมก่อนเวลาย่ำรุ่ง: ควบคุมตัว 13 นักกิจกรรม NDM-สหภาพแรงงาน ขณะแจกเอกสารโหวตโน

ตั้งแต่เย็นวันที่ 23 มิ.ย. เวลา 17.30 น. ที่บริเวณหลังตลาดสดหมู่บ้านการเคหะบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจได้มีการเข้าจับกุมนักกิจกรรมกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ (NDM) และกลุ่มสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ รวม 13 คน ขณะกำลังแจกแผ่นพับ และเอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีเนื้อหาบางส่วนที่รณรงค์ให้ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หรือโหวตโน โดยมีการควบคุมตัวทั้งหมดไปที่สภ.บางเสาธง ก่อนที่เจ้าหน้าที่ระบุว่าจะดำเนินคดีในข้อหาความผิดตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องการชุมนุมทางการเมืองจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป

เจ้าหน้าที่ยังได้มีการตรวจยึดเอกสารที่มีการแจก ได้แก่ 1.ใบปลิวขนาดใหญ่โนโหวตหรือโหวตโน 2.หนังสือชื่อเรื่องความเห็นแย้งและคำอธิบายสาระสำคัญรัฐธรรมนูญ 10 เรื่องน่ารู้  3.ใบปลิวขนาดใหญ่ชื่อ “ก้าวข้าม ขบวนการประชาธิปไตยใหม่” 4.เอกสารแนะนำวิธีการยื่นคำขอลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงประชามตินอกเขตจังหวัด พร้อมกับโทรโข่ง 1 อัน

photo_2016-06-25_09-20-22

13466450_1026232280759959_4689505060565736853_n

จนช่วงเวลา 2.00 น. พ.ต.ท.กัณต์ชวิศ โพธิ์ประสิทธิ์ พนักงานสอบสวนชำนาญการพิเศษ สภ.บางเสาธง ได้เริ่มทยอยแจ้งข้อกล่าวหาและทยอยสอบปากคำ โดยในข้อกล่าวหามีการระบุว่า ขณะกลุ่มผู้ถูกควบคุมตัวแจกเอกสารอยู่นั้น “เจ้าหน้าที่ได้เจรจาให้ยุติ แต่ผู้ต้องหากับพวกยังยืนยันจะดำเนินการต่อไป และแจ้งว่าจะแจกแต่เอกสารที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่กกต.แจก เพื่อประชาสัมพันธ์ในการไปร่วมลงประชามติ เอกสารลำดับที่ 4 เท่านั้น แต่กลับแจกเอกสาร รายการที่ 1-3 เพิ่มเติม ซึ่งเป็นเอกสารที่รณรงค์ต่อต้านประชามติ” (ดู https://goo.gl/SKjj4L)

ตั้งแต่ช่วงเวลา 02:00-04:00 น. ผู้ต้องหาที่ตั้งใจจะขอยื่นประกันตัวทั้งหมด 5 คน ได้ทยอยพิมพ์ลายนิ้วมือ ทำประวัติ และสอบปากคำโดยพนักงานสอบสวน สภ.บางเสาธง ในตอนแรก มีผู้ต้องหา 8 คน ที่ประสงค์จะไม่ยื่นขอประกันตัวเพราะยืนยันว่า สิ่งที่กระทำลงไปนั้นไม่ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย จึงไม่มีเหตุต้องขอประกันตัวหรือต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแต่อย่างใด

ต่อมา ในช่วงรุ่งเช้าวันที่ 24 มิ.ย. ขณะทนายความได้เข้าจัดทำเอกสารเพื่อยื่นขอประกันตัว 5 ผู้ต้องหา ที่ประสงค์จะขอประกัน แต่ผู้กำกับสภ.บางเสาธงได้มีคำสั่งใหม่ว่าจะไม่ให้ประกันที่ชั้นตำรวจ แต่ให้นำตัวผู้ต้องหาทั้ง 5 คน ที่ประสงค์จะยื่นประกันไปที่ศาลทหารกับคนอื่นๆ ด้วย และให้ไปยื่นขอประกันตัวที่ศาล

ในช่วงสายวันที่ 24 มิ.ย. พนักงานสอบสวนสภ.บางเสาธง ยังได้แจ้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืนพ.ร.บ.ประชามติ พ.ศ.2559 มาตรา 61 (1) วรรคสอง และวรรคสาม เพิ่มเติมต่อผู้ต้องหาทั้ง 13 คน รวมทั้งแจ้งข้อหาขัดขืนคำสั่งเจ้าพนักงานเพิ่มเติมกับ 8 ผู้ต้องหา ที่ไม่ยินยอมพิมพ์ลายนิ้วมือ เนื่องจากยืนยันว่าพวกตนไม่ได้กระทำผิดกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นความผิดตามประกาศ คมช.ฉบับที่ 25/2549 ซึ่งระบุให้การฝ่าฝืนไม่พิมพ์ลายนิ้วมือตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับรายชื่อผู้ถูกควบคุมตัวจากเหตุการณ์นี้ 13 คน ได้แก่  1.นายรังสิมันต์ โรม อายุ 24 ปี นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2.นายนันทพงศ์ ปารมาศ อายุ 24 ปี นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง 3.นายกรกช แสงเย็นพันธ์ อายุ 24 ปี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4.นายอนันต์ โลเกตุ อายุ 21 ปี นักศึกษาปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 5.นายธีรยุทธ นาบนารำ อายุ 27 ปี สำเร็จการศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 6.นายยุทธนา ดาศรี อายุ 27 ปี นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 7.นายสมสกุล ทองสุกใส อายุ 20 ปี นักศึกษาปริญญาตรีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

8.นายวรวุฒิ บุตรมาตร อายุ 24 ปี นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 9.นางสาวกรชนก ชนะคูณ นักสหภาพแรงงาน 10.นางสาวเตือนใจ แวงคำ นักสหภาพแรงงาน 11.นางสาวปีใหม่ รัฐวงษา นักสหภาพแรงงาน 12.นางสาวพรรทิพย์ แสงอาทิตย์ อายุ 21 ปี นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 13.นายรักษ์ชาติ วงศ์อธิชาติ อายุ 25 ปี นักศึกษาปริญญาโทคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

13501729_1026420584074462_7340956138103952311_n

ย่ำรุ่ง: ประชาชนรำลึกวัน “อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน” ขณะตำรวจพยายามคุมตัว ‘จ่านิว’

ที่หมุดคณะราษฎร ตั้งแต่เวลา 6.00 น. กลุ่มประชาชน กวี และนักกิจกรรม อาทิกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย, กลุ่มกวีมันสูน ได้จัดกิจกรรมรำลึกเช้าวันที่มีการประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครอง พร้อมอ่านประกาศคณะราษฎร โดยนักกิจกรรมได้ร่วมกันทำความสะอาดหมุดคณะราษฎร มีการนำดอกไม้ พวงมาลัย รูปภาพคณะราษฎร พร้อมข้อความ “อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน” มาวางโดยรอบหมุดคณะราษฎร

ตั้งแต่ก่อนหน้าเวลานัดหมาย ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ นำโดย พ.ต.อ.อรรถวิทย์ สายสืบ รองผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 พร้อมเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบจากสน.ดุสิตราว 40 นาย จัดกำลังดูแลโดยรอบบริเวณ รวมทั้งยังมีเจ้าหน้าที่ทหารนอกเครื่องแบบสังเกตการณ์ถ่ายรูปกิจกรรม โดยขณะประชาชนร่วมกันจัดแต่งดอกไม้ กล่าวถ้อยคำรำลึก และอ่านบทกวี เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้จัดกำลังยืนล้อมโดยรอบบริเวณหมุดคณะราษฏร

จนเวลา 6.25 น. นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ “จ่านิว” ได้เดินทางมาถึง ขณะลงจากรถ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีความพยายามจะควบคุมตัว โดยระบุว่า “นายจะเชิญไปพูดคุย” เมื่อนายสิรวิชญ์ปฏิเสธ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่รอบๆ ก็กรูกันเข้ามาล้อมและพยายามนำตัวขึ้นรถตำรวจของสน.ดุสิต แต่จากนั้นก็ได้มีการปล่อยตัว ไม่ควบคุมตัวต่อ โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด

เวลา 6.40 น. ยังปรากฏชายใส่ชุดสูทสีดำคนหนึ่ง มายืนกล่าวโจมตีคณะราษฎร ในลักษณะว่าไม่ได้เป็นผู้นำพาประชาธิปไตย ตำรวจจึงพยายามกันตัวออกมา และมีการตรวจค้นกระเป๋าของชายคนดังกล่าวด้วย

จากนั้น เวลา 6.50 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งประชาชนให้เลิกกิจกรรม โดยให้เวลา 5 นาทีในการเก็บข้าวของ เพื่อเปิดการจราจร ผู้จัดงานและประชาชนจึงทยอยแยกย้ายกันกลับ


8

10

photo_2016-06-24_06-32-16

ยามสาย: ตำรวจ-ทหารคุมตัวนิสิตกลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์ 7 คน จัดกิจกรรม “24 มิถุนา ปัดฝุ่นประชาธิปไตย”

ที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน นิสิตจากกลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์ ได้จัดกิจกรรม “24 มิถุนา ปัดฝุ่นประชาธิปไตย” โดยกิจกรรมจะมีการเดินไปยังอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญหรืออนุสาวรีย์ปราบกบฏ บริเวณวงเวียนหลักสี่ เพื่อร่วมกันทำความสะอาดอนุสาวรีย์ อันเป็นอนุสรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช โดยมีการบรรจุอัฐิทหารและตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ภายใน

แต่เวลา 9.30 น. ขณะกลุ่มนิสิตนักศึกษาราว 10 คน เริ่มรวมตัวกันบริเวณวัด ได้มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบหลายนาย บางนายใส่เสื้อระบุว่ามาจากสืบสวนนครบาล 2 เข้าเจรจาจะเชิญตัวไปที่สถานีตำรวจ โดยเจ้าหน้าที่มีการขอถ่ายรูปวารสาร “ก้าวข้าม” ที่ทางกลุ่มนิสิตนักศึกษาเตรียมเดินแจกระหว่างทาง พร้อมระบุว่าอาจเป็นความผิดเรื่องการชุมนุมทางการเมือง ทั้งยังมีการนำรถตู้ของตำรวจมาจอดรอไว้ในบริเวณวัด แต่ทางกลุ่มนิสิตนักศึกษายืนยันว่าไม่ได้กระทำความผิดใด เจ้าหน้าที่ยังพยายามจะปิดประตูวัด และพยายามจะควบคุมตัวนิสิตชายรายหนึ่ง จนมีการฉุดกระชากไปนอนกับพื้นบริเวณลานวัด แต่กลุ่มนิสิตก็ได้รวมตัวกันเดินออกมาจากวัดพระศรีมหาธาตุได้

จากนั้น ระหว่างกลุ่มนิสิตนักศึกษาเดินเท้าบนทางเท้าไปยังวงเวียนหลักสี่ เจ้าหน้าที่ได้มีการนำกำลังทหารและตำรวจในเครื่องแบบ เจ้าหน้าที่หน่วยควบคุมฝูงชน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงเข้ามาเพิ่ม และพยายามเข้าควบคุมตัวกลุ่มนิสิตนักศึกษา แต่ทางกลุ่มนิสิตเห็นว่าไม่มีการระบุข้อหาความผิดที่ชัดเจน หรือแจ้งว่าใช้อำนาจใดในการควบคุมตัว กลุ่มนิสิตนักศึกษาจึงคล้องแขนกันนั่งลง พร้อมปฏิเสธไม่ให้ควบคุมตัว

photo_2016-06-24_09-36-02

photo_2016-06-24_09-47-00

photo_2016-06-25_09-13-02

photo_2016-06-24_10-01-22

จนเวลา 10.00 น. เจ้าหน้าที่ได้นำกำลังล้อม ก่อนเข้าอุ้ม ลาก และควบคุมตัวกลุ่มนิสิต นักศึกษา และนักกิจกรรม รวม 7 คน ขึ้นรถตู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจไปยังสน.บางเขน โดยผู้ถูกควบคุมตัวประกอบไปด้วย

1.น.ส.อรัญญิกา จังหวะ อายุ 21 ปี นิสิตคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 3

2.นายเกษมชาติ ฉัตรนิรัติศัย อายุ 21 ปี นิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 4

3.น.ส.สุทธิดา วัฒนสิงห์ อายุ 21 ปี นิสิตคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 3

4.นายกานต์ สถิตศิวกุล อายุ 19 ปี นิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2

5.นายอุทัย ช่วยตั้ว อายุ 21 ปี นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 3

6.นายคุณภัทร คะชะนา อายุ 21 ปี นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ชั้นปีที่ 4

7.น.ส.ชนกนันท์ รวมทรัพย์ อายุ 23 ปี สมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่

จากนั้นทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ติดตามไปยังสถานีตำรวจ แต่ในตอนแรกเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้เข้าพบกับกลุ่มผู้ถูกควบคุมตัว โดยแจ้งว่าให้อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คุยกับนิสิตนักศึกษาอยู่ ทางกลุ่มนิสิตระบุว่าได้มีอาจารย์เข้ามาเกลี้ยกล่อมและแจ้งว่าทางมหาวิทยาลัยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่ขอรับผิดชอบใดๆ ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

จนเวลาราว 11.00 น. นายอานนท์ นำภา ทนายความ ได้รับอนุญาตให้เข้าพูดคุยกับกลุ่มผู้ถูกควบคุมตัว และเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าจะดำเนินคดีทั้ง 7 คน ในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 ข้อ 12 เรื่องชุมนุมทางการเมืองจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป และความผิดตามพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ เนื่องจากจัดการชุมนุมโดยไม่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ

ต่อมา เจ้าหน้าที่ยังได้มีการขอค้นกระเป๋าของผู้ถูกควบคุมตัวทั้งหมด แต่ไม่พบสิ่งผิดกฎหมายใด มีเพียงการตรวจยึดพานสีทองที่มีสัญลักษณ์รัฐธรรมนูญวางอยู่ มาไว้เป็นของกลาง เจ้าหน้าที่ตำรวจยังได้แจ้งจะขอตรวจค้นรถยนต์ของน.ส.ชนกนันท์ รวมทรัพย์ สมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ที่จอดไว้ที่วัดพระศรีมหาธาตุ แต่ชนกนันท์ปฏิเสธ

เวลา 11.30 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารจึงได้นำรถไปยกรถของชนกนันท์ มาตรวจค้นที่สน.บางเขน ก่อนมีการตรวจยึดเอกสารวารสาร “ก้าวข้าม” และโทรโข่ง 1 อัน รวมทั้งที่คั่นหนังสือของขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ที่มีข้อความ “โหวตโน” และโค้ดคำพูดของนักคิดนักเขียน เจ้าหน้าที่ยังได้ประสานกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อเข้ามาดูเอกสารต่างๆ ว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.ประชามติหรือไม่  นอกจากนั้น ยังมีเจ้าหน้าที่ทหารอ้างอำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 เพื่อขอยึดโทรศัพท์ของผู้ต้องหาไปตรวจสอบ แต่ต่อมาก็ได้มีการส่งคืน

เวลา 14.10 น. ได้มีการนำตัวผู้ถูกควบคุมตัวทั้ง 7 คน ไปที่ห้องสอบสวน พนักงานสอบสอนสน.บางเขนได้เริ่มแจ้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 ข้อ 12 และความผิดตามพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ มีการสอบปากคำ และพิมพ์ลายนิ้วมือ โดยผู้ต้องหาทุกคนให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ทั้งหมดยังปฏิเสธการลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุม ก่อนเจ้าหน้าที่จะควบคุมตัวทั้งหมดไปยังศาลทหารกรุงเทพ

photo_2016-06-25_09-14-54

photo_2016-06-24_14-31-39

เย็นย่ำ: ศาลทหารอนุญาตให้ฝากขัง 13 นักกิจกรรมแจกเอกสารโหวตโน

เหตุการณ์ในช่วงเย็น เกิดขึ้นที่ศาลทหารกรุงเทพเป็นหลัก เมื่อมีการนำผู้ถูกควบคุมตัวทั้งสองกรณี รวมแล้ว 20 คน มาขออำนาจฝากขังที่ศาลทหาร โดยตั้งแต่เวลา 13.45 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมเจ้าหน้าที่ทหารได้นำตัวนักกิจกรรม 13 คน ที่แจกเอกสารโหวตโน จากสภ.บางเสาธง ไปถึงศาลทหาร

ร.ต.อ.วิทูรย์ เพ็งบุบผา พนักงานสอบสวนสภ.บางเสาธง ได้ยื่นคำร้องขออำนาจศาลทหารในการฝากขัง 12 วัน โดยระบุว่าต้องสอบพยานบุคคล 10 ปาก และรอผลการตรวจสอบลายนิ้วมือและประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหา พร้อมกับขอคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากเกรงผู้ต้องหาจะกระทำผิดซ้ำอีก และจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวน ขณะเดียวกันทนายความของผู้ต้องหาได้ทำคำร้องคัดค้านการฝากขังของพนักงานสอบสวน (ดูสรุปคำร้องคัดค้านการฝากขังผู้ต้องหา)

จนเวลา 18.25 น. ศาลทหารได้มีคำสั่งอนุญาตฝากขังทั้ง 13 ผู้ต้องหา ตามคำร้องของพนักงานสอบสวน โดยยกคำร้องคัดค้านฝากขังเพราะเห็นว่าผู้ต้องหาเพิ่งถูกจับและทำการสอบสวน จึงยังต้องมีการสอบสวนพยานอีกหลายปาก และคำร้องคัดค้านของจำเลยเป็นข้อต่อสู้คดี จึงยกคำร้อง

photo_2016-06-24_15-35-25

ศาลทหารให้ปล่อยตัว 7 นิสิตนักศึกษาเสรีเกษตรฯ เหตุคดีโทษไม่สูง และผู้ต้องหายังเป็นนักศึกษา

อีกด้านหนึ่ง เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจได้ควบคุมตัว 7 นิสิตนักศึกษากลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์จากสน.บางเขน ไปถึงศาลทหารกรุงเทพ ในเวลาราว 16.00 น.ก่อนที่พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องขออำนาจศาลทหารฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 7 คน โดยระบุเหตุผลว่าต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 4 ปาก และรอผลการตรวจสอบลายนิ้วมือผู้ต้องหา จึงขออำนาจศาลทหารฝากขังกำหนด 12 วัน แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้คัดค้านการประกันตัว ขณะที่ทีมทนายความได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขังเนื้อหาเช่นเดียวกับกรณี 13 นักกิจกรรม

จนเวลา 19.40 น. ศาลทหารกรุงเทพได้เริ่มการไต่สวนคำร้องฝากขัง โดยทนายได้สอบถามพนักงานสอบสวน ระบุว่าผู้ร้องทราบขณะจับกุมว่าผู้ต้องหาเป็นนักศึกษา ส่วนของกลางในคดีที่เป็นเอกสารทางการเมือง ผู้ร้องยังไม่ได้อ่าน และไม่ทราบว่าพยาน 4 ปากที่จะสอบเพิ่มเติมคือใคร เพราะไม่ใช่พนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวน ส่วนกระบวนการตรวจสอบประวัติของผู้ต้องหา ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวผู้ต้องหา แต่เป็นเรื่องของเจ้าพนักงาน ทั้งเจ้าหน้าที่ได้สอบปากคำทั้งหมดไว้แล้ว โดยให้การปฏิเสธ

นายกานต์ สถิตศิวกุล หนึ่งในนิสิตที่ตกเป็นผู้ต้องหา ยังขึ้นแถลงต่อศาลถึงความตั้งใจในการร่วมรำลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย.2475 และตั้งใจไปทำความสะอาดอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญที่หลักสี่ ทั้งยังเป็นนักศึกษา และอยู่ระหว่างการสอบในมหาวิทยาลัย จึงขอให้ศาลปล่อยตัว

ศาลทหารได้วินิจฉัยยกคำร้องขอฝากขัง โดยระบุว่าพฤติกรรมในการกระทำความผิดมีอัตราโทษไม่สูง ประกอบกับผู้ต้องหายังเป็นนักศึกษา จึงต้องรับผิดชอบด้านการเรียน ผู้ต้องหาทั้งเจ็ดยังได้ให้ปากคำไว้แล้ว และยังมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่น่าจะหลบหนีหรือไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐาน จึงไม่จำเป็นต้องควบคุมตัวเอาไว้

เวลา 20.35 น.ผู้ต้องหาทั้ง 7 คน จึงได้รับการปล่อยตัวจากศาลทหาร

photo_2016-06-24_20-46-32

พลบค่ำ: 7 ผู้ต้องหาแจกเอกสารโหวตโนยอมนอนเรือนจำ ยืนยันไม่ประกันตัว เพราะไม่ได้กระทำผิด

ในช่วงเวลาเดียวกัน ราว 18.30 น.กลุ่มพลเมืองโต้กลับราว 10 คน ยังได้จัดกิจกรรมสวมแว่นดำและยืนเฉยๆ เป็นเวลาชั่วโมงเศษ ที่ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อแสดงถึงการประท้วงกรณีเจ้าหน้าที่รัฐปิดกั้นและตั้งข้อหาประชาชนซึ่งออกมาตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติ รวมทั้งเป็นการให้กำลังใจนักกิจกรรมที่ถูกจับกุมคุมขังในวันนี้ แต่กิจกรรมไม่ถูกแทรกแซงหรือปิดกั้นจากเจ้าหน้าที่

ขณะที่หน้าศาลทหาร ได้มีประชาชนและสมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ทยอยมารวมตัวกัน เพื่อรอให้กำลังใจเพื่อนที่จะถูกควบคุมตัวไปเรือนจำ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าเจรจาขอให้หยุดใช้เครื่องเสียงเพื่อแลกกับการให้ผู้ต้องหาแจกเอกสารโหวตโนทั้ง 13 คน ซึ่งต้องถูกส่งตัวไปเรือนจำ ได้เดินทางผ่านมวลชนที่ยืนคอยส่งอยู่

photo_2016-06-25_09-25-07

photo_2016-06-25_09-25-35

แต่เวลาราว 20.00 น.เจ้าหน้าที่กลับมีการควบคุมตัวผู้ต้องหา 13 คน ออกไปจากศาลทหารทางอีกฝั่งหนึ่ง ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมไม่พอใจอย่างมาก เพราะเจ้าหน้าที่ได้มีการตกลงกันไว้แล้ว เท่ากับเป็นการโกหก เมื่อมีการเจรจากันใหม่อีกครั้ง ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจยอมประสานให้รถเรือนจำขับกลับมาที่ศาลทหารอีกครั้งหนึ่ง โดยเมื่อรถมาถึงมวลชนที่รออยู่ราว 100 คนได้ร้องเพลงเเสงดาวแห่งศรัทธาเพื่อเป็นการส่งผู้ต้องหา

ต่อมาเวลา 20.50 น. ศาลทหารกรุงเทพฯ มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหา 6 ราย กรณีแจกเอกสารโหวตโน โดยใช้หลักทรัพย์คนละ 50,000 บาท ศาลได้ระบุเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวไว้ว่า “ห้ามผู้ต้องหากระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการยั่วยุ ปลุกปั่น ชักชวน ปลุกระดม ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ เพื่อให้มีการชุมนุมอันจะก่อให้เกิดความวุ่นวายใดๆ ในบ้านเมือง หรือก่อให้เกิดภัยอันตรายใดๆ อันกระทบต่อความเสียหายหรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการใดๆ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน”

เวลาราว 23.00 น.ผู้ต้องหาทั้ง 6 ราย ได้แก่ 1.รักษ์ชาติ วงศ์อภิชาติ 2.พรรณทิพย์ แสงอาทิตย์ 3.ปีใหม่ รัฐวงษา 4.เตือนใจ แวงคำ 5.กรชนก ธนะคูณ 6.วรวุฒิ บุตรมาตร จึงได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำพิเศษ กรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลาง

ขณะที่ผู้ต้องหาอีก 7 ราย ที่ยืนยันไม่ยื่นประกันตัว ได้แก่ 1.ยุทธนา ดาศรี 2.ธีรยุทธ นาขนานรำ 3.อนันต์ โลเกตุ 4.สมสกุล ทองสุกใส 5.กรกช แสงเย็นพันธ์ 6.นันทพงศ์ ปานมาศ 7.รังสิมันต์ โรม ทั้งหมดเห็นว่าไม่ควรเสียหลักทรัพย์เพื่อให้ได้รับเสรีภาพที่ถูกพรากไปโดยเจ้าหน้าที่ พร้อมยืนยันว่าไม่ได้กระทำความผิดใด ๆ โดยทั้งหมดได้ถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

photo_2016-06-24_21-03-30

photo_2016-06-24_19-57-48

พิพากษา พ.ร.บ.ชุมนุมคดีแรก กรณีย้าย บขส. ขอนแก่น

20 มิ.ย. 59 นายภัตธนสันต์ เสงี่ยมศรี พร้อมนายสมเดช คำสุ่ย และนายสวาท อุปฮาด จำเลยที่ 6 เดินทางไปศาลแขวงขอนแก่น หลังศาลนัดพร้อมตรวจพยานหลักฐาน ในคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมฯ โดยโจทก์ยื่นสืบพยาน 4 ปาก ส่วนจำเลยยื่นสืบพยาน 12 ปาก  ทั้งนี้ ศาลได้นัดสืบพยานวันที่ 24-26 ส.ค. 59

สืบเนื่องจาก 21 เม.ย.59 ศาลแขวงขอนแก่น อ่านคำพิพากษาคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ซึ่งอัยการคดีศาลแขวงขอนแก่นเป็นโจทก์ฟ้องแกนนำคัดค้านการย้ายสถานีขนส่งจังหวัดขอนแก่น 7 คน ฐานร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่แจ้งการชุมนุมก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชม., กีดขวางทางเข้าออกหรือรบกวนการใช้บริการในสถานีขนส่งสาธารณะและในสถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้  ก่อนศาลอ่านคำพิพากษา นายภัตธนสันต์ เสงี่ยมศรี นายสมเดช คำสุ่ย และนายสวาท อุปฮาด จำเลยที่ 1, 3 และ 6 ได้แถลงต่อศาลขอถอนคำให้การรับสารภาพ และให้การใหม่ปฏิเสธ ขอสู้คดีต่อ เพื่อพิสูจน์ความจริง

นายภัตธนสันต์ แถลงต่อศาลว่า เนื่องจากการสืบพยานครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 59  ศาลบอกให้รับสารภาพไปก่อน แต่โทษยังหนักอยู่ ทั้งที่จำเลยบางคนไม่ได้กระทำความผิด หากยอมรับผิดก็เท่ากับว่าต้องรับโทษเท่าเพื่อน จึงปฏิเสธเพื่อพิสูจน์ความจริงว่า ไม่ใช่ภาครัฐจะถูกต้องเสมอไป

ศาลจึงอ่านคำพิพากษาในส่วนของจำเลยที่ 2, 4, 5 และ 7 ที่รับสารภาพ พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง การกระทำของจำเลยทั้ง 4 เป็นความผิดหลายกรรม ให้ลงโทษทุกกรรม ลงโทษจำเลยที่ 2 และ 4 ฐานร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะไม่แจ้งการชุมนุม รวม 2 กระทง ปรับกระทงละ 2,000 บาท และฐานร่วมกันชุมนุมสาธารณะกีดขวางทางเข้าออกสถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ รวม 2 กระทง จำคุกกระทงละ 2 เดือน ปรับกระทงละ 2,000 บาท รวมเป็นจำคุกจำเลยที่ 2 และ 4 คนละ 4 เดือน ปรับคนละ 8,000 บาท  ลงโทษจำเลยที่ 5 และ 7 ฐานร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะไม่แจ้งการชุมนุม ปรับคนละ 2,000 บาท และฐานร่วมกันชุมนุมสาธารณะกีดขวางทางเข้าออกสถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ จำคุกคนละ 2 เดือน ปรับคนละ 2,000 บาท รวมเป็นจำคุกจำเลยที่ 5 และ 7 คนละ 2 เดือน ปรับคนละ 4,000 บาท  จำเลยทั้ง 4 ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยที่ 2 และ 4 คนละ 2 เดือน ปรับคนละ 4,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 5 และ 7 คนละ 1 เดือน ปรับคนละ 2,000 บาท

พิเคราะห์คำฟ้องประกอบรายงานการสืบเสาะและพินิจ พร้อมเอกสารประกอบคำรับสารภาพแล้ว เห็นว่า จำเลยทั้ง 4 กระทำในฐานะที่เป็นราษฎรที่เชื่อว่าจะได้รับผลกระทบจากการบริหารราชการของรัฐ ไม่ได้มุ่งหมายให้เกิดความวุ่นวาย การชุมนุมไม่มีอาวุธหรือก่อให้เกิดความเสียหาย ยุติการชุมนุมในช่วงเวลาสั้นๆ พฤติการณ์ไม่ร้ายแรง โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาไว้ 1 ปี ส่วนจำเลยที่ 1, 3 และ 6 ศาลให้โจทก์แยกฟ้องเป็นคดีใหม่ 

นับเป็นคดีแรกที่ติดตามได้ว่ามีการอ่านคำพิพากษาในความผิดตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 ส.ค. 58

  • เหตุแห่งคดี

จำเลยทั้ง 7 คน ประกอบด้วย 1.นายภัตธนสันต์ เสงี่ยมศรี 2.นายสมเดช คำสุ่ย 3.นายวัชรินทร์ เสริมศิริกาญจนา 4.นายบุญมี เต็งเจริญกุล 5.นายทวีวัฒน์ อนันตรักษ์ 6.นายสวาท อุปฮาด 7.นางสาวสมพร ศรีจำนง ถูกอัยการยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2558 ฐานร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะ โดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง, ร่วมกันชุมนุมสาธารณะโดยกีดขวางทางเข้าออกหรือรบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริการสถานีขนส่งสาธารณะและในสถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย

ฟ้องโจทก์บรรยายว่า สืบเนื่องจากวันที่ 24 ส.ค. 2558 จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ร่วมเชิญชวนหรือเป็นผู้ร่วมจัดการชุมนุม ได้จัดการชุมนุมของบุคคลในที่ สาธารณะเพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ การย้ายสถานีขนส่งแห่งที่ 1 และแห่งที่ 2 ไปยังสถานีขนส่งแห่งที่ 3 ของจังหวัดขอนแก่น โดยแสดงออกต่อประชาชนทั่วไปและบุคคลอื่น สามารถร่วมกันชุมนุมนั้นได้ ณ บริเวณด้านหน้าทางเข้าอาคารสถานีขนส่ง 3 จังหวัดขอนแก่น อันเป็นสถานีขนส่งสาธารณะ โดยจำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 4 ไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้กำกับ สภ.เมืองขอนแก่น ซึ่งเป็นหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะ ผู้รับแจ้ง ก่อนเริ่มชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ทั้งมิได้มีการผ่อนผันต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดขอนแก่นก่อนเริ่มการชุมนุม

และเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2558 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นผู้ร่วมกันจัดการชุมนุม ได้ร่วมกันจัดให้มีการชุมนุมของบุคคลในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้านหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการย้ายสถานีขนส่งแห่งที่ 1 และแห่งที่ 2 ไปยังสถานีขนส่งแห่งที่ 3 ของจังหวัดขอนแก่น โดยแสดงออกต่อประชาชนทั่วไปและบุคคลอื่นสามารถเข้าร่วมได้ ณ บริเวณบันไดทางขึ้นศาลากลางจังหวัดขอนแก่น อันเป็นสถานที่หน่วยงานของรัฐ โดยรวมตัวกันไปชุมนุมสาธารณะพร้อมกลุ่มผู้ชุมนุมจำนวนมากกว่า 200 คน การชุมนุมของจำเลยทั้งเจ็ดและผู้ร่วมชุมนุมดังกล่าวเป็นการกีดขวางทางเข้าออกอาคารศาลากลางจังหวัดขอนแก่น อันเป็นที่ทำการหน่วยงานของรัฐ และรบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริเวณสถานที่ดังกล่าว ท้ายคำฟ้องระบุว่า จำเลยทั้งเจ็ด ได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 4,6,8,10,12,14,27,28

  • ศาลไกล่เกลี่ยจำเลยรับสารภาพ 

ในนัดพร้อมโจทก์และจำเลย เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 59 ศาลได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยรับสารภาพ โดยแจ้งว่าหากรับสารภาพ ศาลจะลดโทษให้ และไม่ให้ติดคุก คือ จะลงโทษปรับกระทงละ 10,000 บาท ลดเหลือกระทงละ 5,000 บาท ทั้งนี้ ศาลกล่าวกับจำเลยว่า เหตุที่ลงโทษปรับ 10,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราโทษสูงสุดนั้น เพราะผู้ใหญ่อยากปรามประชาชน ไม่อยากให้เอาเป็นเยี่ยงอย่าง ไม่อยากให้มีคนออกมาก่อความวุ่นวาย

ทนายจำเลยถามศาลว่า ในกรณีที่บางคนไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ของวันที่ฟ้อง โดยมีหลักฐานชัดเจนว่าวันเกิดเหตุเขาประชุมอยู่ต่างจังหวัดอีกที่หนึ่ง หากสารภาพศาลจะมีช่องทางช่วยลดโทษให้อีกหรือไม่ ศาลตอบว่า ถ้ารับสารภาพก็ต้องลงโทษเท่ากัน เท่าที่ศาลดูก็น่าจะมีกำลังจ่ายกันอยู่ จ่ายแล้วก็จบ จะได้ไม่เป็นบรรทัดฐานให้คนอื่นๆ ทำตาม

สุดท้าย จำเลยทั้งเจ็ดยินยอมถอนคำให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธ และให้การใหม่เป็นรับสารภาพ เนื่องจากศาลกล่าวว่า หากเห็นว่ายังไม่ได้รับความเป็นธรรม ให้มาแถลงต่อศาลได้ตลอดเวลา โดยจำเลยบางคนยังติดใจที่จะสู้คดี เพื่อยืนยันการปกป้องสิทธิของผู้ได้รับผลกระทบ และจะรอไปแถลงต่อศาลในวันที่ศาลนัดอ่านคำพิพากษา

  • เหตุผลของผู้ที่สู้ต่อ

นายสวาท อุปฮาด จำเลยที่ 6 ขอกลับคำให้การ ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุผลที่ต้องการต่อสู้คดีว่า เนื่องจากรัฐกล่าวหาว่าประชาชนชุมนุมขัดขวางการทำหน้าที่ของราชการ ซึ่งเขายอมรับไม่ได้เพราะไม่ได้กระทำความผิด จึงไม่ยอมรับในข้อกฎหมายด้วย เขาทำเพื่อปกป้องสิทธิและเสรีภาพ ไม่ได้มีผลตามข้อกล่าวหา และยังยืนยันว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ตามสิทธิอยู่

นายสวาทยืนยันว่า เขาเรียกร้องมันไม่ใช่เพื่อตนเอง แต่มันคือการเรียกร้องต่อสาธารณะ คนที่อยู่ในละแวกสถานีขนส่งผู้โดยสาร ( บขส.) และคนที่ใช้บริการ บขส. เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงและผลกระทบที่เกิดขึ้น ส่วนคนที่ยอมรับสารภาพก็เป็นสิทธิและเสรีภาพของแต่ละคน ทุกคนมีข้อจำกัดไม่เหมือนกัน

“สำหรับ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ในฐานะที่เราเป็นประชาชน บอกตรงๆ ว่าเรายอมรับไม่ได้เพราะมันเป็นการลิดรอนสิทธิ ซึ่งจากการที่เราโดนคดีตาม พ.ร.บ.นี้ สิ่งที่เรายืนยันก็คือ เราต้องต่อสู้เพื่อที่จะยืนยันว่าการใช้เสรีภาพ และการปกป้องเสรีภาพมันควรที่จะเปิดกว้างให้กับประชาชนทุกภาคส่วนในการนำเสนอ ไม่ใช่ใช้เงื่อนไขข้อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ผมเชื่อว่าถ้าเป็นรัฐบาลปกติคงยากที่จะมี พ.ร.บ.ชุมนุมฉบับนี้ แต่ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมี พ.ร.บ.ชุมนุม เราก็ยังจะต่อสู้เพื่อยืนยันไม่ให้รัฐปิดกั้นสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งผมมองว่ามันเป็นเรื่องใหญ่กว่าทุกเรื่อง เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่ประชาชนถูกปิดกั้นการใช้เสรีภาพก็จะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม และผลที่จะเกิดขึ้นคือ ประชาชนได้รับผลกระทบมากขึ้น”

  • การคัดค้านที่ยืดเยื้อ

การคัดค้านการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น เริ่มจากเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2554 กรมการขนส่งทางบกได้ติดประกาศที่สถานีขนส่งผูโดยสารขอนแก่นแห่งที่ 1 และ 2  แจ้งให้ย้ายเส้นทางการเดินรถปรับอากาศทั้งหมดและประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ของ บขส.ขอนแก่น (สีส้ม) ไปอยู่ที่สถานีแห่งใหม่ (แห่งที่ 3) ทั้งหมด

ต่อมา วันที่ 8 พ.ย. 2554 มีประชาชนออกมาชุมนุมบริเวณศาลากลางจังหวัดขอนแก่นคัดค้านการย้ายสถานีขนส่งดังกล่าว เนื่องจากสถานีขนส่งแห่งที่ 1 และ 2 ตั้งอยู่ในเมืองขอนแก่น ใกล้สถานที่ราชการหลายแห่ง เช่น ศาล หรือศาลากลางจังหวัด ขณะที่แห่งใหม่อยู่ไกลจากตัวเมือง ห่างออกไปประมาณ 10 กิโลเมตร ทำให้ผู้ใช้บริการ ซึ่งมีทั้งนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทั้งในจังหวัดขอนแก่นและใกล้เคียงได้รับผลกระทบ ต้องใช้เวลาในการเดินทางมากขึ้น มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้น และอาจมีอันตรายในระหว่างการเดินทาง เพราะยังไม่มีมาตรการรักษาความปลอดภัย นอกจากนี้ ในละแวก บขส. แห่งที่ 1 มีผู้ค้ารายย่อยกว่า 300 ร้าน การย้าย บขส. จึงส่งผลกระทบให้กับกลุ่มผู้ค้าเหล่านี้

นโยบายของกรมการขนส่งทางบกไม่สามารถผลักดันให้เป็นจริงได้ เนื่องจากมีกระแสคัดค้านของประชาชน แต่ความพยายามผลักดันก็ยังมีขึ้นเป็นระยะ ในปี 2556-2558 แต่ก็ต้องเผชิญกับการชุมนุมคัดค้านทุกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ไม่มีครั้งไหนที่มีการดำเนินคดีกับกลุ่มประชาชนที่ออกมาคัดค้าน จนกระทั่ง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่แต่งตั้งโดย คสช. ผ่านร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 และมีผลบังคับใช้

  • เสียงของผู้ได้รับผลกระทบหากมีการย้าย บขส.

นางฉลวย รัตนภักดี แม่ค้าขายเสื้อในย่าน บขส. หนึ่งในผู้ที่มารอให้กำลังใจอยู่นอกห้องพิจารณาคดี ในวันที่จำเลยทั้งเจ็ด  เข้ารับฟังคำพิพากษาที่ศาลแขวงขอนแก่น สะท้อนปัญหาเรื่องการย้าย บขส. ซึ่งเป็นต้นเหตุของคดีนี้ว่า หากย้าย บขส. ทั้งหมดไปรวมกันที่ บขส. แห่งใหม่ เราก็ต้องย้ายไปหาอยู่หากินที่ใหม่ ซึ่งก็ไม่รู้จะไปที่ไหน ที่นี่เราค้าขายกันมานาน รายได้ก็พอได้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ส่งลูกไปโรงเรียน แต่เขาเปลี่ยนที่ใหม่แล้วจะให้เราไปอยู่ไหน

ทั้งนี้ แกนนำในการคัดค้านการย้าย บขส. ไปรวมกันแห่งเดียว ที่ตกเป็นจำเลยและรับสารภาพในคดีนี้ เนื่องจากมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ อย่างนายบุญมี เต็งเจริญกุล ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการย้าย บขส. ว่าการย้าย บขส.1 และ 2 ไปไว้ที่ บขส. 3 ที่เดียวนั้น เป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ เนื่องจากสถานที่ราชการส่วนใหญ่อยู่ในเมือง และ บขส. 3 ห่างจากในเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร ส่งผลให้คนต่างอำเภอที่ต้องการเข้ามาทำธุระกับศูนย์ราชการต้องลำบากเพราะต้องมีค่าใช้จ่ายในการต่อรถเข้าในเมือง รวมถึงการเอา บขส. เก่า 2 แห่งไปไว้กับ บขส. 3 ที่เดียวนั้นเป็นการกระจุกตัวเกินไป ควรจะทำให้ บขส.มีความหลากหลายในเรื่องสถานที่ เพื่อประชาชนจะได้มีสิทธิเลือกใช้บริการได้  ส่วนในเรื่องคดีเขากล่าวว่า ยังจะไปให้กำลังใจสำหรับคนที่ยังสู้ต่อ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

การจัดการทรัพยากรเหมืองแร่กับการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังรัฐประหาร (2) : บูรณาการการใช้อำนาจของทหารกับการปฏิรูป

 

ตอนที่สองของประมวลสถานการณ์สิทธิมนุษยชนหลังรัฐประหาร 22 พ.ค. 57 กรณีทรัพยากรแร่ จะนำเสนอภาพการละเมิดสิทธิหลังการรัฐประหาร ใน 2 พื้นที่ ที่มีโครงการให้สัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารพยายามอย่างยิ่งในการปิดกั้นการแสดงความเห็นและการแสดงออก การรวมกลุ่ม และการชุมนุม ด้วยเครื่องมือ คือ กฎอัยการศึก คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 และตามด้วย พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ด้วยกรอบคิดแคบๆ ว่า ความเงียบ คือ สงบสุข ปรองดอง ไม่ขัดแย้ง  พร้อมทั้งบทสรุปเรื่องบูรณาการการใช้อำนาจของทหารกับการปฏิรูปที่ไม่มีประชาชนในสายตา

 

mine

 

กรณีเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ตำบลบ้านแหง อำเภองาว จังหวัดลำปาง

ตำบลบ้านแหงประกอบด้วย 8 หมู่บ้าน โดยพื้นที่หลักที่จะได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์อยู่ในพื้นที่หมู่ 1 และหมู่ 7 ซึ่งมีประชากรรวมกันราว 500 หลังคาเรือน จำนวน 2,000 คนเศษ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขา เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหรือป่าน้ำซับน้ำซึม สำหรับใช้อุปโภคบริโภคของชุมชน พื้นที่ชุมชนบางส่วนถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่งาวฝั่งซ้าย ทับซ้อนพื้นที่ที่ชาวบ้านอยู่อาศัยมาก่อน และมีวิถีชีวิตที่พึ่งพาป่ามาตั้งแต่ในอดีต ขณะที่ที่ดินบางส่วนในตำบลบ้านแหงถูกประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน มีการออก ส.ป.ก.ให้กับชาวบ้าน

ปี 2551 บริษัท เขียวเหลือง จำกัด ได้เข้ามากว้านซื้อที่ดินในพื้นที่หมู่ 1 และ 7 รวมกว่า 1,500 ไร่  โดยอ้างว่าจะนำพื้นที่ไปใช้ปลูกต้นยูคาลิปตัสป้อนโรงงานทำกระดาษ ต่อมา ในช่วงต้นปี 2553 บริษัทกลับยื่นขอประทานบัตรทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์ จำนวน 5 แปลง เนื้อที่ 1,200 ไร่ ในลักษณะเหมืองเปิดหน้าดิน มีการขุดและระเบิดชั้นดินลงไปลึกประมาณ 150-200 เมตร

รวมตัวเป็น ‘กลุ่มรักษ์บ้านแหง’ ต่อสู้เพื่อปกป้องตนเอง

เดือนกันยายนปี 2553 ภายหลังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำปางพยายามเข้ามาตรวจสอบพื้นที่ ขณะที่บริษัทพยายามเข้ามาจัดเวทีประชาคมในหมู่บ้าน ชาวบ้านหมู่ 1 และหมู่ 7 เริ่มรวมกลุ่มกันในนาม “กลุ่มรักษ์บ้านแหง” เคลื่อนไหวคัดค้านการดำเนินการของบริษัท โดยการไปยื่นหนังสือต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมนุมคัดค้าน หรือเข้าร่วมเคลื่อนไหวกับภาคประชาสังคมกลุ่มอื่นๆ  เนื่องจากความกลัวผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน  โดยมีเหมืองและโรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นกรณีตัวอย่าง ประกอบกับความกังวลเรื่องการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ทั้งพื้นที่ป่าที่จะถูกนำไปใช้ ทางสาธารณะจะถูกปิดกั้น หรือลำเหมืองสาธารณะจะถูกเปลี่ยนทิศ เพราะพื้นที่เหมืองตามประทานบัตรอยู่ห่างจากหมู่บ้านไปเพียงราว 500 เมตร

mining report1

ชาวบ้านเห็นว่าขั้นตอนการขอประทานบัตรของบริษัทนั้นไม่ชอบ เนื่องจากกระบวนการชี้แจงข้อมูลไม่โปร่งใส และมีการกล่าวอ้างว่า ไม่มีการคัดค้านในพื้นที่ อีกทั้งใบอนุญาตการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ของบริษัท เขียวเหลือง ยังเป็นใบอนุญาตที่ได้มาในช่วงที่ขอใช้ประโยชน์เพื่อปลูกป่า แต่กลับนำมาอ้างต่อชาวบ้านและส่วนราชการในพื้นที่ว่าเป็นใบอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ตามข้อกฎหมาย[1]

นอกจากนี้ รายงาน EIA ของการทำเหมืองในพื้นที่นี้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการด้านโครงการเหมืองแร่ (คชก.) ในปลายปี 2556 โดยที่ชาวบ้านระบุว่า ไม่เคยมีกระบวนการปรึกษาหารือ เก็บข้อมูล จัดประชุม หรือมีส่วนร่วมใดๆ และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการเปิดเผย EIA ดังกล่าวให้ชาวบ้านได้เห็น

การเคลื่อนไหวที่ผ่านมาของกลุ่มรักษ์บ้านแหง ทำให้ชาวบ้านเคยถูกดำเนินคดีมาแล้วหลายคดี ทั้งข้อหาหมิ่นประมาทบริษัทและข้าราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง หรือข้อหากักขังหน่วงเหนี่ยวพนักงานของบริษัท ทำให้รวมแล้วมีแกนนำและชาวบ้านหลายรายต้องขึ้นศาลอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปี ก่อนหน้านี้ จนถึงปัจจุบัน มีการไกล่เกลี่ยยอมความกันไปบ้าง และศาลมีคำพิพากษาแล้วบ้าง โดยที่ชาวบ้านยังไม่เคยต้องโทษจำคุก

ปิดกั้นการเคลื่อนไหวด้วยกฎอัยการศึก และ พ.ร.บ.ชุมนุม

หลังรัฐประหาร 2557 ชาวบ้านแหงระบุว่า เห็นได้ชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อความขัดแย้งในพื้นที่ โดยแนวโน้มจะดำเนินการในลักษณะที่เอื้อประโยชน์ให้บริษัททำเหมืองแร่ ขณะที่พยายามควบคุมปิดกั้นการแสดงออกของชาวบ้าน ผ่านทั้งการข่มขู่คุกคาม การเรียกตัวไปพบ การติดตามจับตา เป็นต้น ทำให้การทำกิจกรรมหรือการเคลื่อนไหวคัดค้านบริษัททำเหมืองเป็นไปได้อย่างยากลำบากขึ้น

หลังมีการประกาศใช้คำสั่ง คสช.ที่ 64/57 และการผลักดันนโยบายแผนแม่บทป่าไม้ได้ไม่นาน เจ้าหน้าที่ทหารราว 1 กองร้อย พร้อมอาวุธปืนได้เข้าตรวจค้นบ้านของชาวบ้านในหมู่บ้านหลายราย โดยไม่แสดงหมายค้นใดๆ อ้างว่ามีผู้แจ้งว่ามีการครอบครองไม้เถื่อน แต่ชาวบ้านเห็นว่าทหารมีรายชื่อบุคคลที่จะเข้าตรวจค้นบ้านมาด้วย ทำให้ไม่แน่ใจว่า การตรวจค้นดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับกรณีการคัดค้านเหมืองแร่หรือไม่  โดยผลการตรวจค้น เจ้าหน้าที่ได้ยึดไม้ของชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่เตรียมเอาไว้ปลูกบ้าน และยึดเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างบ้านไปด้วย

ต่อมาไม่นาน พ.อ.ชัยณรงค์ แกล้วกล้า รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 32 (มทบ.32) ในขณะนั้น พร้อมเจ้าหน้าที่ทหารจำนวนหนึ่ง ได้เดินทางเข้ามาตรวจสอบแนวเขตแปลงประทานบัตรเหมืองในหมู่บ้าน และตรวจสอบพื้นที่ป่าท้ายหมู่บ้าน แล้วกล่าวกับชาวบ้านว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าละเมาะ ป่าเสื่อมโทรม และบางส่วนก็เป็นเขาหัวโล้น การมีเหมืองแร่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชน สร้างงานให้ชาวบ้าน สร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้านอย่างมาก เพราะเห็นว่าบริษัทต่างหากที่มีส่วนในการทำลายป่า และจะนำพื้นที่ไปทำเหมืองแร่ โดยขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าโดยมิชอบ

ต้นเดือนกันยายน 2557 นายก อบต.บ้านแหงร่วมกับทหารจัดเวทีปรองดองและคืนความสุขตามนโยบายของ คสช. แต่มีการนำชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่นมาร่วม และพบว่ามีการแจกเอกสาร EIA ของโครงการเหมืองแร่ในเวที พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทตั้งโต๊ะลงชื่อผู้เข้าประชุม และอยู่ร่วมในงานอีกหลายคน ทำให้ชาวบ้านเกรงว่าจะเป็นการแอบแฝงเรื่องการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม จึงเข้าไปคัดค้านการลักไก่จัดเวทีดังกล่าว  จนเจ้าหน้าที่ทหารต้องให้ยุติเวทีไปก่อน เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวบ้านเกิดความคลางแคลงใจต่อทหารมากยิ่งขึ้น

การคุกคามครั้งที่ชาวบ้านจำได้ดีที่สุด คือการเรียกตัวแกนนำกลุ่มรักษ์บ้านแหง 4 ราย ไป ‘ปรับทัศนคติ’ ที่ค่ายสุรศักดิ์มนตรี ในวันที่ 11 พ.ย.57 หลังเข้าร่วมกิจกรรม “เดิน ก้าว แลก” กับสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรณรงค์เรื่องการปฏิรูปที่ดินและให้รัฐบาลทบทวนแผนแม่บทป่าไม้ โดยทหารชั้นผู้น้อยแจ้งกับชาวบ้านว่าผู้บังคับบัญชาการต้องการพบเพื่อขอข้อมูลเรื่องเหมืองแร่ แต่พอแกนนำและชาวบ้านรวม 10 คน เดินทางไปพบ พ.อ.ชัยณรงค์ แกล้วกล้า รอง ผบ.มทบ.32 (ในขณะนั้น) พร้อมกับสารวัตรทหาร และ กอ.รมน. อีกหลายนาย ซึ่งก่อนการพูดคุย เจ้าหน้าที่ได้ห้ามชาวบ้านถ่ายรูป และขอยึดโทรศัพท์มือถือ แต่ชาวบ้านไม่ยินยอม ทหารจึงขอให้ปิดเครื่องไว้ พ.อ. ชัยณรงค์ได้ระบุว่า เป็นการเรียกชาวบ้านมาพูดคุยตามอำนาจของ คสช. และกล่าวถึงการไปร่วมกิจกรรมเดินก้าวแลกว่า เป็นการชุมนุมเกิน 5 คน ผิดกฎอัยการศึก เมื่อชาวบ้านเห็นว่าไม่ได้เป็นการพูดคุยเรื่องเหมืองแร่ตามที่แจ้ง จึงขอตัวเดินทางกลับ ปรากฏว่าสารวัตรทหารหลายนายได้เข้ามาประกบชาวบ้าน ไม่ให้ลุกไปไหน และปิดประตูล็อกห้องประชุมจากด้านนอก ทำให้ชาวบ้านตกใจ  และต้องยอมนั่งลงพูดคุยต่อ

จากนั้น เจ้าหน้าที่ทหารได้พูดในลักษณะข่มขู่ว่าสามารถจับกุมชาวบ้านได้ และถ้าเรียกแล้ว ชาวบ้านไม่มาก็สามารถไป “อุ้ม” มาได้ ทั้งยังได้นำรูปถ่ายกิจกรรมของชาวบ้าน เช่น การประชุม หรือการไปศาลปกครอง มาแสดงให้ดู พร้อมระบุว่า ขณะนี้ประเทศอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก จึงไม่ควรทำกิจกรรมในลักษณะนี้อีก ถ้ายังมีการดำเนินการอีก เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมและคุมขังได้ แม้ชาวบ้านจะโต้แย้งว่า พวกตนไม่ได้ทำอะไรผิด เจ้าหน้าที่ก็ยังยืนกรานในลักษณะเดิม การพูดคุยใช้เวลาราวครึ่งวัน เจ้าหน้าที่จึงให้กลุ่มชาวบ้านเดินทางกลับ

หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ทหารก็เดินทางมาเยี่ยมแกนนำชาวบ้านอย่างต่อเนื่องมากขึ้น รวมแล้วหลายสิบครั้ง โดยอ้างว่ามาเยี่ยมตามหน้าที่ พร้อมกับสอบถามถึงความเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมของชาวบ้าน ทั้งยังปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบมาถ่ายรูปหน้าบ้านแกนนำอีกด้วย ส่งผลให้ครอบครัวเกิดความหวาดกลัว อีกทั้งเมื่อกลุ่มรักษ์บ้านแหงมีกิจกรรมต่างๆ ก็จะมีเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบมาคอยสังเกตการณ์ หรือโทรศัพท์มาสอบถามรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ กับแกนนำ

แม้ภายหลังการยกเลิกกฎอัยการศึกเมื่อต้นเดือนเมษายน 2558 แล้ว กลุ่มรักษ์บ้านแหงก็ยังถูกปิดกั้นการแสดงออกอยู่เช่นเดิม โดยการอ้าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ เช่น ในช่วงวันที่ 17 ส.ค. 58 ชาวบ้านได้นัดหมายกันเดินทางไปยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดที่ศาลากลางจังหวัดลำปาง เพื่อคัดค้านการประกาศผังเมืองรวม และขอขึ้นทะเบียนที่สาธารณประโยชน์ ในช่วงค่ำวันที่ 16 ส.ค. ได้มีเจ้าหน้าที่ทหารในเครื่องแบบ 2 นาย จาก มทบ.32 เดินทางมาพบชาวบ้าน เพื่อขอให้ชาวบ้านเดินทางไปยื่นหนังสือที่อำเภอแทน แต่ชาวบ้านยังคงยืนยันจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อผู้ว่าฯ เนื่องจากเคยยื่นกับทางอำเภอไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยังไม่มีการตอบรับใดๆ

mining report2

ที่มาภาพ เฟซบุ๊ก เหมืองแร่ลำปาง

เช้าวันต่อมา เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเดินทางเข้ามาพูดคุยกับชาวบ้านอีกครั้ง และห้ามชาวบ้านไม่ให้เดินทางไปยื่นหนังสือเป็นจำนวนมาก เนื่องจากจะผิด พ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะ รวมทั้งกล่าวอ้างถึงความไม่เหมาะสมในการไปยื่นหนังสือในวันเดียวกับที่สมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินอีกด้วย แต่กลุ่มชาวบ้านก็ยังยืนยันจะเดินทางไปตามเดิม โดยเห็นว่าเป็นเพียงการไปยื่นเรื่องร้องเรียนในปัญหาความเดือดร้อนของตน ไม่ได้ไปชุมนุมที่จะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และไม่ได้ไปในพื้นที่ที่เสด็จพระราชดำเนินแต่อย่างใด

ภายหลังการเดินทางไปยื่นหนังสือต่อผู้ว่าฯ ในวันที่ 19 ส.ค. ก็ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบเดินทางไปถ่ายรูปที่หน้าบ้านของแกนนำชาวบ้าน เมื่อมีเพื่อนบ้านเข้าไปสอบถามจึงได้แสดงตนว่ามาจากสถานีตำรวจภูธรงาว มาขอดูหนังสือที่ชาวบ้านนำไปยื่น วันต่อมา ยังได้มีทหารในเครื่องแบบเข้ามาพูดคุยกับแกนนำชาวบ้าน ขอความร่วมมือไม่ให้เดินทางไปยื่นหนังสือกันเป็นจำนวนมากอีก เพราะจะดูเหมือนเป็นการชุมนุม ให้ส่งแค่ตัวแทนไปเท่านั้น พร้อมทั้งข่มขู่ว่าจะดำเนินการตามกฎหมายถ้ายังมีการเคลื่อนไหวอีก

ภายหลังการถูกข่มขู่ต่างๆ ทำให้แกนนำชาวบ้านบางคนต้องลดบทบาทของตนเองลง ด้วยกลัวผลกระทบจากการคุกคามที่เกิดขึ้น แต่ด้วยความเป็นนักต่อสู้ แกนนำบางส่วนก็กลับมาร่วมกิจกรรมตามปกติ อย่างไรก็ตาม ในสภาพที่เจ้าหน้าที่มีบทบาทปิดกั้นไม่ให้ชาวบ้านเคลื่อนไหว ก็ทำให้การจัดกิจกรรมต่างๆ ทำได้ยากมากขึ้น

 

กรณีเหมืองแร่ทองคำวังสะพุง ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย[2]

พ.ศ.2534 บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด และบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ได้ทำสัญญาว่าด้วยการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำกับกรมทรัพยากรธรณีในพื้นที่น้ำคิว – ภูขุมทอง ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ ในจังหวัดเลย เนื้อที่ 340,625 ไร่ จากการสำรวจพบว่าบริเวณดังกล่าวมีทองคำสมบูรณ์มากพอที่จะพัฒนาเป็นเหมืองทองคำได้ จึงยื่นขอประทานบัตรจำนวน 6 แปลง บนภูทับฟ้า และภูซำป่าบอน  ในตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย พื้นที่ 1,308 ไร่ จากกระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2545 เป็นเวลา 25 ปี

ต่อมา ปี 2549 บริษัท ทุ่งคำ ได้รับใบอนุญาตประกอบโลหะกรรม ในบริเวณภูทับฟ้าและภูซำป่าบอน  ปี 2551 โรงพยาบาลวังสะพุงสุ่มตรวจไซยาไนด์ในเลือดของชาวบ้าน 6 หมู่บ้านรอบเหมือง จำนวน 279 คน ผลการตรวจโดยโรงพยาบาลรามาธิบดีพบว่า มีไซยาไนด์ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในการถลุงแร่ทองคำ ในเลือดของประชาชนกลุ่มตัวอย่าง 54 ราย ในจำนวนนี้มีไซยาไนด์ในเลือดเกินค่ามาตรฐาน 20 คน

ความเจ็บป่วยและอันตรายจากเหมืองทองคำ จุดกำเนิด ‘กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด’

เพียง 1 ปี ของการเปิดโรงงานประกอบโลหะกรรมในบริเวณเหมืองแร่ทองคำภูทับฟ้า ซึ่งอยู่บริเวณต้นน้ำ ก็ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย นอกจากสิ่งแวดล้อมที่มีโลหะหนักปนเปื้อนอยู่จนสะสมในร่างกายของชาวบ้าน และมีความผิดปกติทางร่างกาย เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผื่นคัน ตาพร่ามัวแล้ว อากาศยังเต็มไปด้วยฝุ่นควัน เสียงดังจากการระเบิด การเดินทางในหมู่บ้านมีอันตราย เนื่องจากมีรถบรรทุกขนาดใหญ่ทำงานตลอดเวลา อีกทั้งเกิดความแตกแยกในชุมชน ทำให้ชาวบ้านต้องลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิในนาม ‘กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด’ โดยเริ่มจากการร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จนกระทั่งหน่วยงานในระดับชาติหลายหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเรื่องผลกระทบที่ชุมชนได้รับ ตลอดจนคัดค้านการขอขยายตัวของเหมืองแร่ในพื้นที่

mining report3

ปี 2556 ชาวบ้านได้ทำประชาคมและมีมติให้สร้างกำแพงปิดกั้นทางแยกที่เหมืองใช้ร่วมกับชุมชน เพื่อไม่ให้มีการผ่านเข้าออกเหมืองแร่ เป็นเหตุให้บริษัทฟ้องชาวบ้านทั้งทางแพ่งและอาญารวม 9 คดี เรียกค่าเสียหาย 270 ล้านบาท ชาวบ้านตกเป็นจำเลย 33 คน มีการทุบทำลายกำแพงถึงสองครั้ง โดยชายชุดดำพร้อมอาวุธในครั้งแรก และครั้งหลังโดยตำรวจร่วมกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น แต่ชาวบ้านยังคงปักหลักสู้ ส่งผลให้เหมืองแร่ไม่สามารถดำเนินการได้ กระทั่งคืนวันที่ 15 พ.ค.57 กองกำลังกว่า 300 คน มีอาวุธเป็นไม้ มีด ปืน ได้เข้าทำร้ายชาวบ้านที่นอนเฝ้าเวรยาม โดยทุบตี มัดมือมัดเท้า และยิงปืนข่มขู่ ทำให้ชาวบ้านทั้งหญิงและชายบาดเจ็บกว่า 30 คน

ขนแร่ภายใต้กฎอัยการศึก

หลังรัฐประหาร มีการส่งกำลังทหาร 1 กองร้อย เข้าประจำการในพื้นที่หมู่บ้านรอบเหมืองทองคำ โดยอ้างว่าเพื่อรักษาความสงบและความปลอดภัยให้กับชุมชน แต่ทหารที่เข้าไปในพื้นที่กลับเกลี้ยกล่อมให้ชาวบ้านไม่ขัดขวางการขนแร่ของบริษัท อีกทั้งยังควบคุมชาวบ้านไม่ให้ประชุม หรือทำกิจกรรมรณรงค์ใดๆ โดยอ้างกฎอัยการศึก หน้าบ้านแกนนำจะมีทหารเฝ้าอยู่ รวมทั้งมีการใช้สัญญาณ  GPS  จับสัญญาณโทรศัพท์  และดักฟัง มีการค้นบ้าน ค้นรถยนต์ ยึดป้ายรณรงค์ ห้ามนักพัฒนาและนักศึกษาไม่ให้เข้าไปในพื้นที่

ต่อมา ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดเลยได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น 4 ชุด เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและผลกระทบจากเหมืองแร่ ให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน โดยมีทหารและข้าราชการในจังหวัดเป็นกรรมการ แต่ชาวบ้านทั้ง 6 หมู่บ้าน ไม่มีส่วนร่วม ทำให้ชาวบ้านไม่ยอมรับและไม่ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการฯ ดังกล่าว ทหารกล่าวหาว่า แกนนำไม่ต้องการแก้ปัญหาจริง ทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่ชาวบ้าน กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดจึงทำประชาคมทั้ง 6 หมู่บ้าน และนำมติของที่ประชุมประชาคมเรื่องความต้องการของชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบและเงื่อนไขการขนแร่ออกจากพื้นที่ เสนอต่อคณะกรรมการฯ

มติประชาคมให้มีการดำเนินการ 6 ขั้นตอน เรียงตามลำดับดังนี้ (1) เพิกถอนประทานบัตรเหมืองทองคำทั้ง 6 แปลง (2) เพิกถอนใบอนุญาตประกอบโลหะกรรมและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง (3) เคลื่อนย้ายเครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆ ออกจากเขตประทานบัตร (4) ขนสินแร่ทั้งหมดออกจากเขตประทานบัตร (5) ปิดเหมืองเพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของประชาชน (6) เยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองทองคำทุกด้าน

การที่กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดไม่ยอมรับคณะกรรมการ และจัดทำประชาคมเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นความต้องการของชาวบ้าน นำไปสู่การเรียกแกนนำไปรายงานตัวอย่างน้อย 2 ครั้ง ทหารกล่าวหาว่า ขัดคำสั่ง คสช. ไม่เคารพทหาร หากยังดำเนินการในลักษณะดังกล่าวอีกจะจับกุม และหากไม่สามารถยุติปัญหาความขัดแย้งระหว่างบริษัทกับชาวบ้านได้จะนำกฎอัยการศึกเข้ามาบังคับใช้

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอจากประชาคมชาวบ้านไม่ได้ถูกนำไปพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ สุดท้าย ทหารและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกลับกดดันให้ชาวบ้านเปิดทางให้บริษัทขนแร่ออกจากเหมืองแลกกับการถอนฟ้องคดีที่ชาวบ้านเป็นจำเลยทั้ง 9 คดี ตามข้อเสนอของบริษัท เพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งซึ่งมีที่มาจากความต้องการขนแร่ของบริษัท กับความพยายามปกป้องสิทธิของชาวบ้าน ในที่สุด ชาวบ้านจำเป็นต้องรับข้อเสนอดังกล่าว นำไปสู่การถอนฟ้องคดีและการขนแร่ออกจากพื้นที่ในวันที่ 8 ธ.ค. 57

mining report4

ที่มาภาพ ประชาไท

หนึ่งในแกนนำกล่าวถึงเหตุผลที่ต้องยินยอมให้บริษัทขนแร่ออกจากเหมืองว่า “พวกเราน่าจะเป็นชาวบ้านกลุ่มแรกที่โดนเรียกรายงานตัวโดยกฎอัยการศึก ผมถูกเรียกประมาณ 3 รอบ เขาก็เอาแร่ที่เหลือออกจนได้ แลกกับคดี ข่มขู่ทุกๆ ทาง พี่น้องที่ถูกคดีทั้งหมด 33 คน มีอยู่ 2-3 คน ที่สภาพจิตใจก็ไม่ไหวด้วยกฎทหาร ก็ต้องยอม การขนแร่ถูกต้องตามกฎหมายเนื่องจากใช้กฎอัยการศึก”[3]

ถูกจับตาเข้มหลังรวมตัวเป็นเครือข่าย

กองกำลังทหารที่เข้ามาประจำการในหมู่บ้านหลังรัฐประหารถูกชาวบ้านกดดันให้ออกนอกพื้นที่ตั้งแต่เดือนกันยายน 2557 แต่ก็ยังมีทหารเข้ามาทำงานมวลชนและติดตามความเคลื่อนไหวของชาวบ้านอยู่ตลอด โดยทำกิจกรรมตั้งแต่เกี่ยวข้าว แจกผ้าห่ม จนถึงร่วมงานบุญและงานศพในชุมชน เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ชาวบ้านทำซุ้มประตูเข้าหมู่บ้าน เขียนข้อความ “ปิดเหมือง ฟื้นฟู” ทหารก็มีหนังสือถึง อบต.เขาหลวง ให้รื้อซุ้มประตูออก

มิถุนายน 2558 กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดเข้าร่วมเป็นเครือข่ายกับนักศึกษาและชาวบ้านกลุ่มอื่นๆ ในนาม ‘ขบวนการประชาธิปไตยใหม่’ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดละเมิดสิทธิชุมชน และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับชุมชน โดยจัดกิจกรรมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จ.ขอนแก่น หลังกิจกรรมนี้ รองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเลย พร้อมเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงรวม 15 คน เดินทางมาพบชาวบ้าน กล่าวว่า การเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวอาจเข้าข่ายการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งมีความผิด โดยอ้างมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ทั้งยังห้ามไม่ให้ชาวบ้านเดินทางไปร่วมงานของนักศึกษาอีก

การเข้าร่วม ‘ขบวนการประชาธิปไตยใหม่’ ทำให้กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดถูกจับตามองมากขึ้น เจ้าหน้าที่จะมาขับรถวนรอบหมู่บ้าน และถ่ายภาพเป็นประจำ ทั้งยังสั่งให้รายงานทหารก่อนหากมีคนจะเข้าออกหมู่บ้านเกิน 5 คน นักศึกษาหรือกลุ่มกิจกรรมที่มาจัดกิจกรรมในพื้นที่ จะถูกสอดส่อง หรือข่มขู่ ขัดขวางไม่ให้จัดกิจกรรมได้ เช่น กรณีกลุ่มคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม มีกำหนดจัดค่ายอนุรักษ์ธรรมชาติให้เยาวชนในเดือนมิถุนายน แต่ทหารให้เลื่อนไปก่อน จนต้องมาจัดอีกครั้งในเดือนสิงหาคม ทหารก็ยังพยายามขัดขวาง โดยให้ทำหนังสือขออนุญาต กระทั่งสั่งห้ามจัด อ้างว่าผิด พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ แต่ผู้จัดกิจกรรมเห็นว่าไม่มีเหตุผล จึงจัดกิจกรรมตามกำหนดเดิม โดยมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบมาสังเกตการณ์และถ่ายรูป หรือกรณีนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามมาถ่ายทำสารคดี ก็ถูกเจ้าหน้าที่ซักถามข้อมูล และถูกกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จ.มหาสารคาม เรียกตัวกลับ ทั้งที่ยังทำงานไม่เสร็จ

นอกจากการติดตามชาวบ้าน แกนนำ รวมทั้งบุคคลภายนอกที่เข้าไปในพื้นที่แล้ว เจ้าหน้าที่ยังได้ไปพบแม่ของแกนนำบางคนที่อยู่ต่างจังหวัด ถ่ายรูป และถามข้อมูลเกี่ยวกับแกนนำ รวมทั้งโทรศัพท์ไปหาในยามวิกาล สร้างความกังวลและความรำคาญแก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก

พ.ร.บ.ชุมนุมฯ สกัดการตรวจสอบขั้นตอนให้ความเห็นชอบ

28 ส.ค. 58 ประธานสภา อบต.เขาหลวง มีกำหนดนำเรื่องการขอต่ออายุการอนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวน และพื้นที่ สปก. เพื่อทำเหมืองแร่ ของบริษัท ทุ่งคำ เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อให้สมาชิก อบต. พิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยเชิญตัวแทนชาวบ้านที่ได้ผลกระทบจากการทำเหมืองเข้าชี้แจงด้วย แต่ก่อนวันประชุม ทหารขู่จะใช้ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ และ ม.44 เพื่อสกัดกั้นไม่ให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วมฟังการประชุม ทั้งยังมีทหารมาเฝ้าสังเกตการณ์ในหมู่บ้าน อย่างไรก็ตาม ในวันประชุมมีชาวบ้านเข้าร่วมและรอฟังการประชุมกว่า 300 คน โดยมีกำลังตำรวจทหารราว 300 นาย มาดูแลสถานการณ์ พร้อมทั้งเตือนให้ชาวบ้านอยู่ในความสงบเพื่อไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ

ต่อมา 16 ก.พ.59 มีการประชุมสภา อบต. เขาหลวงเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อการเข้าใช้พื้นที่ป่าสงวน และ สปก. เพื่อทำเหมืองแร่อีกครั้ง เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่สามารถหามติได้ ชาวบ้าน 6 หมู่บ้านก็ถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าร่วมรับฟังการประชุมเช่นเคย โดยอ้างคำสั่งผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อยวังสะพุง ไม่อนุญาตให้ชาวบ้านเข้าใช้พื้นที่บริเวณที่ทำการ อบต. ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. และในวันประชุม ผู้กำกับ สภ.วังสะพุง ก็ใช้ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ สั่งให้ชาวบ้านออกจากบริเวณ อบต.เขาหลวง โดยมีตำรวจ ทหาร และอาสาสมัครรักษาดินแดน ราว 250 นาย เข้าควบคุมพื้นที่ ทั้งยังขอให้ศาลจังหวัดเลยมีคำสั่งให้ชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณ อบต.เขาหลวง เลิกการชุมนุม

mining report5mining report6

ที่มาภาพ นักข่าวพลเมือง

หลังบริษัท ทุ่งคำ ขนแร่ออกจากเหมืองได้สำเร็จ รัฐบาล คสช. และทหารในพื้นที่ก็ไม่ได้ดำเนินการใดๆ เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบจากเหมืองทองคำอีก มิหนำซ้ำ บริษัทยังเดินหน้าฟ้องชาวบ้านเพิ่มอีก 5 คดี ในข้อหาหมิ่นประมาท กรณีนำเสนอข่าวผ่านเฟซบุ๊คและกรณีติดป้าย ‘ปิดเหมืองฟื้นฟู’,  ข้อหาละเลยการปฏิบัติหน้าที่กรณีปล่อยให้มีการติดป้าย ‘ปิดเหมืองฟื้นฟู’,  ข้อหาบุกรุก กรณีไปจัดกิจกรรมบนภูซำป่าบอน, ข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ กรณีไม่นำเรื่องการขอต่ออายุการอนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่ สปก.เพื่อทำกิจการเหมืองแร่ บรรจุในวาระการประชุม รวมทั้ง แจ้งความดำเนินคดีเยาวชน ฐานหมิ่นประมาท จากการรายงานข่าวการจัดค่ายเยาวชน

คำกล่าวตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดสรุปสถานการณ์ของชาวบ้านได้ชัดเจน “การเคลื่อนไหวแต่ละครั้ง การประชุมแต่ละครั้งของชาวบ้านมันเป็นเรื่องของสิทธิชุมชน เป็นเรื่องเกี่ยวกับปากท้อง เป็นเรื่องที่เราสู้กันมานานแล้ว ทำไมทหารต้องคุกคามเราขนาดนั้น เราทำอะไรไม่ได้เหมือนแต่ก่อน เราทำซุ้มประตูเข้าหมู่บ้าน ทหารก็บีบมาทาง อบต. ให้รื้อ หลังรัฐประหารมานี้ เรายิ่งตัวเล็กลงๆ แทบไม่มีใครได้ยินปากเสียงของเรา[4]

 

บทสรุป: บูรณาการการใช้อำนาจของทหารกับการปฏิรูปที่ไม่มีประชาชนในสายตา

เมื่อมองผ่านกรณีเหมืองทอง จ.เลย และเหมืองแร่ลิกไนต์ จ.ลำปาง ทำให้เห็นได้ว่าบทบาทของทหารไม่ได้จำกัดอยู่แค่ปิดกั้นการแสดงความเห็นและการแสดงออก การรวมกลุ่มและชุมนุมคัดค้านเหมืองแร่ ผ่านการสั่งห้ามกิจกรรม และเรียกแกนนำรายงานตัว คุกคาม ติดตาม ด้วยการตีความหรือกล่าวอ้างว่า การใช้สิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านี้ทำให้สถานการณ์ไม่สงบ และเจ้าหน้าที่มีอำนาจเด็ดขาด สามารถจับกุมและคุมขังได้  ทหารยังขยายขอบเขตการใช้อำนาจพิเศษไปสู่การปิดกั้นการสร้างเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาของชาวบ้าน รวมทั้งปิดกั้นกิจกรรมที่เป็นการศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกิจกรรมในเชิงวัฒนธรรม โดยตีความอย่างน่าเป็นห่วงว่า เป็นการยุยง ปลุกปั่นให้คัดค้านเหมือง หรือนโยบายของรัฐบาล

ทหารยังแสดงบทบาทร่วมกับข้าราชการในพื้นที่ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โน้มเอียงไปในทางที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้ลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเวทีปรองดองที่มีบริษัทผู้ขอสัมปทานมาตั้งโต๊ะลงชื่อผู้เข้าร่วมประชุม หรือการเข้าตรวจสอบแนวเขตที่ขอสัมปทาน แล้วแสดงความเห็นสนับสนุนการทำเหมืองแร่ หรือปิดกั้นไม่ให้ชาวบ้านเข้าร่วมในเวทีที่มีการตัดสินใจให้ความเห็นชอบต่อโครงการเหมืองแร่

นอกจากนี้ ทหารยังทำเหมือนเป็นตัวกลางในการแก้ไขปัญหาระหว่างชาวบ้านกับผู้ลงทุน แต่สุดท้ายภายใต้กฎอัยการศึกและกฎหมายพิเศษที่มอบอำนาจเบ็ดเสร็จให้ทหาร ทหารร่วมกับข้าราชการก็เป็นผู้กดดันให้ชาวบ้านยินยอมตามข้อเสนอของบริษัท โดยที่ความต้องการของชาวบ้านที่ให้เพิกถอนสัมปทาน เนื่องจากการทำเหมืองแร่ส่งผลอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชาวบ้านที่อยู่รอบเหมือง ไม่ได้ถูกหยิบยกมาพิจารณา

ในพื้นที่มีการสำรวจและทำเหมืองแร่อีกหลายพื้นที่ก็พบบทบาททหารในลักษณะเดียวกันนี้ เช่น พื้นที่ที่ได้รับอาชญาบัตรสำรวจแร่  จ.แพร่ และสกลนคร ชาวบ้านติดป้ายคัดค้านเหมืองในหมู่บ้านเพียง 1 วัน ก็ถูกทหารมาเก็บไป และแกนนำกลุ่มคัดค้านถูกเรียกตัว เช่นเดียวกับกลุ่มต้านโปแตช จ.อุดรธานี และกลุ่มคัดค้านเหมืองแร่ จ.เพชรบูรณ์ การเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนกับรัฐบาลของกลุ่มคัดค้านเหมืองทองพิจิตรและเหมืองแร่เพชรบูรณ์ถูกสกัด โดยให้ยื่นเรื่องที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดที่ไม่มีอำนาจในการแก้ไขปัญหา นักศึกษาและอาจารย์ที่ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลพื้นฐานชุมชนในพื้นที่คำขอประทานบัตรโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ก็ถูกคุกคาม

เวทีปรองดองของ จ.อุดรธานี ถูกใช้เป็นเวทีประชาสัมพันธ์และสนับสนุนโครงการเหมืองโปแตช โดยกีดกันไม่ให้ฝ่ายคัดค้านเข้าร่วม เวทีประชาคมเพื่อรับฟังความเห็นชาวบ้านถูกจัดในค่ายทหาร รวมทั้งในการประชุมสภา อบต. เพื่อลงมติให้ความเห็นชอบโครงการ กำลังทหาร ตำรวจก็สกัดไม่ให้ชาวบ้านเข้าร่วม ขณะที่เวทีติดตามความคิดเห็นของประชาชนต่อเหมืองโปแตชอาเซียน จ.ชัยภูมิ ซึ่งจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงด้วย กลุ่มคัดค้านก็ถูกห้ามแสดงความเห็นด้วย ม.44 และ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ

สภาพการณ์ปิดกั้นเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความเห็นและการแสดงออก การรวมกลุ่มและการชุมนุม ด้วยกฎหมายพิเศษของคณะรัฐประหาร พร้อมด้วย พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ดังกล่าวมา เห็นได้ชัดว่า ส่งผลให้การเข้าไปมีส่วนร่วมและตรวจสอบการให้สัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ รวมทั้งการเคลื่อนไหวคัดค้านทั้งในระดับพื้นที่ และในระดับนโยบาย อันเป็นเครื่องมือเพียงไม่กี่อย่างของชาวบ้านในการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของตนในการใช้ทรัพยากรและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม หดหายไป เปิดโอกาสให้ทั้งกลุ่มทุนและรัฐผลักดันนโยบายให้สัมปทานเหมืองแร่ได้อย่างเต็มที่ ภายใต้คำอ้างเรื่อง ‘ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ’ และ ‘การปฏิรูป’

กรณีเหมืองลิกไนต์บ้านแหง ปฏิบัติการของทหารส่งผลให้ชาวบ้านตัดสินใจระงับการเคลื่อนไหวคัดค้านเหมืองที่มีมาอย่างต่อเนื่องกว่า 5 ปี ต่อมา วันที่ 10 ส.ค.58  กระทรวงอุตสาหกรรมก็อนุญาตประทานบัตรทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์แก่บริษัท เขียวเหลือง จำกัด สำหรับเหมืองโปแตชอุดรฯ ซึ่งการขออนุญาตประทานบัตรยืดเยื้อมากว่า 10 ปี เนื่องจากชาวบ้านคัดค้าน ในปี 2558 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็พยายามเร่งรัดทำประชาคมใน 2 ตำบลที่เหลือจนเสร็จสิ้น ที่สำคัญ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 มีการอนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่โปแตชใบแรกของไทย สำหรับเหมืองโปแตชอาเซียน จ.ชัยภูมิ หลังรัฐบาลต่างๆ พยายามผลักดันมากว่า 30 ปี และประทานบัตรเหมืองโปแตช จ.นครราชสีมา เป็นใบที่สองในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน

นอกจากนี้ เว็บไซต์กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ยังปรากฏข้อมูลใบอนุญาตอาชญาบัตรสำรวจแร่ต่างๆ ที่ยังมีอายุ จำนวน 125 แปลง ใน 21 จังหวัดทั่วทุกภาค พื้นที่กว่า 8 แสนไร่ (ข้อมูล ณ 15 มี.ค.59) โดย 124 แปลง เป็นอาชญาบัตรที่ออกตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2557- มีนาคม 2559

ขณะเดียวกัน ปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ไม่เคยได้รับการแก้ไขหรือวางมาตรการป้องกันที่เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม กรณีผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ 12 กรณี ที่เข้าสู่คณะรัฐมนตรีตั้งแต่ 28 ตุลาคม 2512-16 มิถุนายน 2558 จนถึงปัจจุบันส่วนใหญ่ยังไม่มีข้อยุติ โดยเฉพาะในเรื่องผลกระทบจากการปนเปื้อนจากสารเคมี[5] คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีที่เป็นผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ปี 2550-2557 ใน 17 พื้นที่[6] แต่ข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปัญหาและเยียวยาผลกระทบ ก็ยังไม่ถูกนำไปปฏิบัติให้เกิดผลเช่นกัน ดังนั้น การอนุมัติให้สำรวจและทำเหมืองแร่อย่างกว้างขวางในรัฐบาลนี้ จึงคาดการณ์ได้ว่า จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและประชาชนอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพ และคุณภาพชีวิต

แม้รัฐบาลจะมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 59 ให้ยุติการอนุมัติประทานบัตร อาชญาบัตร และคำขอต่ออายุในกิจการเหมืองแร่ทองคำ ด้วยเหตุผลว่า เพื่อยุติความขัดแย้ง ส่งผลให้เหมืองแร่ทองคำบริเวณรอยต่อจังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก ซึ่งก่อให้เกิดความเจ็บป่วยของชาวบ้านรอบเหมือง ต้องหยุดดำเนินกิจการภายในสิ้นปี 2559 แต่การให้อนุญาตสำรวจและทำเหมืองแร่อื่นๆ ยังคงเร่งเดินหน้าต่อไป ที่สำคัญร่าง พ.ร.บ.แร่ ที่เร่งรีบผลักดันภายใต้กลไกของ คสช. โดยขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน กำลังจะผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะทำให้การประกาศเขตพื้นที่ทำเหมือง ตลอดจนกระบวนการให้อนุญาตทั้งหลาย เอื้อประโยชน์ให้เอกชน โดยประชาชนไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วม ภายใต้ พ.ร.บ.แร่ ฉบับใหม่ มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่คณะรัฐมนตรีจะเปลี่ยนแปลงมติ 10 พ.ค.59 นี้ โดยอ้างถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาติมากกว่าคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่

กล่าวได้ว่า ภายใต้คำอ้างเรื่อง ‘การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ’ และ ‘การปฏิรูป’ โดยการริบเครื่องมือในการตรวจสอบและต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของประชาชนไป คสช. และกลไกทั้งหลายของ คสช. ได้ละเมิดสิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมกับรัฐในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร  หรือปกป้องสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพเพียงพอต่อการดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งสิทธิที่จะมีส่วมร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่ส่งผลกระทบต่อตนเอง ซึ่งไม่เพียงละเมิดสิทธิในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังสร้างกลไกการละเมิดสิทธิต่อไปในอนาคตอีกยาวไกล ทั้งหมดนี้นำไปสู่การละเมิดสิทธิในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในที่สุด

เช่นนี้แล้ว ภารกิจการปฏิรูปของ คสช. ก็ไม่อาจนิยามได้ว่า ปฏิรูปไปเพื่ออะไร เพราะมีแต่หายนะของประชาชนเท่านั้นที่รออยู่เบื้องหน้า

[1] ดูบทความที่นำเสนอปัญหาการขอประทานบัตรเหมืองแร่ในกรณีบ้านแหงโดยละเอียดใน “ความสุ่มเสี่ยงของพรรคเพื่อไทยต่อข้อกล่าวหานำที่ดิน ส.ป.ก. ไปให้นายทุนทำเหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหง” โดยเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ (เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2555)

[2] ข้อมูลจากศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม, เฟซบุ๊ค เหมืองแร่ เมืองเลยV2 และจากการสัมภาษณ์ชาวบ้านในพื้นที่

[3] เสวนา “การมีส่วนร่วม”  1 ใน 5 หลักการของ “ขบวนการประชาธิปไตยใหม่” งานครบรอบ 12 ปี ดาวดิน 18 ก.ค.58 ที่บ้านดาวดิน จังหวัดขอนแก่น

[4] เวที “อีสานกลางกรุง” 20 มีนาคม 2558 คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

[5] ดูรายละเอียดใน “การเมืองเรื่องแร่…มติเพื่อเหมือง? ตอนสอง,” ประชาธรรม, 27 ส.ค.58.

[6] ดูรายละเอียดและรูปธรรมผลกระทบใน เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง “สิทธิชุมชนและสิทธิการพัฒนา: จากองค์ความรู้สู่ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์” 17-19 มิถุนายน 2558 โดยคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชน และคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยแห่งชาติ

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง:

การจัดการทรัพยากรเหมืองแร่กับการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังรัฐประหาร (1)

การจัดการทรัพยากรเหมืองแร่กับการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังรัฐประหาร (1)

 

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลภายหลังรัฐประหาร ใช้อำนาจปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก การรวมกลุ่ม และการชุมนุม ของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทย ส่งผลกระทบต่อสิทธิในด้านต่างๆ ตามมาอีกมากมาย หนึ่งในกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบคือ ประชาชนที่อยู่กับทรัพยากร หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีโครงการพัฒนา ทั้งของรัฐและเอกชน ทั้งโครงการที่มีมาก่อนการรัฐประหาร และโครงการที่ผุดขึ้นจากนโยบายหลังรัฐประหาร ไม่ว่าจะเป็นการให้สัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ การให้สัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม เขตเศรษฐกิจพิเศษ โครงการน้ำ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เป็นต้น

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงขอประมวลสถานการณ์สิทธิมนุษยชนหลังรัฐประหาร 22 พ.ค. 57 กรณีทรัพยากรแร่ เพื่อนำเสนอภาพต่อ (jigsaw) อีกหนึ่งชิ้นของสถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ดำรงอยู่ในขณะนี้ให้เห็นโดยสังเขป

ในตอนแรกของรายงาน จะได้กล่าวถึงภาพรวมของปัญหาและการละเมิดสิทธิในกระบวนการให้สัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ ทั้งในระดับนโยบายและในระดับพื้นที่ ที่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านและชุมชน ผ่านมุมมองของ เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานงานกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา ภาคประชาชนที่คลุกคลีและติดตามประเด็นดังกล่าวมาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

 

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์: รายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านทรัพยากรแร่

  1. อดีตและปัจจุบันของกระบวนการทำเหมืองแร่
  • ก่อนการทำเหมือง : ลัดขั้นตอนและสร้างข้อมูลเท็จ

ในเรื่องทรัพยากรแร่มักพบเห็นปัญหาพื้นฐานอยู่เสมอว่า มีการลัดขั้นตอนและสร้างข้อมูลเท็จในการขอสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่  หรือมีกลโกงในขั้นตอนต่าง ๆ  เช่น  มีการประชุมหมู่บ้าน  อบต./เทศบาล  ในวาระอื่น ๆ  แต่มีการจัดทำบันทึกการประชุมแทรกเนื้อหาการขอสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ลงไปในภายหลัง  หรือมีการประชุมหมู่บ้าน  อบต./เทศบาล  ในวาระเรื่องการขอสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่จริง  แต่จัดทำบันทึกการประชุมเท็จว่าประชาชนหรือสมาชิก อบต./เทศบาลส่วนใหญ่เห็นชอบให้มีการขอสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ได้  ทั้ง ๆ ที่เสียงส่วนใหญ่ในวันประชุมจริงไม่เห็นชอบ  เป็นต้น

ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่มักถูกหลอก  ล่อลวง  เช่นนี้เสมอ  และก็ยากที่จะดำเนินการเอาผิดทั้งในทางฟ้องร้องต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและฟ้องต่อศาล  เนื่องจากหน่วยงานราชการมักสนับสนุนหรือให้ท้ายเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่นที่มีการทำความผิดเช่นนี้อยู่เสมอ  โดยอ้างหลักฐานไม่เพียงพอ  ไม่ชัดเจน  หรือเป็นอำนาจหน้าที่ที่เจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่นสามารถตัดสินใจได้เองไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานกำกับดูแลแต่อย่างใด  ในส่วนของการฟ้องคดีต่อศาล  โดยเฉพาะศาลปกครองก็มีความล่าช้ามาก  บางคดีมีคำพิพากษาออกมาว่าขั้นตอนเหล่านั้นผิดชัดเจน ก็ไม่สามารถนำไปบังคับย้อนเหตุการณ์ได้  ยกตัวอย่างเช่น  ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลปกครอง  หน่วยงานรัฐได้ดำเนินการอนุญาตประทานบัตร (สัมปทานทำเหมืองแร่) ให้แก่ผู้ลงทุนไปแล้ว  พอศาลพิพากษาว่า ขั้นตอนเริ่มต้นของการขอสัมปทานทำเหมืองแร่ผิดจริง  เช่น  มีการทำประชาคมเท็จ  มีการรังวัดไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตรอันเป็นเท็จ  ก็ไม่ส่งผลให้การทำเหมืองแร่ที่กำลังดำเนินการอยู่ตามใบอนุญาตประทานบัตรยุติลงได้

  • ระหว่างการทำเหมือง : ไม่มีมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่เข้มงวดเพียงพอ

กฎหมายในประเทศไทย  โดยเฉพาะกฎหมาย 4 หมวดที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแล  เฝ้าระวัง  ติดตาม  ควบคุม  ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการประกอบการเหมืองแร่  ได้แก่  กฎหมายแร่  กฎหมายสิ่งแวดล้อม  กฎหมายควบคุมมลพิษ  และกฎหมายโรงงาน  ไม่มีมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม  สังคม และสุขภาพที่เข้มงวดเพียงพอ  จนนำมาซึ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  สังคม และสุขภาพอย่างรุนแรงหลายพื้นที่  ตัวอย่างสำคัญของเหมืองขนาดใหญ่ที่ยังคงดำเนินการอยู่จนส่งผลกระทบอย่างรุนแรง  ได้แก่  การปนเปื้อนของสารพิษแคดเมียมจากการทำเหมืองแร่สังกะสีในร่างกายมนุษย์ที่ลุ่มน้ำแม่ตาว  อ.แม่สอด  จ.ตาก  จนทำให้ประชาชนมีสารแคดเมียมปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานประมาณ 1,000 คน  การเจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจของชาวบ้านที่อำเภอแม่เมาะ  จากการทำเหมืองแร่และโรงไฟฟ้าถ่านหินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  การเจ็บป่วยจากสารพิษโลหะหนัก  เช่น  ไซยาไนด์  สารหนู  ปรอท  ตะกั่ว  แมงกานีส  ปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานในร่างกายจากการทำเหมืองแร่ทองคำ 2 แห่ง  ที่จังหวัดเลย และพิจิตร-เพชรบูรณ์  การสูบน้ำเกลือในภาคอีสานหลายจังหวัดเพื่อนำมาต้มและตาก  ส่งผลให้นาข้าวและแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคไม่สามารถใช้งานได้จากความเค็มที่ปนเปื้อนลงไป  เป็นต้น

  • หลังเลิกกิจการ : เหมืองร้างไร้มาตรการฟื้นฟู

กฎหมายที่บังคับใช้ 4 หมวด  ตามข้อ ข.  ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดในเรื่องการฟื้นฟูเหมืองไว้เลย  จึงมักพบเหมืองร้างที่มีสารพิษและโลหะหนักสะสมอยู่ในบ่อกักเก็บกากแร่ กองกลางแจ้งอยู่เช่นเดิม โดยไร้การเฝ้าระวัง  ตรวจสอบ  ควบคุมดูแล  และแก้ไขปัญหา  ตัวอย่างสำคัญของเหมืองขนาดใหญ่ที่เลิกกิจการไปแล้วที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  สังคมและสุขภาพอย่างรุนแรง  ก็คือการทำเหมืองตะกั่วที่ลำห้วยคลิตี้  อำเภอทองผาภูมิ  จังหวัดกาญจนบุรี  ที่ตะกรันตะกั่วไหลรวมกันไปอยู่ในท้องน้ำแล้วลุกลามเข้าไปในห่วงโซ่อาหารโดยการปนเปื้อนอยู่ในสัตว์น้ำ  พืชอาหารริมน้ำ  จนทำให้ชาวกะเหรี่ยงที่ลุ่มน้ำลำห้วยคลิตี้ต้องเจ็บป่วยและล้มตายจากการมีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ในร่างกายเกินค่ามาตรฐานเกือบทั้งหมู่บ้าน  การทำเหมืองดีบุกที่ร่อนพิบูลย์  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ที่ทิ้งมรดกโรคไข้ดำที่เกิดจากสารหนูให้กับชาวบ้านหลายร้อยคน  เป็นต้น

 

  1. การละเมิดสิทธิมนุษยชน

ยุคประชาธิปไตย: รัฐและทุนจับมือ หลบเลี่ยงประชาชนตรวจสอบ     

ส่วนใหญ่แล้ว  แทบทุกพื้นที่ที่รัฐอนุญาตสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ในประเทศไทยมักมีปัญหากับประชาชนในพื้นที่ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  เนื่องจากไม่มีพื้นที่สัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ใดที่อยู่ห่างไกลจากชุมชน  แหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งทำมาหากิน  เช่น  ไร่  นา  สวน  ป่าชุมชน  ป่าใช้สอย  ที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้สอยร่วมกัน  ฯลฯ

ประชาชนในพื้นที่สัมปทานส่วนใหญ่มักขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่ส่งเสริมและสนับสนุนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในขั้นตอนและกระบวนการขอสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่  จึงทำให้ไม่รู้ว่าจะเข้าไปมีส่วนร่วมในขั้นตอนและกระบวนการขออนุญาตสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่เหล่านั้นอย่างไรได้บ้าง  จึงมักพบเห็นเป็นปัญหาอยู่เสมอว่า มีการร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ลงทุน ทำการลัดขั้นตอนและสร้างข้อมูลเท็จในการอนุญาตสัมปทาน  โดยเฉพาะขั้นตอนที่เปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม  เช่น  การเข้าไปสำรวจแร่ในที่ดินที่ประชาชนมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง  การรังวัดปักหมุดขอบเขตเหมืองแร่  การปรึกษาหารือเบื้องต้นก่อนดำเนินการขอสัมปทานทำเหมืองแร่  การไต่สวนประกอบคำขอสัมปทานทำเหมืองแร่  การทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อรับฟังความคิดเห็นและพิจารณาตัดสินใจว่า จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยให้ผู้ลงทุนดำเนินการขอสัมปทานทำเหมืองแร่ต่อไปได้หรือไม่  อย่างไร  การทำประชาคมหมู่บ้านเพื่ออนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าไม้,  ส.ป.ก.  หรือพื้นที่หวงห้ามตามกฎหมายอื่นเพื่อนำไปสำรวจและทำเหมืองแร่  การประชุมเพื่อลงมติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต./เทศบาล)  การจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)/ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA)  ฯลฯ

mine

ยุค คสช.: ยิ่งหนุนนายทุน กดประชาชน

นอกจากรูปแบบการละเมิดสิทธิดังที่กล่าวมาข้างต้น  จะยังคงดำเนินต่อไปในพื้นที่การขอสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ต่าง ๆ ของไทย  การใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกและมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557  ของ คสช. ในการห้ามชุมนุมตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไป ส่งผลให้การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชนถูกระงับยับยั้งไว้แทบทั้งหมด  เช่น  ห้ามชุมนุม  ประชุม  รวมกลุ่ม  สัมมนา  ห้ามพูด  เขียน  ห้ามติดป้ายคัดค้าน  ฯลฯ  บางครั้งอาจได้รับการอนุโลมให้ทำได้ภายใต้เงื่อนไขบีบคั้นจนไม่สามารถแสดงเจตนาหรือบรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมได้  คำสั่งเหล่านี้ได้ปิดกั้นความคิดเห็น  การมีส่วนร่วม  การคัดค้าน  การแสดงออก  การชุมนุมสาธารณะ  ของประชาชนไปอย่างหมดสิ้น  แต่ในด้านตรงข้ามกลับส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ลงทุนในพื้นที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น  เพราะไม่มีการสั่งห้ามกิจกรรมใด ๆ ของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ลงทุน  จึงแทบไม่มีการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบใด ๆ จากประชาชนเลย

ตัวอย่างเช่น  เหมืองแร่ทองคำเขาหลวง  ต.เขาหลวง  อ.วังสะพุง  จ.เลย  ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด  ทหารเข้าไปประจำการในหมู่บ้าน 1 กองร้อย เพื่อปฏิบัติการบังคับ กดดัน ข่มขู่ ให้ชาวบ้านยอมให้บริษัทฯ ขนแร่ออกมาให้ได้  ไม่ว่าจะเป็นการบังคับให้เอาป้ายคัดค้านลง  ห้ามประชุมรวมกลุ่มกันในหมู่บ้าน  ห้ามให้นักศึกษา  เอ็นจีโอ  สื่อมวลชน  นักสิทธิมนุษยชนในประเทศและต่างประเทศเข้าไปพบปะ  เยี่ยมเยียน  รับรู้สถานการณ์  สังเกตการณ์ในพื้นที่  และเรียกแกนนำชาวบ้านหลายคนเข้าไปปรับทัศนคติหลายครั้งหลายหน  ห้ามแม้กระทั่งการจัดค่ายเยาวชนเพื่อเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมในพื้นที่  เพราะเกรงว่าจะมีกลุ่มคนภายนอกยุยงปลุกปั่นให้เยาวชนในพื้นที่เกลียดเหมืองทอง  สุดท้ายทหารได้เป็นกำลังหลักคุ้มกันรถขนแร่ออกไปจากหมู่บ้าน

ในพื้นที่การขอสัมปทานทำเหมืองแร่โปแตชจังหวัดอุดรธานี  ทหารได้สนับสนุนให้ผู้ลงทุนขอสัมปทานทำเหมืองแร่โปแตชใต้ดินในเขตทหารได้อย่างเต็มที่  ทั้ง ๆ ที่มีกฎหมายหวงห้ามบังคับไว้  และในช่วงสิบกว่าปีของรัฐบาลที่ผ่าน ๆ มา ทหารได้แสดงเจตนาไว้ชัดเจนว่าไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ทหารเพื่อการดังกล่าว  นอกจากนี้ ทหารยังเข้าไปกดดันและสอดส่องในพื้นที่จนทำให้กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีไม่สามารถดำเนินการจัดประชุม  ชุมนุมคัดค้านใด ๆ ได้เลย

คณะรัฐบาลของ คสช.  ยังได้ทำเรื่องระดับนโยบายอีก 3 เรื่องสำคัญ  หนึ่ง คือ ใช้กฎอัยการศึก (และมาตรา 44)  ทำให้ขั้นตอนในการพิจารณาเห็นชอบรายงาน EIA/EHIA (ตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม_พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535) โครงการพัฒนาต่าง ๆ ให้สั้นลง    สอง คือ เห็นชอบร่างกฎหมายแร่  (ร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ….)  ซึ่งหลังจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจแก้เสร็จเรียบร้อยแล้ว  ได้ส่งต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาตราเป็นกฎหมายบังคับใช้ ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 59 สนช. มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติแร่ฉบับนี้แล้ว ขั้นตอนต่อไป คณะกรรมาธิการวิสามัญจะพิจารณารายละเอียดในประเด็นต่างๆ ภายใน 60 วัน ก่อนส่งกลับให้ สนช. พิจารณาให้ความเห็นชอบ  สาม คือ ประกาศใช้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558  ส่งผลให้ประชาชนในทุกพื้นที่ที่คัดค้านโครงการพัฒนาไม่สามารถชุมนุมเคลื่อนไหวใด ๆ ได้อีก  เพราะไม่ว่าการประชุมสัมมนา  การจัดค่ายเยาวชน  การดูงาน  ทัศนศึกษา  การยื่นหนังสือ  ฯลฯ  ล้วนถูกตีความว่าเข้าข่ายการชุมนุมตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ที่ต้องขออนุญาตก่อนทั้งสิ้น

 

  1. ร่างกฎหมายแร่: ประชาชนยิ่งถูกละเมิดสิทธิร่วมจัดการทรัพยากร

ร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ….  ที่ผ่านความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี หมวด 7 การบริหารจัดการแร่ในพื้นที่พิเศษ  มาตรา 98  ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี  กำหนดพื้นที่ใด ๆ ให้เป็นเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ  ทดลอง  ศึกษา  และวิจัยเกี่ยวกับแร่  รวมทั้งรัฐมนตรีสามารถอนุญาตให้ยื่นคำขออาชญาบัตรหรือประทานบัตรได้

มาตรา 99  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศกำหนดให้พื้นที่ใดเป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองได้เป็นอันดับแรกก่อนการสงวน  หวงห้าม  หรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่นั้น  โดยพื้นที่ต้องเป็นแหล่งแร่ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง  และมิใช่พื้นที่ตามกฎหมายเฉพาะเรื่องการห้ามการเข้าใช้ประโยชน์โดยเด็ดขาด  รวมถึงพื้นที่เขตปลอดภัยและความมั่นคงของชาติ

มีแหล่งแร่ทองคำจำนวนมากอยู่ในพื้นที่ป่าสมบูรณ์  เป็นแหล่งอาศัยสำคัญของสัตว์ป่า  หรือพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นแหล่งอพยพของนก  คำถามคือ  กฎหมายนี้จะให้อำนาจรัฐมนตรีประกาศให้พื้นที่เหล่านั้นเป็นพื้นที่ทำเหมืองแร่ได้หรือไม่  อย่างไร

เมื่อดูเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตราดังกล่าวจะเห็นว่าเป็นการเปิดโอกาสให้นำพื้นที่อ่อนไหวทางระบบนิเวศตั้งแต่พื้นที่สูงบนภูเขาจนถึงที่ราบต่ำและชายทะเล  และพื้นที่หวงห้ามตามกฎหมายอื่น  เช่น  พื้นที่ ส.ป.ก.  พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร  พื้นที่ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ทางโบราณวัตถุ  โบราณสถาน  หรือแหล่งฟอสซิลที่ควรค่าแก่การศึกษาและอนุรักษ์ไว้  ฯลฯ  ต้องคำนึงถึงการนำพื้นที่เหล่านั้นมาเปิดประมูลก่อนคำนึงถึงการสงวนหวงห้าม  หลักกฎหมายเช่นนี้  เป็นการลบล้างหรือครอบกฎหมายอื่นไปสิ้น  จนทำให้แทบไม่เหลือพื้นที่ใดเลยในประเทศที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์หรือรักษาไว้เพื่อประโยชน์ที่ไม่ใช่การสำรวจและทำเหมืองแร่อีกต่อไป

หลักการเช่นนี้  ดูเหมือนจะมีสภาพดุลพินิจ  หมายความว่าหากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่หยิบยกพื้นที่หวงห้ามต่าง ๆ มาประกาศเปิดให้เอกชนประมูลเพื่อสำรวจและทำเหมืองแร่ก็ย่อมได้  แต่จริง ๆ แล้วบทบัญญัติหรือหลักการดังกล่าวมีสภาพบังคับมากกว่า  หมายความว่าหากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ดำเนินการหยิบยกพื้นที่หวงห้ามต่าง ๆ มาประกาศเปิดให้เอกชนประมูลเพื่อสำรวจและทำเหมืองแร่  ก็อาจทำให้ผู้ประกอบการหรือผู้ลงทุนบังคับได้หลายช่องทาง  ไม่ว่าจะเป็นการเข้าพบ  ร้องเรียน  เรียกร้อง หรือฟ้องต่อศาล  ให้รัฐมนตรีต้องดำเนินการ  เพราะหลักการตามบทบัญญัติดังกล่าวมันแสดงเจตนาชัดว่า ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หวงห้ามตามกฎหมายใดต้องคำนึงถึงการนำพื้นที่เหล่านั้นมาเปิดประมูลให้สำรวจและทำเหมืองแร่ก่อนคำนึงถึงการสงวนหวงห้าม

ดังนั้น  ประเทศไทยไม่สมควรนำเสนอร่างกฎหมายที่มีสภาพลบล้างกฎหมายอื่นอย่างรุนแรงเช่นนี้  จนไปทำลายพื้นที่ที่มีความสำคัญหรือมีความอ่อนไหวทางระบบนิเวศ  หรือพื้นที่ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์รักษาไว้เพื่อประโยชน์อื่นมากกว่าการทำเหมืองแร่

เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ  จึงขอให้ยุติการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ….  เข้าสู่กระบวนการตราเป็นกฎหมายบังคับใช้ในขั้นตอนต่อไป  โดยให้ประชาชนมีช่องทางนำเสนอร่างกฎหมายด้วยการเข้าชื่อ  เมื่อประเทศไทยมีประชาธิปไตยมากขึ้นกว่านี้

 

  1. การละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ทองคำ

กระบวนการทำเหมืองแร่ทองคำมีการปนเปื้อนไซยาไนด์  สารหนู  แคดเมียม  แมงกานีส  ตะกั่ว  ปรอท  เหมืองแร่ทองคำที่จังหวัดเลย  ตั้งอยู่บนภูเขาซึ่งเป็นต้นน้ำของลำน้ำฮวยและลำห้วยผุก  ซึ่งเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคของ 6 หมู่บ้าน  บ้านนาหนองบง  บ้านกกสะท้อน  บ้านภูทับฟ้า  บ้านห้วยผุก  บ้านโนนผาพุงพัฒนา  บ้านแก่งหิน  ตำบลเขาหลวง  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย  ช่วงปี 2550 – 2554 มีหลายหน่วยงานดำเนินการตรวจคุณภาพน้ำในลำห้วย  น้ำใต้ดิน  สัตว์น้ำและพืชอาหารในลำน้ำ  และตรวจเลือดผู้อยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าว  โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยได้ออกประกาศ 2 ฉบับ  ให้ประชาชนงดการใช้น้ำบริโภคหรือประกอบอาหารและห้ามนำหอยขมมาบริโภค  เพราะมีสารหนู  แคดเมียม และแมงกานีส เกินค่ามาตรฐาน  ในปี 2554  กรมควบคุมมลพิษและกรมทรัพยากรน้ำบาดาลพบว่า ลำน้ำห้วยเหล็กมีสารหนูและไซยาไนด์เกินค่ามาตรฐาน  ผลการตรวจเลือดของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยจำนวน 758 ราย  พบไซยาไนด์ในเลือดเกินค่ามาตรฐาน 124 ราย  นับแต่มีประกาศแจ้งเตือนจากสาธารณสุขในปี 2552 คนเขาหลวงต้องซื้อน้ำเพื่อบริโภคอุปโภคมาตลอดจนถึงปัจจุบัน

เหมืองแร่ทองคำในพื้นที่เชื่อมต่อจังหวัดพิจิตร  เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก  ในพื้นที่เขาหม้อซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสมบูรณ์  เป็นแหล่งอาหาร  ต้นน้ำลำธารของชุมชน  ต่อเนื่องกับพื้นที่การเกษตรที่อุดมสมบูรณ์  ผลการตรวจเลือดของชาวบ้านในพื้นที่รอบเหมืองโดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 ครั้ง  พบค่าสารหนูในปัสสาวะ  และค่าแมงกานีสในเลือดเกินค่าปกติ 400 คน  จากผู้รับการตรวจ 731 คน  คณะเทคนิคการแพทย์  มหาวิทยาลัยรังสิตตรวจ DNA และ Micronucleus  พบความผิดปกติ 208 คน  จากผู้รับการตรวจ 646 คน  นับเป็นใน 1 ใน 3  ซึ่งโดยทั่วไปจะพบไม่เกิน 5 ใน 1,000 คน  เดือนมีนาคม 2558  หน่วยอาชีวเวชกรรมสิ่งแวดล้อม  โรงพยาบาลพิจิตร  ตรวจสุขภาพของประชาชนรอบเหมืองแร่ทองคำ  พบว่ามีสารโลหะหนักเกินค่ามาตรฐานแต่ยังไม่ป่วยรวม 306 คน  พบแมงกานีสในเลือดเกินค่ามาตรฐาน 269 คน  จากผู้รับการตรวจ 502 คน  และพบสารหนูในปัสสาวะ 37 คน  จาก 273 คน  ในเบื้องต้นพบว่าน้ำอุปโภคบริโภคมีความสัมพันธ์กับแมงกานีสในเลือดและฝุ่นละอองจากกองหินทิ้งที่ได้จากการสกัดแร่ทองคำออกไป

 

ตอนต่อไป การจัดการทรัพยากรเหมืองแร่กับการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังรัฐประหาร (2) รูปธรรมการละเมิดสิทธิหลังการรัฐประหาร ใน 2 พื้นที่ พร้อมบทสรุปเรื่องบูรณาการการใช้อำนาจของทหารกับการปฏิรูปที่ไม่มีประชาชนในสายตา