The 10 Most Highlighted Military Court Cases of Year 2015

In the second successive year after the late military coup, 2015 saw a large number of civilians tried under the military justice and the rule of the National Council for Peace and Order (NCPO), junta-ruling body, including offences against Article 112 (lèse majesté), Article 116 (sedition) and breaches of the Announcements or Orders of the NCPO which have been used to stifle any dissent or the exercise of the right to freedom of expression on political issues.

Meanwhile, people who have had nothing to do with political activities have been criminalized on offences concerning illegal possession or use of firearms, ammunitions or explosives. They have been tried in the military court in a large number as well. According to the Judge Advocate General’s Department (JAG)’s information, from 22 May 2014 – 30 September 2015, there have been 1,408 civilians tried in the military court including 1,629 alleged offenders/defendants.¹

In 2015, the Thai Lawyers for Human Rights (TLHR) has worked on 42 court cases. In total, since the 2014 coup, we have been handling 69 cases. Toward the year’s end, we want to highlight the ten most notorious cases under the military court. It may reflect an overview of problems under the military justice and the rule of the NCPO.

It starts from the military personnel being the persons who report the case accusing a person of committing the crime, carrying out the arrest, participating in an interrogation, prosecuting the case by the Judge Advocate and adjudicating the case by military judges in military court as well as the detaining individuals in military barracks. The control of all procedures is basically subjected to the power of the military. It could be said that such justice system is a “camouflaged justice process”. The following cases simply illustrate the process that Thai society has been through in the past year.² อ่านเพิ่มเติม

ตร.รถไฟ ธนฯ ให้ “กลุ่มส่องราชภักดิ์”เลื่อนรับทราบข้อหาไป 8 มกราฯ 59

วันนี้(29 ธ.ค.2558) เวลา 9.00 น. ทนายความจากศูนย์ทนายความฯ ซึ่งเป็นทนายความของผู้ต้องหาที่ 1-10 คน เข้ายื่นหนังสือขอเลื่อนเข้ารับทราบข้อกล่าวหาชุมนุมเกิน 5 คน จากการทำกิจกรรมนั่งรถไฟไปราชภักดิ์ของ 9 คน ออกไปเป็นวันที่ 8 ม.ค. 2559 พนักงานสอบสวน ตร.รถไฟอนุญาตให้เลื่อนได้ ส่วน “แชมป์ 1984” ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา

ทนายความของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเดินเข้ายื่นหนังสือขอเลื่อนเข้ารับทราบข้อกล่าวหาต่อพนักงานสอบสวน ที่สถานีตำรวจรถไฟธนบุรีครั้งนี้เนื่องจากผู้ต้องหาบางรายต้องเดินทางไปต่างประเทศหรือมีนัดกับครอบครัวอยู่ก่อนแล้ว และในส่วนของนายธเนตร อนันตวงษ์ และนายอานนท์ นำภาซึ่งเป็นทนายความของธเนตรทั้งสองคน ต้องเข้ารายงานตัวที่ศาลทหารตามนัดฝากขังครั้งที่ 2 ของธเนตรในข้อหาปลุกปั่นยุยง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 จากการโพสต์วิพากษ์วิจารณ์คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงไม่สามารถเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาได้ ซึ่งทางพนักงานสอบสวนแจ้งว่าจะอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่ 8 ม.ค.2559

วันนี้จึงมีเพียงนายวิจิตร หันหาบุญ ซึ่งมาพร้อมทนายความส่วนตัว และ นายกิติธัช สุมาลย์ หรือ แชมป์ ที่เข้ารายงานตัวรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกครั้งนี้ ทางพนักงานสอบสวนจึงได้ดำเนินการสอบปากคำทั้งสองคน โดยนายกิติธัชได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาและจะทำหนังสือให้การเพิ่มเติมภายในวันที่ 15 ม.ค.2559 แต่ในกรณีของนายวิจิตรนั้นไม่มีการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนจึงไม่ทราบรายละเอียด

การขอเลื่อนเข้ารับทราบข้อกล่าวหาครั้งนี้สืบเนื่องจากทั้ง 11คน ได้ให้ทนายความทำหนังสือขอเลื่อนเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกครั้งแรกเมื่อวันที่ 22ธ.ค.ออกไปเป็นวันที่ 9 ม.ค.2559 แต่ทางพนักงานสอบสวนไม่อนุญาตและออกหมายเรียกครั้งที่สองให้ทั้ง 11 คนเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันนี้แทน

อนึ่งผู้ต้องหาตามหมายเรียกมีทั้งหมด 11 ราย ประกอบด้วย นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์, นายอานนท์ นำภา, น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว, น.ส.ชนกนันท์ รวมทรัพย์, นายธเนตร อนันตวงษ์, นายกิติธัช สุมาลย์, นายวิศรุต อนุกุลการย์, นายอภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธุ์, นายกรกช แสงเย็นพันธ์, นายกรกนก คำตา และนายวิจิตร หันหาบุญ โดยมีพ.อ.บุรินทร์ ทองประไพเป็นผู้กล่าวหาว่ามั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ สถานที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ซึ่งเป็นข้อหาตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 จากการเข้าร่วมกิจกรรม“นั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ ส่องแสงหาคนโกง” เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมา

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ประมวลคดีเกี่ยวกับอุทยานราชภักดิ์ วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ เดินทางไปไม่ถึง

ตร.ไม่ให้กลุ่มส่องราชภักดิ์เลื่อน เรียกรายงานตัวหน2 29 ธ.ค.นี้ ไม่มาจะออกหมายจับ

กลุ่มส่องโกงราชภักดิ์ 11คน ขอเลื่อนนัด ตร.รถไฟธนบุรีไป 9มกราฯ

ประมวลคดีเกี่ยวกับอุทยานราชภักดิ์ วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ เดินทางไปไม่ถึง

การจับกุม ‘หมอหยอง’ สุริยัน สุจริตพลวงศ์ พ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา และพวก ตั้งแต่ 16 ต.ค. 2558 กลายเป็นข่าวที่ถูกพูดถึงในวงกว้าง และปลุกความกระหายใคร่รู้ของประชาชน เริ่มจากการเสียชีวิตของ พ.ต.ต.ปรากรมและหมอหยองระหว่างถูกควบคุมตัวในเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี (เรือนจำชั่วคราว มทบ.11) เมื่อ 23 ต.ค. และ 7 พ.ย. ที่ผ่านมาตามลำดับ ตามมาด้วยกระแสข่าวการกวาดจับเครือข่าย ‘แอบอ้างเบื้องสูง’ ที่มีนายทหารตำรวจใหญ่หลายนายเกี่ยวข้อง นำมาซึ่งการเปิดเผยข้อมูลว่าเครือข่ายหมอหยองอาจมีส่วนเชื่อมโยง และส่อทุจริตในการสร้างอุทยานราชภักดิ์ อุทยานที่ประชาชนตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ และเดินทางไปไม่ถึง…

‘อุทยานราชภักดิ์’ ตามที่ปรากฏบนเว็บไซต์กองทัพบก เป็นอุทยานที่จัดสร้างขึ้นภายในพื้นที่ของกองทัพบก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเทิดทูนบรรพกษัตริย์แห่งสยาม ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญของกองทัพบก รับรองบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ รวมถึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ แต่ดูเหมือนว่าอุทยานบนพื้นที่ของกองทัพบกแห่งนี้จะไม่ได้เปิดประตูต้อนรับทุกคน อ่านเพิ่มเติม

10 คดีเด่นในศาลทหารประจำปี 2558 ตอนที่ 2

ปี 2558 นับเป็นขวบปีที่สองแล้วที่พลเรือนจำนวนมากยังคงถูกนำตัวขึ้นศาลทหาร ภายใต้ระบอบการปกครองของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ความผิดตามมาตรา 112, มาตรา 116 และความผิดตามประกาศหรือคําสั่งคสช. ยังคงถูกนำมาใช้กล่าวหาต่อการเคลื่อนไหว หรือการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประชาชนที่ไม่ได้กระทำการเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ถูกกล่าวหาด้วยความผิดฐานมีหรือใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ก็ถูกนำขึ้นพิจารณาในศาลทหารจำนวนมากเช่นกัน จากสถิติของกรมพระธรรมนูญที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้รับข้อมูลมา ระบุว่าตั้งแต่ 22 พ.ค.57-30 ก.ย.58 มีคดีของพลเรือนที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหารจำนวน 1,408 คดี คิดเป็นจำนวนผู้ต้องหาและจำเลยรวมแล้ว 1,629 คน¹

ในรอบปี 2558 ศูนย์ทนายฯ รับคดีเพิ่มเติมจำนวน 42 คดี รวมเป็นคดีทั้งหมดในความรับผิดชอบจำนวน 69 คดี นับแต่การรัฐประหาร ในโอกาสสิ้นปีนี้ ศูนย์ทนายฯ จึงรวบรวม 10 คดีเด่นในศาลทหาร ซึ่งพอจะเป็นตัวแทนภาพรวมของปัญหากระบวนการยุติธรรมภายใต้การปกครองของคสช. ตั้งแต่การริเริ่มคดีในการกล่าวหาบุคคลว่ากระทำความผิดโดยเจ้าหน้าที่ทหาร การใช้อำนาจในการจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ทหาร การเข้าร่วมสอบสวนโดยทหาร การสั่งฟ้องโดยอัยการทหาร การพิพากษาคดีโดยตุลาการศาลทหาร ไปจนถึงการคุมขังในเรือนจำภายในค่ายทหาร ทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ทหาร จนกล่าวได้ว่ากระบวนการยุติธรรมวันนี้มีสภาพกลายเป็น “กระบวนการยุติธรรมลายพราง” คดีเด่นๆ ในรายงานนี้จึงเป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งที่จะสะท้อนถึงสภาพกระบวนการนี้ที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่ในปีที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม

10 คดีเด่นในศาลทหารประจำปี 2558 ตอนที่ 1

ปี 2558 นับเป็นขวบปีที่สองแล้วที่พลเรือนจำนวนมากยังคงถูกนำตัวขึ้นศาลทหาร ภายใต้ระบอบการปกครองของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ความผิดตามมาตรา 112, มาตรา 116 และความผิดตามประกาศหรือคําสั่งคสช. ยังคงถูกนำมาใช้กล่าวหาต่อการเคลื่อนไหว หรือการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประชาชนที่ไม่ได้กระทำการเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ถูกกล่าวหาด้วยความผิดฐานมีหรือใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ก็ถูกนำขึ้นพิจารณาในศาลทหารจำนวนมากเช่นกัน จากสถิติของกรมพระธรรมนูญที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้รับข้อมูลมา ระบุว่าตั้งแต่ 22 พ.ค.57-30 ก.ย.58 มีคดีของพลเรือนที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหารจำนวน 1,408 คดี คิดเป็นจำนวนผู้ต้องหาและจำเลยรวมแล้ว 1,629 คน¹

ในรอบปี 2558 ศูนย์ทนายฯ รับคดีเพิ่มเติมจำนวน 42 คดี รวมเป็นคดีทั้งหมดในความรับผิดชอบจำนวน 69 คดี นับแต่การรัฐประหาร ในโอกาสสิ้นปีนี้ ศูนย์ทนายฯ จึงรวบรวม 10 คดีเด่นในศาลทหาร ซึ่งพอจะเป็นตัวแทนภาพรวมของปัญหากระบวนการยุติธรรมภายใต้การปกครองของคสช. ตั้งแต่การริเริ่มคดีในการกล่าวหาบุคคลว่ากระทำความผิดโดยเจ้าหน้าที่ทหาร การใช้อำนาจในการจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ทหาร การเข้าร่วมสอบสวนโดยทหาร การสั่งฟ้องโดยอัยการทหาร การพิพากษาคดีโดยตุลาการศาลทหาร ไปจนถึงการคุมขังในเรือนจำภายในค่ายทหาร ทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ทหาร จนกล่าวได้ว่ากระบวนการยุติธรรมวันนี้มีสภาพกลายเป็น “กระบวนการยุติธรรมลายพราง” คดีเด่นๆ ในรายงานนี้จึงเป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งที่จะสะท้อนถึงสภาพกระบวนการนี้ที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่ในปีที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม