แถลงการณ์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ยุติการคุกคามเสรีภาพในการแสดงออกกิจกรรม “เดินเพื่อสิทธิ ชีวิตคนอีสาน”

แถลงการณ์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ยุติการคุกคามเสรีภาพในการแสดงออกกิจกรรม “เดินเพื่อสิทธิ ชีวิตคนอีสาน”


ตามที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ติดตามสังเกตการณ์กิจกรรม “เดินเพื่อสิทธิ ชีวิตคนอีสาน” หรือ Walk for Rights ของกลุ่มขบวนการอีสานใหม่ New E-Saan Movement
ซึ่งเป็นกิจกรรมการเดินเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาโดยรัฐในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งตั้งแต่เริ่มกิจกรรมวันที่ 4 มิ.ย.59 ได้มีเจ้าหน้าที่มาติดตามถ่ายภาพการทำกิจกรรมโดยตลอด จนกระทั่งวันที่ 30 มิถุนายน 2559 และขณะทางกลุ่ม พักผ่อนอยู่ในบริเวณวัดเหล่าโดน ตำบลหนองแคน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารทั้งในและนอกเครื่องแบบ และฝ่ายปกครองกว่า 20 นาย เข้ามาบังคับไม่ให้ทางกลุ่มนอนพักในพื้นที่ดังกล่าว โดยอ้างอำนาจตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพ.ศ.2558 พร้อมทั้งสอบถามและบังคับให้แอดมินเพจขบวนการอีสานใหม่ลบคลิปวีดีโอที่เกี่ยวกับการคัดค้านร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ….หากไม่ลบทางกลุ่มจะไม่สามารถเดินทางไปไหนได้


การกระทำดังกล่าวทำให้กลุ่มขบวนการอีสานใหม่ต้องลบคลิปวีดีโอและภาพการเข้ามาเจรจาของเจ้าหน้าที่ทหารออกจากเพจ และเดินทางออกจากที่พักในเวลาประมาณ 18.30 น.ท่ามกลางความมืดโดยไม่มีจุดหมายว่าจะไปพักค้างคืนที่ใด จนทางกลุ่มต้องเดินเท้าออกจากจุดพักเดิมและปักหลักค้างคืนที่โรงพยาบาลราษีไศลในเวลาประมาณ 22.00 น.ห่างจากจุดเดิมเกือบ 10 กิโลเมตร โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ทหารและฝ่ายปกครองจะบังคับให้ออกจากพื้นที่ตลอดเวลา


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและกระทำไปโดยปราศจากอำนาจตามกฎหมายด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้


1.บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุม โดยสงบ เปิดเผย และปราศจากอาวุธ รวมถึงมีเสรีภาพที่จะแสดงออกรับหรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร อันเป็นสิทธิที่ถูกรับรองไว้ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) กลุ่มขบวนการอีสานใหม่จึงมีเสรีภาพในการชุมนุม แสดงออกและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับคลิปวีดีโอดังกล่าวในช่องทางของตน เพื่อเรียกร้องและกำหนดชะตากรรมชีวิตของตนเองตามวิถีทางแห่งระบอบประชาธิปไตย


2.การกระทำของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจที่กดดันไม่ให้กลุ่มขบวนการอีสานใหม่พักในพื้นที่ และบังคับให้ลบคลิปวีดีโอในเพจขบวนการอีสานใหม่ ถือเป็นการแทรกแซงการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการละเมิดพันธกรณีตามข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)


3. การบังคับใช้พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ต้องบังคับใช้โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อคุ้มครองการใช้สิทธิและเสรีภาพ  ดังนั้นเจ้าหน้าที่รัฐจึงมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ชุมนุมไม่ใช่ผลักดันผู้ใช้สิทธิเสรีภาพให้ตกอยู่ในอันตรายมากยิ่งขึ้น การอ้าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 เพื่อปิดกั้นมิให้กลุ่มขบวนการอีสานใหม่พักในพื้นที่ดังกล่าวโดยมิได้มุ่งคุ้มครองสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนตามพันธกรณีระหว่างประเทศ จึงเป็นการบังคับใช้ที่ไม่ชอบตามหลักสิทธิมนุษยชน


4.กรณีที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าทางกลุ่มกระทำผิดกฎหมายไม่ว่าจะเป็นคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/58 หรือพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพ.ศ.2558 เจ้าหน้าที่รัฐก็ยังคงต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนตามกฎหมาย ซึ่งไม่มีกฎหมายฉบับใดให้อำนาจเจ้าหน้าที่ไล่บุคคลออกจากพื้นที่สาธารณะดังเช่นเหตุที่เกิดเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.59 การกระทำดังกล่าวจึงเข้าข่ายเป็นการกระทำโดยอำเภอใจและปราศจากอำนาจทางกฎหมายมารองรับ


ด้วยเหตุดังกล่าว ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงขอเรียกร้องให้


เจ้าหน้าที่รัฐทุกภาคส่วนทั้งเจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองเคารพต่อพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม บังคับใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์และมุ่งคุ้มครองสิทธิอันชอบธรรมของประชาชน และยุติการใช้อำนาจโดยมิชอบคุกคาม กิจกรรม “เดินเพื่อสิทธิ ชีวิตคนอีสาน” หรือ Walk for Rights ของกลุ่มขบวนการอีสานใหม่ในทันที 


ขอให้สังคมร่วมกันตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่ เพื่อถ่วงดุลการใช้อำนาจให้เป็นไปอย่างถูกต้องและชอบธรรม การเคารพซึ่งสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเท่านั้นที่จะนำมาสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

                                                       ด้วยความเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพ                                                            

                                                        ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

Downlaodแถลงการณ์ได้ที่นี้Windows 7 printed documentแถลงการณ์กรณี Walk For Rights

ไม่ผิดจะกลัวอะไร : “ปราบมาเฟียเพื่อความมั่นคง”

คำสั่ง หน.คสช. “ปราบมาเฟียเพื่อความมั่นคง” Chapter II โดย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน 

“เมื่อรั้วของชาติ ทำลายรั้วของประชาชน”

สารคดีว่าด้วยพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ทหารในการควบคุมตัวประชาชนชาวไทยตามอำนาจที่ได้รับมาจากกฎอัยการศึกจนถึงคำสั่งจากหัวหน้า คสช.จริงหรือไม่ที่ทหารกำลังจะปราบมาเฟียตามที่รัฐบาลกล่าวอ้าง

สารคดีชิ้นนี้จะเปิดเผยคำบอกเล่าจากบุคคลที่ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหารจะมาเล่าข้อเท็จจริงโดยละเอียดว่าใครคือ “มาเฟีย” ตัวจริง

พร้อมบทความที่สะท้อนคำบอกเล่าของบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหารที่ เป็นการควบคุมตัวโดยอาศัยอำนาจจาก คสช.ที่เป็นเพียงความชอบธรรมเดียว ทำให้ทหารสามารถควบคุมตัวประชาชนได้โดยไม่แจ้งข้อกล่าวหา ไม่มีหมายจับ ขัดกับหลักประมวลวิธีพิจารณาความทางอาญาและมีเสียงสะท้อนจากองค์กรระหว่างประเทศว่า อาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน

 

– การควบคุมตัวตามมาตรา 44

“ผมจะถามคำถามง่าย ๆ แต่ตอบยากแค่นั้นแหละ อย่างเช่นถามว่ามาทำแบบนี้กับไปใช้วิธีดำเนินคดีตามกฎหมาย อย่างไหนถูกต้องกว่า … ถามทุกคนที่มา ถามเจ้าหน้าที่ทุกคน ระหว่างใช้มาตรา 44 กับไม่ใช้มาตรา 44 แล้วทำแบบนี้ได้ไหม…”

คืนวันที่ 9 มี.ค. 2559 สราวุธ บำรุงกิตติคุณ ถูกทหารตำรวจอย่างน้อย 30 นาย ทั้งในและนอกเครื่องแบบ ควบคุมตัวไปจากห้องที่ทำงาน ใน จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมยึดคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโทรศัพท์มือถือของเขา โดยไม่แจ้งสาเหตุให้ทราบ ไม่มีหมายจับหรือแม้กระทั่งหมายค้น

อาศัยแค่อำนาจตามมาตรา 44 เพียงเท่านั้น เขาก็ต้องไปใช้ชีวิตกินนอนอยู่ในค่ายทหารถึง 8 วัน โดยไม่ได้สมัครใจ หรือกระทำผิดกฎหมายใด

อำนาจตามมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ที่ว่านี้ ระบุให้ “ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทำการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่งหรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว”

อาจถือได้ว่า อำนาจตามมาตรา 44 ได้ให้อำนาจหัวหน้า คสช. ออกคำสั่งที่แทบจะเป็นอำนาจอาญาสิทธิ์ เบ็ดเสร็จ เด็ดขาด และไร้ซึ่งข้อจำกัด ซึ่งคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่มักถูกเจ้าหน้าที่ทหารนำมาอ้างเพื่อควบคุมตัวบุคคลไว้ในค่ายทหาร ได้แก่ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2559

ทั้งคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และ 13/2559 ให้อำนาจทหารในการตรวจค้น  ยึด  และควบคุมตัวบุคคลไม่เกิน 7 วัน  โดยไม่ต้องมีหมายศาล ใช้เพียงแค่ความสงสัยของทหารเพียงฝ่ายเดียวก็สามารถกระทำการดังที่ว่านี้ได้


– กรณีควบคุมตัวแอดมินเพจเปิดประเด็น

สราวุธ บำรุงกิตติคุณ เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า มีผู้แจ้งว่าเขาเป็นพวกหมิ่นสถาบันและรับจ้างทำเพจการเมือง คือเพจ “เปิดประเด็น” ที่สราวุธทำเป็นงานอดิเรกด้วยตนเองคนเดียว ทำให้เขาถูกควบคุมตัวราวกับเป็นผู้ก่อการร้าย ทั้งที่ตัวเขาเองไม่ชอบเฮทสปีช ไม่ชอบภาพตัดต่อใส่ร้าย ไม่ว่าจะเกี่ยวกับสถาบันหรือไรก็ตาม

คืนที่ถูกควบคุมตัวนั้น เจ้าหน้าที่พาสราวุธไปไว้ที่ค่ายวิภาวดีรังสิต (มทบ.45) ก่อนจะนำตัวขึ้นเครื่องบินมายัง มทบ.11 กรุงเทพมหานคร และถูกกักอยู่ในห้องหน้าต่างปิดทึบ มีทหารเวรคอยเฝ้ากะละสามนาย เขาถูกสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) และควบคุมตัวอยู่ที่ มทบ.11 ก่อนจะถูกส่งตัวกลับมาปล่อยที่ จ.สุราษฎร์ธานี ในวันที่ 16 มี.ค. 2559

“เขาก็พยายามโยง เขาคิดว่ามีต้นสาย ก็พยายามจะโยงให้ได้ เรื่องเครือข่าย ด้วยรูปแบบเพจ ด้วยรูปแบบเนื้อหา ด้วยภาษาที่ใช้ มันทำให้นึกว่ามีคนที่มีความรู้สูง ๆ ที่เรียนจบมาทางด้านกฎหมาย ทางด้านอะไรเป็นทีมงานกันหลายคน และมีการจ้างทำกราฟฟิก มีการจ้างทำทุกขั้นตอนอะไรแบบนี้ ภาพมันดูเหมือนว่าทำกันหลายคน ซึ่งจริง ๆ มันทำคนเดียวก็ทำได้ เขาพยายามถามว่ามีใครร่วมขบวนการบ้าง” สราวุธเล่าถึงการสอบสวนภายใน มทบ.11

ถึงจะไม่มีการทำร้ายร่างกายในกรณีของเขา แต่สราวุธก็ยอมรับว่าถูกข่มขู่ และมีความกังวลใจที่ไม่สามารถติดต่อใครได้ในระหว่างนั้น

“แต่ว่าขนาดนั้นมันก็คือการจำกัดสิทธิแล้ว คือการจำกัดความเห็น มีข่มขู่ว่าจะให้ขึ้นศาลทหารอย่างนี้ ผมก็ฟุ้งซ่านไปเยอะ”

เป็นเวลากว่า 8 วัน ที่สราวุธถูกควบคุมตัวไว้ในค่ายทหาร โดยไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกได้ เช่นเดียวกับที่ญาติและทนายความต่างถูกปฏิเสธไม่ให้ติดต่อกับสราวุธ ในขณะที่โฆษก คสช. ออกมาปฏิเสธผ่านสื่อมวลชนว่า ไม่มีข้อมูลการควบคุมตัวแอดมินเพจเปิดประเด็น

ตลอดระยะเวลา 8 วันนั้น สราวุธกลายเป็นบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย หรือ “อุ้มหาย” ซึ่งเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคล ตามมาด้วยการปกปิดสถานที่ควบคุมตัว และปฏิเสธจะทราบชะตากรรมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้บุคคลอยู่ภายนอกการคุ้มครองของกฎหมาย อันเป็นการละเมิดต่อพันธกรณีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญ โดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance: CED)

– กรณีควบคุมตัวแกนนำร้องเรียน เรื่องไล่รื้อบ้านเรือนและพื้นที่ประกอบอาชีพประมงริมชายหาด อ.เมือง จ.ระยอง

หลังการควบคุมตัวสราวุธในอีก 20 วันถัดมา เช้ามืดวันที่ 29 มี.ค. 2559 ชาวระยองสามคนถูกทหารควบคุมตัวจากบ้านพักไปยังค่ายนวมินทราชินี (มทบ.14) จ.ชลบุรี

“โอ๊ย! ทำไมมาเยอะแยะ อย่างกับจับเสือ จับโจร ทหารมาเยอะ หลายคัน เป็นแถวเลยตรงหน้าบ้าน ชาวบ้านก็แตกตื่นออกมาดู ก็ตกใจทหารมาเยอะ”ละม่อม บุญยงค์ หนึ่งในผู้ถูกควบคุมตัวเล่าย้อนไปถึงเหตุการณ์วันนั้น ก่อนที่ตัวเขา อนันต์ ทองมณี และรังสรรค์ ดอกจันทร์ จะถูกพาตัวไปที่ค่ายมหาสุรสิงหนาท (พัน ร.7) ที่ จ.ระยอง แล้วจึงส่งตัวต่อไปยัง มทบ.14 จ.ชลบุรี

“ถามว่ามาเชิญเรื่องอะไร เขาก็บอกว่ามันมีข่าวมาว่าลุง พวกลุงสามคน จะก่อม็อบ ชวนชาวบ้านทั้งหมดก่อม็อบไล่นายอำเภอ ลุงก็งง มันไม่เคยมีความคิดของลุงที่จะไปก่อม็อบอะไรพวกนี้ แล้วชาวบ้านหยิบมือแค่นี้จะไปก่อม็อบทำไม”

เช่นเดียวกับอนันต์ ทองมณี ที่ยืนยันว่าพวกเขาไม่ได้ทำอย่างที่ทหารอ้าง “คือกล้าพูดและกล้าแสดงออก กล้ามีจิตอาสาที่จะทำเพื่อชาวบ้าน คือกล้า ถ้าถามว่าจะกล้าไปก่อม็อบนั่นไม่กล้าหรอก บอกท่าน ผบ. ผมไม่ได้คิดทำอะไรท่านไปสืบดูได้ ไปสืบถามชาวบ้านว่า ณ วันนี้ชาวบ้านรวมตัวกันไหม รวมตัวไหม ไม่มี”

แม้ปรากฏข้อเท็จจริงดังว่า แต่ทั้งสามคนก็ต้องถูกควบคุมตัวไว้ที่ มทบ.14 หนึ่งคืน และถูกยึดโทรศัพท์ไว้ ก่อนจะปล่อยตัวในเช้าวันถัดมาโดยไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาว่ากระทำผิดตามกฎหมายใด


– การควบคุมตัวที่มีราคาต้องจ่าย

จุดร่วมของสี่คนนี้ คือการถูกจับจากข่าวที่ทหารได้รับ นำตัวพวกเขาไปไว้ในค่ายทหาร และปล่อยตัวออกมาหลังจากพบว่าไม่มีใครทำผิดตามที่ถูกสงสัย

“เรียกว่ามันเกิดความผิดพลาดที่เขา หน่วยข่าวกรองเขา การกรองข่าวเขามันผิดพลาด การกรองข่าวเขาว่าเขาจะต้องได้อะไรที่มันใหญ่โต ได้คนผิดแน่นอนอะไรอย่างนี้ แต่พอเอาเข้าจริงแล้วเขาไปได้เอาประชาชนธรรมดาที่วิจารณ์รัฐบาลอย่างบริสุทธิ์ใจ สุจริต” สราวุธให้ความเห็น

ไม่ผิดก็ไม่ต้องกลัว เนื้อความที่ผู้นำทหารย้ำผ่านสื่อมวลชนบ่อยครั้งเมื่อถูกถามถึงมาตรการที่นำมาใช้จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนผ่านมาตรา 44 เห็นได้ว่า กรณีตัวอย่างทั้งสี่คนนี้ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย และไม่มีการดำเนินคดีทางกฎหมายใด ๆ ตามมา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่ได้รับความเสียหายจากการถูกควบคุมตัวในลักษณะนี้

“นอกจากเสียเวลาไป 7-8 วันในการถูกควบคุมตัวแล้วยังต้องมานั่งตั้งสติ เรียกขวัญตัวเองอีก 4-5 วัน แล้วต้องมานั่งเช็คคอมพิวเตอร์อีก 3-4 วันอย่างนี้ กว่าจะเรียกกลับมาได้ก็เสียหายไปเยอะนะ” สราวุธชี้แจงในกรณีของเขา

อดีตแอดมินเพจเปิดประเด็นเล่าว่า คอมพิวเตอร์ของเขาเสียหายในส่วนของเมนบอร์ดและพาวเวอร์ซัพพลาย สายฮาร์ดดิสก์และฮาร์ดดิสก์บางตัวหลุดออกมา คล้ายกับถูกถอดเพื่อรื้อดูข้อมูลในนั้น ทำให้ฮาร์ดดิสก์เสียหาย อ่านข้อมูลไม่ได้ เพราะก่อนหน้านี้เขาเข้ารหัสคอมพิวเตอร์ไว้

นอกจากนี้ เขายังถูกบีบให้ต้องเซ็นยอมรับเงื่อนไขของ คสช. เพื่อจะได้รับการปล่อยตัว ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวระบุว่า จะไม่เดินทางออกนอกประเทศก่อนได้รับอนุญาต ละเว้นการเคลื่อนไหวหรือประชุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ และเมื่อไหร่ที่ให้ความช่วยเหลือ หรือสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง เขายินยอมที่จะถูกดำเนินคดีและถูกระงับธุรกรรมทางการเงิน อันเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 40/2557 ที่เพิ่มเติมคือ สราวุธถูกทหารสั่งให้ปิดเพจเปิดประเด็นอีกด้วย

เช่นกันกับที่ระยอง ละม่อม อนันต์ และรังสรรค์ ถูกห้ามรวมตัวกัน หรือไปปรากฏตัวในที่ชุมนุมของคนจำนวนมาก

“เขาก็บอกสั่งมาว่า ถ้ามานี่แล้วอย่าไปรวมตัวกันอีก อย่าไปอยู่กับคนหมู่มาก ถ้าเขาถ่ายรูปลุงอยู่ในคนหมู่มากอีก เขาจะเชิญมาอีก ทีนี้จะมาอยู่หลายวัน เขาว่าแบบนั้น” ละม่อมเล่าถึงเงื่อนไขการปล่อยตัวที่ถูกกำชับมาจากฝ่ายทหาร

อย่างไรก็ตาม ที่ จ.ระยอง นั้นดูเหมือนการควบคุมตัวและตั้งเงื่อนไขของ คสช. จะยิ่งส่งผลกระทบหนัก เมื่อคนที่ถูกควบคุมตัวไปคือหัวหน้าครอบครัว ผู้มีภาระหน้าที่ดูแลอีกหลายชีวิตในบ้าน

“มาจับผมทำไม ทางนี้ก็เดือดร้อนสิ หมึกก็ไม่มีใครไปซื้อ นั่นก็ไม่มีใครไปซื้อ ตาย มันเดือดร้อนนะ ถ้าอยู่สามวัน ครอบครัวผมจะทำไง มีกินไหม ลูกเต้าจะทำไง เพราะว่าเงินต้องอยู่กับผม ตื่นเช้ามาค่าใช้จ่ายอยู่กับผมหมด ทางนี้จะทำไง เอทีเอ็มก็อยู่กับผมหมด จะทำยังไงทีนี้” อนันต์เล่าถึงความร้อนใจระหว่างถูกควบคุมตัว

นอกจากนี้ ทั้งละม่อม อนันต์ และรังสรรค์ ต่างเป็นกลุ่มชาวประมงเรือเล็กและประกอบอาชีพแปรรูปอาหารทะเลริมชายฝั่ง ซึ่งได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไล่รื้อที่อยู่ของพวกเขาบริเวณชายหาด ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ระยอง เพื่อขอให้รัฐจัดพื้นที่รองรับสำหรับผู้ได้รับผลกระทบเสียก่อน แต่เมื่อมีเงื่อนไขห้ามรวมตัวดังกล่าวแล้ว กระบวนการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างก็เกิดขึ้นโดยที่พวกเขาไม่กล้าคัดค้านอะไรอีกต่อไป


เขาบอกว่าให้ทำตามมติที่ประชุม จับมือทำตามมติที่ประชุมเลย คือรื้อ บอกให้รื้อเลย แล้วห้ามให้เราเข้าไปในที่ที่มีคนมาก ห้ามประชุมชาวบ้านห้ามอะไร เราก็ไม่ทำ เราก็ไม่เคยเข้าไป แม้แต่จะไปงานบวชเขาเรายังไม่ไปเลย กลัวเขาจะมาเชิญเราอีก กลัวเดือดร้อน ไปงานแต่งก็กลัวที่มีคนเยอะ ๆ เพราะเขาห้ามไว้แล้ว” อนันต์เล่าถึงสถานการณ์หลังได้รับการปล่อยตัว

ปัจจุบันนี้ อนันต์อาศัยอยู่ในเพิงผ้าใบที่ทางเทศบาลนำมาตั้งไว้ เนื่องจากบ้านถูกรื้อทำลายตามนโยบายจัดระเบียบชายหาดของ คสช. ซึ่งนโยบายนี้ได้หอบเอาวิสาหกิจชุมชน ต.ปากน้ำ และธนาคารปูหายไปจากพื้นที่ เนื่องจากเป็นสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณชายหาดอีกด้วย


จะจัดยังไงก็ให้มีที่รองรับให้กับเรามั่ง ให้คนจน ๆ ระบบรากหญ้าได้มีที่ยืน ได้มีที่ทำกิน ไม่ใช่มารื้ออาชีพดั้งเดิมเขา ไม่ใช่ไม่มีที่รองรับอะไรเขาเลย อย่างนี้มันเดือดร้อนครับ มันเดือดร้อน ถามทุกคนได้ บางคนร้องไห้เลย มีภาพทหารมาหิ้ว ร้องไห้ ก็หมดตัวน่ะ คนเราหมดตัวจะทำไง

วันนี้ผมมาอยู่ตรงนี้ ตามคำสั่งของเทศบาล เขียนไว้ว่าที่รองรับผู้ได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบชายหาด ผมก็จำเป็นจะต้องมานั่งกินตรงนี้ นอนกินตรงนี้ เพื่อรออะไร รอให้เขาได้จัดสรร ได้เข้ามาช่วยเหลือ ผมก็อยากรู้ ท่านจะทนเห็นได้ไหมกับคนที่ถูกล้มล้างอาชีพที่ทำมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายต้องมาเป็นอย่างนี้” อนันต์เปิดปากเล่าท่ามกลางเครื่องเรือนและอุปกรณ์ทำกินกองระเกะรกะภายใต้เพิงผ้าใบที่เปิดโล่งทั้งสี่ด้าน

เวลา สภาพจิตใจ ทรัพย์สิน บ้าน อาชีพ และสิทธิที่จะเรียกร้องชีวิตที่ดีให้แก่ตนเอง คือสิ่งที่เสียหาย หรือถูกทำลายไปหลังการควบคุมตัวทั้งสี่คน ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44

หากไม่ผิดจะกลัวอะไร คงเป็นคำตอบที่ คสช. อยากจะย้ำกับสราวุธ ละม่อม อนันต์ รังสรรค์ และคนไทยคนอื่นอีกหลายล้านคน เพื่อให้ยังคงสามารถใช้อำนาจควบคุมตัวประชาชนได้ต่อไปไม่รู้จบ แต่จากสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนทั้งสี่ และอาจมีอีกมากมายนับพันคนที่ถูกควบคุมตัวโดย คสช. เราอาจต้องเริ่มเปลี่ยนคำถามมาเป็นหากปล่อยให้มีการใช้อำนาจตามอำเภอใจแบบนี้ ถึงไม่มีความผิด ใครเลยจะกล้าการันตีว่าจะไม่มีใครต้องสูญเสียอะไรไปอีกมากต่อมากเท่าไหร่.

Overseas travel ban lifted: to whose benefit?

Not long after the second round of the Universal Periodic Review (UPR) of Thailand on 11 May 2016 ended, several questions from member states concerning human rights situations in Thailand, including the military jurisdiction, the enforced disappearance, and the restriction of freedom of expression have resulted in the National Council for Peace and Order (NCPO)’s attempt to appear as more alleviate on people’s exercise of rights and freedoms. The Head of NCPO Order no. 25/2016 regarding the revocation of the overseas travel ban on individuals , announced in the Royal Gazette on 31 May 2016 and became effective on 1 June 2016, is the latest move.

However, the Thai Lawyers for Human Rights (TLHR) has found that, although the Head of NCPO Order no. 25/2016 regarding the revocation of overseas travel ban on individuals may appear to present an ease on government’s restriction of rights and freedoms, it benefits only a limited number of persons, and may even impose additional restriction as following;

 

  1. People directly benefit from the Head of NCPO Order no. 25/2016

The Head of NCPO Order no. 25/2016 revokes the Announcement of NCPO no. 21/2014, the announcement that prohibited individuals who reported themselves to military as summoned by the NCPO Orders no. 1/2014, 2/2014 and 3/2014 from travelling out of the country, 155 names on the lists. The three Orders were issued before the Announcement of NCPO no. 39/2014 about conditions of release of individuals summoned by the NCPO, announced on 25 May 2014. Therefore, the persons listed in the three Orders were not bound by the conditions in the annex to the Announcement no. 21/2014 which bans overseas travel.

The TLHR has a remark that the persons who were summoned by the NCPO Orders after 25 May 2014, at least 300 names on the lists, do not benefit from the Head of NCPO Order no. 25/2016, because those who reported themselves to the NCPO had to sign a document which contain the conditions of release in the annex of the Announcement no. 39/2014. In addition, some people included in the list of 155 names, mostly politicians, will not benefit from the revocation of the Announcement no. 21/2014 as they have pending lawsuits or have been summoned by military more than once, such as Mr. Pichai Naripthapan, Mr. Chaturon Chaisang, or Mr. Watana Muangsook

 

  1. People who seemed to benefit from the Order, but in fact do not

The Order no. 25/2016 stipulates that any person who defies or fails to comply with the Announcement of NCPO no. 39/2014, 40/2014, 41/2014, and the Head of NCPO Order no. 3/2015 must seek permission from the Head of NCPO when they are to travel overseas. On the other hand, this means that a person who do not defy the Announcements and Orders can leave the country without permission from the Head of NCPO.

 In fact, a person who has never defied the Announcements and Orders but has signed the conditions upon release, which prohibits travelling abroad without the Head of NCPO’s permission, will not be affected by the Order no. 25/2016. They are still bound by the conditions and are obliged to seek permission to leave the country.

 

  1. People who do not benefit and may be disadvantaged

Apart from not benefitting people under the restriction according to the Announcements of NCPO no. 39/2014, 40/2014, 41/2014 and the Head of NCPO Order no. 3/2015, by stating that “any person who defies or fails to comply with the aforementioned Announcements and Order must be granted permission from the Head of the National Council for Peace and Order before travelling out of the Kingdom” could be interpreted that any person who did not sign the release conditions but has defied the Announcements or the Orders may have to seek permission as well. For instance, people who participated in a political gathering of more than 5 people, but did not sign the release conditions that prohibit leaving the Kingdom under the Head of NCPO Order no. 3/2015, may be considered to have to seek prior permission under this new Order, even though they were not bound to the said conditions.

 

The Thai Lawyers for Human Rights considers that the Head of NCPO Order no. 25/2016 is an attempt to put on an act than the NCPO has loosened its strict stance on rights and freedoms, but does not evoke any difference in practice due to the limited number of benefited people and other conditions, Announcements, and Orders that remain effective in overseas travel bans. In addition, citizens could be at risk of the sweeping law enforcement by the NCPO because of word choice in the Order that can be broadly interpreted. 

 

Related links

English translation of NCPO Announcements https://thaicoup2014.wordpress.com/2014/06/15/thaicoup-all-ncpo-announcements-in-one-place/

 

overseas travel ban on individuals

คำสั่งหัวหน้าคสช.ยกเลิกห้ามบุคคลเดินทางออกราชอาณาจักร ใครได้ประโยชน์ ?

 

Head-of-NCPO-Order-No.25-2016-(3)พลันที่ความเห็นของนานาประเทศจากการทบทวนรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยตามกลไก Universal Periodic Review ของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 11 พ.ค.59 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์จบลง เสียงเรียกร้องของประเทศต่างๆ ที่มีคำถามถึงสถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทย ทั้งการพิจารณาคดีพลเรือนในศาลทหาร การบังคับบุคคลสูญหาย การจำกัดเสรีภาพบุคคลในการแสดงออก และอีกหลายประเด็นทำให้ภายหลังห้วงเวลาดังกล่าวคสช.หรือรัฐบาลพยายามแสดงท่าทีในการผ่อนปรนในการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนมากขึ้น รวมถึงล่าสุดในการออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 25/2559 เรื่อง ยกเลิกการห้ามบุคคลเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งได้เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 พ.ค.59 และมีผลบังคับใช้ในวันนี้(1 มิ.ย.59)

            อย่างไรก็ตาม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่าคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 25/2559 เรื่อง ยกเลิกการห้ามบุคคลเดินทางออกนอกราชอาณาจักร แม้อาจจะทำให้เกิดภาพลักษณ์ต่อรัฐบาลที่คล้ายผ่อนคลายความเข้มงวดลง แต่ในทางปฏิบัติดูเหมือนมีผู้ได้รับประโยชน์เพียงไม่กี่ราย และอาจมีการจำกัดสิทธิที่เพิ่มมากขึ้นจากถ้อยคำตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับนี้ กล่าวคือ

  1. กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากคำสั่งหัวหน้าคสช.โดยตรง

คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 25/2559 ให้ยกเลิกประกาศคสช.ฉบับที่ 21/2557 ซึ่งประกาศดังกล่าวนั้นกำหนดให้บุคคลที่มารายงานตัวตามคำสั่งคสช.ฉบับที่ 1/2557 ฉบับที่ 2/2557 และฉบับที่ 3/2557 ซึ่งมีทั้งหมด 155 รายชื่อห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เนื่องจากกลุ่มบุคคลดังกล่าวนั้นถูกเรียกมารายงานตัวก่อนมีการประกาศใช้ประกาศคสช.ฉบับที่ 39/2557  เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวของบุคคลที่มารายงานตัวต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 25 พ.ค.57 กลุ่มดังกล่าวจึงยังไม่มีการลงนามในเงื่อนไขท้ายประกาศซึ่งห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร

อย่างไรก็ตาม ศูนย์ทนายความฯ มีข้อสังเกตว่าบุคคลที่ถูกเรียกมารายงานตัวตามคำสั่งคสช.ภายหลังวันที่ 25 พ.ค.57 ซึ่งมีอย่างน้อย 300 รายชื่อตามคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัวของคสช.นั้นไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ จากคำสั่งหัวหน้าคสช.แห่งชาติฉบับนี้ เพราะกลุ่มดังกล่าวนั้นต้องลงนามในเงื่อนไขการปล่อยตัวท้ายประกาศคสช.ฉบับที่ 39/2557  อีกทั้ง ภายใน 155 รายชื่อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักการเมืองนั้น มีบุคคลบางรายซึ่งไม่ได้ประโยชน์จากการยกเลิกประกาศคสช.ฉบับที่ 21/57  เพราะยังคงมีคดีความ หรือบางรายอาจถูกเรียกรายงานตัวหลายครั้ง อาทิเช่นนายพิชัย นริพทพันธุ์ นายจาตุรนต์ ฉายแสง หรือนายวัฒนา เมืองสุข เป็นต้น

  1. กลุ่มที่ดูเหมือนจะได้รับประโยชน์ แต่ไม่ได้ประโยชน์

นอกจากบุคคลที่ถูกเรียกรายงานตัวตามคำสั่งคสช.ฉบับที่ 1-3/2557 จำนวน 155 คน แล้ว ในข้อ 3. ของคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับดังกล่าวยังระบุให้ บุคคลใดที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศคสช.ฉบับที่ 39/2557 ประกาศคสช.ฉบับที่ 40/2557 ประกาศคสช.ฉบับที่ 41/2557 และคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3/2558  หากจะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติก่อน ซึ่งหมายความว่าบุคคลที่ไม่ได้ฝ่าฝืนประกาศและคำสั่งดังกล่าวสามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าคสช.

อย่างไรก็ตาม แม้บุคคลที่ไม่เคยฝ่าฝืนประกาศและคำสั่งดังกล่าว แต่ได้เคยลงนามในเงื่อนไขท้ายประกาศหรือคำสั่ง ซึ่งกำหนดห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้ขออนุมัติต่อหัวหน้าคสช.ก่อน ในทางปฏิบัติ การกำหนดเช่นนี้เท่ากับไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ สำหรับผู้ลงชื่อในเงื่อนไขตามประกาศและคำสั่งคสช.เลย กล่าวคือยังต้องขออนุมัติต่อหัวหน้าคสช.อยู่เช่นเดิม

  1. กลุ่มที่นอกจากจะไม่ได้รับประโยชน์แล้ว อาจเสียประโยชน์

นอกจากคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 25/2559 นี้ จะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ติดเงื่อนไขตามประกาศคสช.ฉบับที่ 39/2557 ประกาศคสช.ฉบับที่ 40/2557 ประกาศคสช.ฉบับที่ 41/2557 และคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 แล้ว การกำหนดว่า “บุคคลใดที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งดังต่อไปนี้ หากจะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติก่อน” ยังให้ความหมายที่อาจตีความได้กว้างถึงบุคคลที่ไม่ได้ลงนามตามท้ายประกาศหรือคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับนั้น แต่ได้ฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งหัวหน้าคสช.ได้ด้วย อาทิเช่น กรณีมีผู้ชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป แต่ไม่ได้ลงนามในเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 ก็อาจถูกตีความว่าต้องขออนุมัติก่อน ทั้งที่ไม่เคยอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวมาก่อนก็ได้

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงเห็นคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 25/2559 นี้ เป็นการพยายามสร้างภาพลักษณ์ว่าคสช.มีการผ่อนปรนในด้านสิทธิเสรีภาพมากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติแล้วแทบจะไม่มีผลแตกต่างใดๆ จากก่อนมีการประกาศใช้คำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับดังกล่าว เนื่องจากมีผู้ได้ประโยชน์อย่างจำกัด และบุคคลส่วนใหญ่ยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขห้ามออกนอกประเทศตามประกาศและคำสั่งฉบับอื่น อีกทั้งประชาชนยังมีความเสี่ยงจากการบังคับใช้ “กฎหมาย” อย่างกว้างขวางของคสช. เนื่องจากจากการใช้ถ้อยคำในคำสั่งที่มีความหมายอย่างกว้างขวางอีกด้วย

 

Inconsistent with the Truth: The Thai Representative’s UPR Statement on Military Courts

The second cycle of the Universal Periodical Review (UPR) of Thailand was held on 11 May 2016 in Geneva, Switzerland. Many UN member states raised concerns and questions about the use of military courts to try civilians. To respond to the queries from other member states, a team of representatives from the Government of Thailand attended the session, including Lt. Col. Seni Bhromvivat, the Head of the Military Legislation Section of the Judge Advocate General’s Department from the Ministry of Defense.

Lt. Col. Seni Bhromvivat, as a representative of the Government of Thailand, explained to the Human Rights Council that the application of military jurisdiction to civilian cases is limited to specific and severe offences. The defendants in the military courts have the same rights as those in civilian courts as the military courts operate under the Criminal Procedure Code which guarantees the right to a fair trial and other rights of defendants in line with international obligations.  The military judges are required to have legal knowledge and proficiency in criminal law, similar to judges in the civilian court system.

Lt. Col. Seni further explained that military judiciary guarantees the right to a fair and public hearing by an independent judiciary. The defendant has the right to legal assistance and the right to bail, and receives consideration for temporary release, the same as within the civilian judiciary. The military trials also are open for public observation,  including civil society and human rights organizations in addition to defendants’ families.

 

However, after extended observation of trials of civilians in military courts, Thai Lawyers for Human Rights (TLHR) has found that the representative’s explanation to the international community is inconsistent with the actual situation. Military trials are explicitly and considerably differ from civilian trials in many ways, all of which affect access to rights during the judicial proceedings and result in violations of the rights of civilian alleged offenders and defendants.

  1. A large numbers of the political cases tried in the military courts are not serious crimes. In a normal society, many of the actions for which people have been charged and prosecuted under the jurisdiction of the military court are not considered crimes. Instead, these are actions related to the exercise of the rights to freedom of expression and freedom of peaceful assembly, such as eating out at McDonalds’ as an action to express dissent against the coup d’état, not reporting as summoned by the orders of the National Council for Peace and Order (NCPO), organizing a commemorative activity on the anniversary of a past election, walking from home to the military court alone, riding a train to investigate alleged corruption at the military-built Rajabhakti Park, mocking the head of the junta, holding a press release insisting that ‘Universities are not military camps’, and taking photos with a red water bowl, to name a few.
  2. Many weapons cases are not related to politics and are not serious offences. TLHR has found that the defendants in many weapons cases tried in the military courts are villagers or people of ethnic groups arrested for possessing unregistered cap guns or for not handing over the firearms to the authorities as ordered by an NCPO announcement. The alleged offenders usually use the guns for hunting or taking care of their plantations. Some possessed only one gun or antique firearms with no registration. Many alleged offenders are not involved with politics or violence in any way.
  3. The military judges lack independence and impartiality. The military judiciary is subordinate to the Ministry of Defense and the Defense Minister and the Commander of the Royal Thai Army is authorized to appoint military judges. This places the military judges under military command, which is different from the judicial system. TLHR has also found that in some trials, the military tribunal made a phone call to their superiors within the chain of command prior to delivering the outcome of a discretionary decision to a defendant, which demonstrates the lack of independence present in adjudication.
  4. Not all military judges are proficient in law. In the military courts, of the three adjudicators on a panel of judges, only a judge advocate general is required to be a commissioned officer with a degree in law. The rest of the adjudicators are commissioned officers appointed by commanders in each military court’s jurisdiction and are not required to possess a law degree.
  5. The military courts do not have sufficient personnel for the caseload. Each month, around 30 military judge advocate generals will move from court to court within the 29 operating military circle courts. Most courts have a stationed military prosecutor and 2-3 court officials who also have to perform as court clerks during the proceedings. The limitation of the military court staff to handle thousands of civilian cases has resulted in delayed prosecutions.
  6. International observers cannot attend hearings in provincial military courts. Military bases, where the provincial military courts are located, are designated as zones of national security and confidential state affairs. Therefore, foreigners, including staff from international organizations and embassies, are not allowed to enter the bases.
  7. Before martial law was lifted, the cases tried in military courts could not be appealed. Defendants in any case tried in the military courts during the period of 25 May 2014 – 1 April 2015 while the martial law was imposed were not entitled to appeal the court’s conviction or any decision to higher courts. This was true even in those cases with heavy penalties such as the death penalty. This is in conflict with the principle of the rule of law and denied the defendant’s right to appeal to a higher court to review the lower court’s judgment and impeded their access to the right to a fair trial.
  8. The military courts do not offer lawyers. In civilian courts, a defendant who does not have a lawyer and requests to have one can be appointed a state-provided lawyer. These lawyers are usually stationed at the courts and are provided at no charge to the defendants. The military courts, however, do not have a mechanism to guarantee the defendant’s access to legal assistance. The military courts did not provide lawyers for many defendants in need of lawyers in weapons cases. In other cases, the court officials sometimes contacted a lawyer to assist in cases, but erratically.
  9. The military court proceedings are extremely delayed. The military courts usually hold evidence hearings every two or three months. Each hearing begins in the morning and ends before noon. This schedule makes it possible to hear evidence from only one or two witnesses per round, or in situations in which a witness has very detailed evidence to present, it may take several rounds. Adjournment is also not uncommon. The taking of evidence in the military courts is therefore much more delayed and sporadic in comparison to the civilian courts that usually hold consecutive hearing dates which makes the proceedings swifter than in the military courts.
  10. The delays in military court proceedings forces some defendants to plead guilty, especially those whose request for temporary release is denied. They face a lengthy period of pre-trial detention and there many decided to plead guilty as charged in order to receive a reduced sentence. It is apparent that the delays gravely affect the defendant’s right to fair proceedings.
  11. The military courts generally hand down heavier penalties than civilian courts. For example, lèse majesté cases now have a new rate of penalty of 8-10 years of imprisonment per count, while the same offence in the civilian courts previously resulted in 5 years per count on average. As a result, many cases with several counts of violation have set new records for severe sentences. In another example, the offence of defying an NCPO order was punished by a military court with a 10,000 baht fine, reduced by half to 5,000 baht as the defendant pled guilty. The same offence in a civilian court was punished with a 500 baht fine.
  12. The military courts do not carry out a pre-sentence investigation. The civilian courts can issue an order to investigate a defendant and make a report of the facts, background, behavior, and life of the defendant to inform the court’s discretion in making sentencing decisions. The military courts, however, claim that they cannot order the Department of Probation, which is under the Ministry of Justice, to carry out such an investigation. Lots of facts about the defendants, such as a defendant’s mental illness, are not taken into account by the military court when they make decisions about punishment.
  13. The military courts do not allow lawyers to copy the records of some proceedings. In some cases, the judge advocate general stated that as the record of the proceedings has been read in the courtroom, a copy is not necessary. This differs from the civilian courts in which litigants can access and copy the records of proceedings.
  14. Restrictions on bail surety are more stringent than in civilian courts and standard criteria regarding bail amounts do not exist. The military courts do not accept an individual or the civil service status of an individual as a surety for bail and do not accept payment by a bail bond. The civilian courts allow a greater range of categories of bail payment and guarantors.
  15. The military court clerks still manually write or type the court’s record of proceedings. Unlike the civilian courts, which use voice-recording devices, the manual method in the military courts causes discontinuity and delay as the proceedings must occasionally stop and wait for the clerk.
  16. The suspects or defendants are taken to prison while waiting for the result of the request for temporary release. Both female and male suspects and defendants have been subjected to violations while being strip searched before entering the prison. The civilian courts detain the suspects or defendants in a detention room at the court while waiting for the result of the request for temporary release. If the courts grant temporary release, the suspects or defendants are released from the courts directly and do not have to go through the procedures to enter and leave the prison.