ประมวลเหตุการณ์ : รำลึกนวมทอง ไพรวัลย์

ประมวลเหตุการณ์การจัดกิจกรรม ครบรอบ 9 ปี รำลึกการเสียชีวิต ‘นวมทอง ไพรวัลย์’ คนขับแท็กซี่ที่นำรถชนกับรถถัง ประท้วงการรัฐประหาร 2549 โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ที่สะพานลอยคนข้ามหน้าสนพ.ไทยรัฐเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2549 ของกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงค่ำ อ่านเพิ่มเติม

The opinions of human rights organizations on the criminal proceeding Re: The case of Mr. Suriyan Sucharitpolwong and Pol.Maj.Prakrom Warunprapa

The opinions of human rights organizations on the criminal proceedings

Re: The case of Mr. Suriyan Sucharitpolwong and Pol Maj Prakrom Warunprapa

On 16 October 2015, despite reports that Mr. Suriyan Sucharitpolwong was arrested and taken from his residence, the Commander of the Crime Suppression Division denied that Mr. Suriyan was deprived of liberty. Later on 21 October 2015, the police and military officials have brought Mr. Suriyan Sucharitpolwong, Pol Maj Prakrom Warunprapa and Mr. Jirawong Watthanathewasilp to ask for them to be remanded in custody by the Bangkok Military Court. All of them were later brought to the detention at the temporary remand facility on Nakhon Chai Sri Road.
The Corrections Department released a press statement on 24 October 2015 stating that while being held in custody, Pol Maj Prakrom Warunprapa, Inspector of Subdivision 1, the Technology Crime Suppression Division (TCSD) was found dead by hanging himself in the holding cell. In (3) of the statement, it says that “The death of the detainee in this case took place while in official custody. Therefore, it warrants a post-mortem autopsy according to the Criminal Procedure and the transfer of the body for examination at the Institute of Forensic Medicine, the Royal Thai Police and for further proceeding according to the law.”
Nevertheless, on 25 October 2015, his relatives contacted and attempted to retrieve his body from the Institute of Forensic Medicine only to find that his body had not been brought there. On 26 October 2015, the Minister of Justice told the press that the police, public prosecutor, forensic medical doctor and administrative official have already conducted the autopsy of the body of Pol Maj Prakrom Warunprapa according to the law and his relatives had retrieved the body from the Corrections Department hospital, and there was no need for the examination at the Institute of Forensic Medicine.
The undersigned human rights organizations have the following opinions to make toward the criminal proceeding from the arrest of Mr. Suriyan and others until the death of Pol Maj Prakrom as follows;
1. The holding in custody of Mr. Suriyan from 16-21 October 2015 in an undisclosed detention facility and that the authority had earlier denied reports of his detention have put him beyond legal protection and effectively made him a victim of enforced disappearance as per Article 2 of the International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance (CED) with which Thailand is obliged to comply, after signing the Convention, albeit not ratifying it.

2. The facts that the three suspects were held in custody in the temporary remand facility on Nakhon Chai Sri Road located in a military barrack and that they were subjected to solitary confinement in a windowless holding cell with the only access through the door constitute an act of cruel, inhuman or degrading treatment as per Article 16 of the Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (CAT) to which Thailand is a state party and has to comply with. In addition, by holding in custody a person in a place not publicly accessible such as in the military barrack, it is likely to bring about other forms of human rights violations including torture and when such an act occurs, it makes it difficult for effective investigation to be carried out.

3. The death of Pol Maj Prakrom has to be treated as a death in official custody and it warrants the procedure as provided for in Section 150 of the Criminal Procedure Code whereby an inquiry official and public prosecutor have to conduct an autopsy and the public prosecutor has ask the Court to conduct a post mortem inquest to determine who the deceased was, where he died, when, and the causes and the circumstances around the death. Practically, the Corrections Department hospital is required to transfer the body to the Institute of Forensic Medicine and proceed with the procedure as explained in the statement released by the Corrections Department. It turned out that none of such procedure had been followed. Even though the authorities claimed the autopsy had been conducted in the Corrections Department hospital, but it had probably been done so without the presence of his no relatives.

Section 150 requires that the relatives are informed sufficiently prior to the conducting of the autopsy. Thus, the reported process to determine the causes of death of Pol Maj Prakrom still keeps people baffled and ushered the whole society into the climate of fear that a person could be fatally harmed by extrajudicial powers even though the person was being remanded in custody to prove his culpability through a criminal proceeding.
4. According to Article 14 of the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR) regarding the right to be presumed innocent, the three suspects have to be treated as innocent until they are convicted by the Court which has reached its final verdict. The persons cannot be treated as if they were guilty.

The undersigned human rights organizations demand the following;

1. Shut down the temporary remand facility on Nakhon Chai Sri Road and transfer any persons being held in custody there to a normal prison. The holding in custody of a civilian in an area under military control has led to a lack of transparency and undermined a guarantee of the rights of the detainees and it might lead to violation of other human rights. Such a practice may constitute an act of arbitrary and unlawful detention and a breach of international human rights obligation, particularly Article 9 of the ICCPR which prohibits arbitrary detention without the safeguard of rights and Article 10 regarding the treatment of a person deprived of liberty with humanity and with respect for the inherent dignity of the human person.

2. Detail of the results and process of autopsy of the body of Pol Maj Prakrom must be disclosed to public and the post mortem inquest warranted for as per Section 150 of the Criminal Procedure Code must be conducted to uphold the interest of justice, the rule of law and to make it accountable for society in order to quell any climate of fear.

With respect to rights and liberties

Thai Lawyers for Human Rights (TLHR)

Union for Civil Liberties (UCL)

Human Rights Lawyers Association (HRLA)

ENLAW Foundation

Cross Cultural Foundation (CrCF)

Community Resource Center

ความเห็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต่อกระบวนการยุติธรรม : กรณีนายสุริยัน สุจริตพลวงศ์และพ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา

ตามที่วันที่ 16 ต.ค. 58 มีข่าวการควบคุมตัวนายสุริยัน สุจริตพลวงศ์ไปจากบ้านพัก โดยผู้บังคับการปราบปรามให้สัมภาษณ์ปฎิเสธว่ากองปราบไม่ได้จับกุมนายสุริยัน ต่อมาวันที่ 21 ต.ค. 58 เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารนำตัวนายสุริยันต์ สุจริตพลวงศ์ พ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภาและนายจิรวงศ์ วัฒนเทวาศิลป์ไปฝากขังยังศาลทหารกรุงเทพ ทั้งหมดถูกนำไปควบคุมตัวที่เรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี

ต่อมากรมราชทัณฑ์ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 58 ที่ผ่านมาว่าระหว่างการควบคุมตัวพ.ต.ต.ปรากรม สารวัตรกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) เสียชีวิตจากการผูกคอกับลูกกรงโดยแถลงการณ์ข้อ 3.ระบุว่า “การเสียชีวิตของผู้ต้องขังในครั้งนี้เป็นการเสียชีวิตในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงาน จึงต้องดำเนินการชันสูตรพลิกศพตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และส่งศพให้สถาบันนิติเวช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป”

อย่างไรก็ตามวันที่ 25 ต.ค.58 ญาติผู้ตายได้ไปติดต่อขอรับศพที่สถาบันนิติเวช แต่พบว่าไม่มีการส่งศพมายังสถาบันฯต่อมาวันที่ 26 ต.ค.58 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้สัมภาษณ์ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการ แพทย์นิติเวช และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ได้ร่วมชันสูตรพลิกศพพ.ต.ต.ปรากรมตามกฎหมาย และญาติได้เดินทางมารับศพยังทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์แล้วจึงไม่จำเป็นต้องส่งศพไปตรวจที่สถาบันนิติเวชอีก

องค์กรสิทธิมนุษยชนตามรายชื่อแนบท้ายมีความเห็นต่อกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่การจับกุมนายสุริยัน กับพวกจนถึงการเสียชีวิตของพ.ต.ต.ปรากรม ดังต่อไปนี้

1. การควบคุมตัวนายสุริยัน ระหว่างวันที่ 16 – 21 ต.ค.58ในสถานที่ลับ โดยเจ้าหน้าที่รัฐปฏิเสธการควบคุมตัว ทำให้นายสุริยันไม่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายถือเป็นการบังคับบุคคลให้หายสาบสูญ ตามข้อ 2 อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญ โดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance: CED) และประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องไม่ละเมิดอนุสัญญาดังกล่าว หลังลงนามในอนุสัญญา แม้ยังไม่ได้ให้สัตยาบันก็ตาม

2. การควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้งสามรายในเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรีภายในค่ายทหาร โดยเป็นการขังเดี่ยวภายในห้องที่ปิดทึบผนังทั้งสี่ด้านไม่สามารถมองเห็นจากภายนอกได้นอกจากการเปิดประตูนั้น เข้าข่ายการประติบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรรมหรือย่ำยี่ศักดิ์ศรี ตามข้อ 16 ของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม อีกทั้งการควบคุมตัวบุคคลภายในสถานที่ซึ่งบุคคลภายนอกไม่อาจเข้าถึงภายในค่ายทหารนั้นยังนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆอาทิการทรมาน ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถตรวจสอบผู้กระทำความผิดได้ยาก

3. การเสียชีวิตของพ.ต.ต.ปรากรม นั้น ถือเป็นการตายระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงานต้องปฏิบัติตามมาตรา 150 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากล่าวคือ พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการต้องทำการชันสูตรพลิกศพ และพนักงานอัยการต้องทำคำร้องให้ศาลไต่สวนเพื่อให้ทราบว่าผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน เมื่อใด เหตุและพฤติการณ์ที่ทำให้ตาย ในทางปฏิบัติทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์จะมีการส่งร่างผู้ตายไปยังสถาบันนิติเวชดังที่ระบุขั้นตอนไว้ในแถลงการณ์ แต่กลับไม่มีการดำเนินการดังกล่าว แม้เจ้าหน้าที่จะอ้างว่ามีการชันสูตรภายในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์แล้ว แต่ไม่ปรากฏว่ามีญาติร่วมในกระบวนการชันสูตร

ทั้งนี้ตามมาตรา 150  กำหนดให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ญาติทราบเท่าที่จะทำได้ก่อนมีการชันสูตรดังนั้น กระบวนการพิสูจน์สาเหตุการเสียชีวิตของพ.ต.ต.ปรากรมจึงยังมีข้อสงสัยและทำให้สังคมตกอยู่ในความหวาดกลัวว่าจะถูกทำร้ายจากอำนาจนอกกฎหมายแม้กระทั่งอยู่ระหว่างพิสูจน์การกระทำผิดตามกระบวนการยุติธรรมก็ตาม

4. ตามข้อ 14 แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเรื่องหลักสิทธิผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายว่ามีความผิด ดังนั้นผู้ต้องหาทั้งสามยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด จะปฏิบัติต่อบุคคลดังกล่าวเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดแล้วไม่ได้

องค์กรสิทธิมนุษยชนตามรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้จึงขอเรียกร้องให้

1. ปิดเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี โดยย้ายผู้ต้องขังไปยังเรือนจำอื่นเนื่องจากการคุมขังพลเรือนในพื้นที่ของทหารขาดความโปร่งใส ขาดหลักประกันสิทธิผู้ถูกคุมขังและอาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนประการอื่นได้ อันเข้าข่ายเป็นการควบคุมโดยมิชอบด้วยกฎหมายและละเมิดพันธกรณีกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะข้อ 9 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งห้ามการควบคุมตัวบุคคลโดยอำเภอใจไร้หลักประกันสิทธิ ข้อ 10 เรื่องการปฏิบัติต่อผู้ถูกคุมขังด้วยความมีมนุษยธรรมและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

2. เปิดเผยกระบวนการและผลการชันสูตรพลิกศพของพ.ต.ต.ปรากรม พร้อมทั้งดำเนินกระบวนการไต่สวนการตายตามมาตรา 150 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรม หลักนิติธรรมและเพื่อให้สังคมได้ร่วมตรวจสอบถึงสาเหตุการตายโดยไม่ตกอยู่ในความหวาดกลัว

ด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพ

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
ศูนย์ข้อมูลชุมชน

 Download : ความเห็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต่อกระบวนการยุติธรรม.pdf

คสช.เชิญนักข่าวประชาไทคุย เตือนภาพประกอบรายละเอียดไม่ครบกลัวคนแชร์แต่ภาพ

27 ต.ค. 2558 เวลา 14.00 น. ทวีพร คุ้มเมธา ผู้สื่อข่าวประชาไทพร้อมกองบรรณาธิการ เดินทางเข้ารายงานตัวที่กรมการทหารสื่อสาร กองทัพบก เจ้าหน้าที่จากศูนย์ทนายความฯ จึงติดตามเข้าร่วมฟังการพูดคุยนี้ด้วย นอกจากนี้ทางเจ้าหน้าที่ คสช. ยังได้เชิญตัวแทนจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเข้าร่วมฟังด้วย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ต้องการให้ระมัดระวังในการนำเสนอเกี่ยวกับประเด็นม.112เพราะเป็นประเด็นอ่อนไหวและได้เน้นย้ำว่าที่เชิญมาครั้งนี้เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจให้ตรงกันเท่านั้นไม่ได้เป็นการข่มขู่คุกคามใดๆ อ่านเพิ่มเติม

ส่องหน่วยทหารและศาลทหารในโครงสร้างทหารบกใหม่

ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา หากใครติดตามข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมของหน่วยทหารในพื้นที่ต่างๆ คงจะสังเกตเห็นว่ามีชื่อหน่วยแปลกๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหน้านี้เกิดขึ้น เช่น ในจังหวัดเชียงราย จะพบว่ามีหน่วย “มณฑลทหารบกที่ 37” ทำหน้าที่ดูแลพื้นที่ จากที่ก่อนหน้านี้หน่วยในพื้นที่เชียงรายจะถูกเรียกว่า “จังหวัดทหารบกเชียงราย” หรือในพื้นที่อีสาน จะพบว่าจาก “จังหวัดทหารบกนครพนม” ได้กลายเป็น “มณฑลทหารบกที่ 210” ไปแล้ว เป็นต้น

หน่วยทหารในหลายพื้นที่ยังได้ทยอยเปลี่ยน “ป้ายชื่อ” เดิม เช่นที่จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 21 ก.ย.58 เจ้าหน้าที่ทหารได้จัดพิธีบวงสรวง ขอขมาเจ้าที่และพระเจ้าสุริยพงษ์ เพื่อขออนุญาตรื้อถอนป้ายของหน่วยจังหวัดทหารบกน่านออก เพื่อติดตั้งป้ายใหม่เป็นมณฑลทหารบกที่ 38 อ่านเพิ่มเติม