Public Statement against the invocation of Section 44 of the Constitution of the Kingdom of Thailand (Interim), B.E. 2557 (2014)

Public Statement against the invocation of Section 44 of the

Constitution of the Kingdom of Thailand (Interim), B.E. 2557 (2014)

For immediate release on 30 March 2015

It was reported on 27 March 2015 that Gen. Prayuth Chan-ocha is about to invoke Section 44 of the Constitution of the Kingdom of Thailand (Interim), B.E. 2557 (2014) to replace the Martial Law Act B.E. 2457 (1914). The undersigned human rights organizations would like to express our concerns as follows;

  1. Numerous calls by various organizations have been made to demand a lift of Martial Law in order to provide for the protection of human rights and freedom of the people. Insofar, the invocation of the 1914 Martial Law Act has provided sweeping power to military officials to conduct a search, seizure, compulsory requisition, prohibition and holding a person in custody up to seven days as per Article 15bis. It has also made it impossible to have a higher court review the conviction and sentence made by the Military Court. Such aggravating predicament has resulted in the trampling of the rights and freedom of people.
  2. If Martial Law shall be lifted and replaced by Section 44 of the Constitution of the Kingdom of Thailand (Interim), B.E. 2557 (2014), it will still not solve the above problems that have been ravaging in the past several months. Instead, it will simply do away with a scant guarantee of their rights and freedom since Section 44 provides absolute powers to the Leader of the National Council for Peace and Order (NCPO) over the legislative, the administrative and the judiciary. The order, act or any performance in accordance with that order is deemed to be legal, constitutional and conclusive. In other word, such an act or order or any performance in accordance with that order shall not be held accountable to any agencies, even the judiciary. It will likely elicit an abuse of law and it will eventually induce irrecoverable damage to the people while the perpetrators shall enjoy impunity.
  3. The revocation of Martial Law should be aimed at protecting and enhancing the rights and freedom of people. And since existing laws are sufficient for the purpose of maintaining peace and order, there is no need to invoke either Martial Law or Section 44 of the Interim Constitution.

The undersigned human rights organizations urge that Gen. Prayuth Chan-ocha as Prime Minister and Leader of the National Council for Peace and Order (NCPO) to review an attempt to invoke Section 44 since its use shall undermine the principle of the separation of powers, the rule of law and is a breach to international human rights obligations. It will have led to a lack of checks and balances and encourage arbitrary use of power blowing away a guarantee for rights and freedom. The impact shall be much worse than the use of Martial Law. It by no means serves the call of international community which has been demanding a lift of Martial Law.

With respect in rights and freedom of the people

Thai Lawyers for Human Rights (TLHR)

Community Resource Center (CRC)

Cross-Cultural Foundation (CrCF)

Human Rights Lawyers Association (HRLA)

Human Rights and Development Foundation (HRDF)

PRORIGHTS Foundation

Union for Civil Liberty (UCL)

ENLAW Foundation

แถลงการณ์คัดค้านการบังคับใช้ มาตรา 44 รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557

แถลงการณ์คัดค้านการบังคับใช้ มาตรา 44 รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557

เผยแพร่วันที่ 30 มีนาคม 2558

ตามที่ปรากฏข่าวในวันที่ 27 มีนาคม 2558 ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา  กำลังพิจารณานำมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาบังคับใช้แทนพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457 นั้น องค์กรสิทธิมนุษยชนตามรายชื่อข้างท้ายนี้ขอแสดงความห่วงกังวลถึงแนวคิดดังกล่าวต่อไปนี้

  1. การเรียกร้องให้ยกเลิกประกาศใช้กฎอัยการศึกของหลายองค์กรตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น เพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ให้เกิดการละเมิด เนื่องจากพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457 ได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารอย่างกว้างขวางในการค้น การยึด การเกณฑ์ การห้าม การควบคุมตัวบุคคลได้ไม่เกิน 7 วัน ตามมาตรา 15 ทวิ และทำให้การพิจารณาคดีในศาลทหารไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ซึ่งได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนตลอดมา
  2. หากมีการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกโดยนำมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) มาบังคับใช้ แทนพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457 ก็ไม่อาจถือเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา แต่จะยิ่งทำให้ประชาชนขาดหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมาตราดังกล่าวได้ให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแก่หัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติเหนือฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ โดยให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว นั้นชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด ซึ่งหมายความว่า การกระทำหรือคำสั่ง รวมถึงการปฏิบัติการตามคำสั่งดังกล่าวนั้นไม่อาจถูกตรวจสอบโดยองค์กรใดได้เลยแม้กระทั้งองค์กรตุลาการ อาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหากเกิดความเสียหายขึ้นจากการกระทำดังกล่าวประชาชนก็ไม่อาจได้รับการเยียวยา และไม่นำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิด (Impunity)
  3. โดยที่การยกเลิกกฎอัยการศึกนั้น เป็นไปเพื่อคุ้มครองและปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และประเทศมีกฎหมายที่ให้อำนาจในการควบคุมดุแลความสงบเรียบร้อยอยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องใช้กฎอัยการศึกหรือมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว

องค์กรสิทธิมนุษยชนตามรายชื่อข้างท้ายจึงขอเรียกร้องให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทบทวนการบังคับใช้มาตราดังกล่าว เนื่องจากมาตราดังกล่าวนั้นขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักนิติรัฐ และขัดต่อพันธกรณีด้วยสิทธิมนุษยชน  ซึ่งจะนำมาซึ่งขาดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ และอาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยอำเภอใจ และส่งผลประชาชนขาดหลักประกันต่อสิทธิเสรีภาพอย่างร้ายแรงยิ่งไปกว่าการประกาศใช้กฎอัยการศึก และไม่อาจบรรลุเจตนารมณ์ตามที่ประชาคมโลกเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึกได้

ด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ศูนย์ข้อมูลชุมชน

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม

TLHR-Logo

5 ปัจจัยทำไมประเทศไทยล้มเหลวในการนำตัวเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทำทรมานมาลงโทษ

5 ปัจจัยทำไมประเทศไทยล้มเหลวในการนำตัวเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทำทรมานมาลงโทษ

พูนสุข พูนสุขเจริญ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

22 มีนาคม 2558

ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and Other Degrading Treatment or Punishment –CAT) มาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 อย่างไรก็ตามปัจจุบันประเทศยังไม่มีความผิดฐานการกระทำทรมาน[1]โดยตรง  มีเพียงความพยายามในการร่างกฎหมายเพื่ออนุวัติการตามอนุสัญญาดังกล่าวตลอดระยะเจ็ดปีกว่าที่ผ่านมาทั้งจากหน่วยงานรัฐและภาคประชาสังคมแต่ยังคงไม่สำเร็จ จนกระทั่งมีการร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้สูญหายพ.ศ….ซึ่งกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพกำลังจะผลักดันเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติเร็วๆนี้

เหตุที่ต้องอนุวัติการกฎหมายเป็นร่างพระราชบัญญัติเฉพาะนั้นเนื่องจากการทรมานและการบังคับสูญหายนั้นเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐหรือเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งการกระทำทรมานนั้นต้องเป็นกระทำใดๆต่อโดยเจตนาให้เกิดความเจ็บปวดหรือทุกข์ทรมานอย่างร้ายแรงเพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูล คำรับสารภาพ ข่มขู่หรือการะกระทำใดๆบนพื้นฐานของการเลือกปฏิบัติ และแม้ว่าการทรมานจะเป็นส่วนหนึ่งของความผิดทำร้ายร่างกายซึ่งมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญาอยู่แล้ว แต่การทรมานตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯเรียกร้องโทษที่สูงกว่า เพราะนอกจากการทรมานจะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในชีวิตร่างกายแล้วยังคุ้มครองความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากหากเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย กระทำความผิดเสียเองแล้ว กระบวนการยุติธรรมก็ไม่อาจดำรงความน่าเชื่อถือต่อไปได้ การจะนำตัวบุคคลผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐมาลงโทษนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและจำเป็นต้องมีกลไกที่ต่างออกไปเพื่อเอื้ออำนวยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ที่ผ่านมามีสถิติการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติระหว่างปี 2550 – 2556 จำนวน 134 กรณี[2] สถิติจากมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมมีการร้องเรียนการซ้อมทรมานระหว่างปี 2550 -2554 จำนวน 297 กรณี [3] ปี 2557 จำนวน 58 กรณี[4] อย่างไรก็ตามจากตัวเลขสถิติในการร้องเรียนว่ามีการทรมานเกิดขึ้นนั้นกลับมีเพียงไม่กี่คดีที่มีการฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งโดยการให้ความช่วยเหลือของภาคประชาสังคม และไม่มีคดีใดเลยซึ่งนำไปสู่การฟ้องคดีอาญาและสามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ ผู้เขียนซึ่งติดตามประเด็นการอนุวัติการกฎหมายตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯเห็นว่ามีปัจจัยอย่างน้อย 5 ประการซึ่งอาจส่งผลให้ไม่อาจนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษและก่อให้เกิดวัฒนธรรมการไม่ต้องรับผิด (impunity) ในปัจจุบันดังต่อไปนี้

  1. ความไม่มั่นใจของผู้ร้องเรียนว่าเมื่อร้องเรียนจะได้รับความเป็นธรรม จะปลอดภัยจากการร้องเรียน

แม้สิทธิในชีวิตและร่างกายและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมจะเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานแต่สิทธิดังกล่าวกลับไม่ได้มาด้วยการเพิกเฉย หากประชาชนผู้ถูกละเมิดสิทธิต้องลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของตนเอง ซึ่งในประเด็นปัญหาของการทรมานพบว่าแม้จะมีการร้องเรียนว่าเกิดการทรมานขึ้น แต่ผู้ถูกกระทำกลับไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีซึ่งปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนเห็นว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากกลไกในกระบวนการยุติธรรมที่ทำให้การลุกขึ้นต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธินั้นต้องใช้ต้นทุนทางสังคมเป็นอย่างมาก ทั้งแรงกดดันจากผู้กระทำความผิดที่มักมีพฤติการณ์ในการกลับมาข่มขู่ ซึ่งรวมไปถึงพฤติการณ์การข่มขู่ครอบครัวของผู้เสียหาย ทั้งระยะเวลาและทรัพย์สินที่ต้องใช้เป็นต้นทุนในการเรียกร้องความยุติธรรม และหากพยานหลักฐานไม่ชัดเจนหรือถูกทำให้ไม่ชัดเจนก็อาจมีปัญหาในการฟ้องคดีกลับ ดังเช่น คดีของนายซูดีรือมัน มาและ ผู้ต้องหาคดีปล้นปืนในปี 2547 ซึ่งมีทนายความสมชาย นีละไพจิตรเป็นทนายความก่อนหายตัวไป คดีดังกล่าวมีการร้องเรียนว่ามีการทรมานเกิดขึ้น แต่เมื่อมีพยานหลักฐานไม่เพียงพอจะฟ้องคดี ได้มีการฟ้องคดีข้อหาแจ้งความเท็จและศาลอาญามีคำพิพากษาที่ 2161/2552 ลงโทษจำคุกนาย 2 ปี ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการอุทธรณ์  หรือในกรณีของนายทวีศักดิ์ งิ้วลาย[5]ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ข่มขู่ให้รับสารภาพในคดีฆ่าชิงทรัพย์แต่เมื่อไม่ยอมรับสารภาพ เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินคดีข้อหามียาเสพติดในครอบครองซึ่งศาลพิพากษาสั่งปรับ 10,000 บาท เมื่อนายทวีศักดิ์ไม่มีเงินจึงกักขัง 50 วันแทนค่าปรับ หลังพ้นโทษออกมานายทวีศักดิ์ได้บวชเป็นพระ และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาขอขมาในภายหลัง นายทวีศักดิ์จึงได้เริ่มทำการร้องเรียน อย่างไรก็ตามเมื่อสึกจากความเป็นพระนายทวีศักดิ์ก็ได้ออกจากพื้นที่ไปประกอบอาชีพในจังหวัดอื่นเนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย ปัจจุบันคดียังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของปปท. หรือแม้กระทั่งคดีนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา[6]ซึ่งถูกควบคุมตัวและร้องเรียนว่ามีการซ้อมทรมานเมื่อปี 2551 จำนวน 5 ราย แต่มีผู้ประสงค์จะดำเนินคดีทางแพ่งเพียงสองราย ซึ่งศาลปกครองสงขลาพิพากษาให้ค่าเสียหายเนื่องจากการควบคุมตัวไม่ชอบ 250,000 บาทและค่ารักษาพยาบาล 5,000 บาท ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด

ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้เสียหายว่าจะได้รับความเป็นธรรม หรือกังวลว่าเมื่อมีการร้องเรียนแล้วอาจจะก่อผลกระทบที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ผู้เสียหายส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ดำเนินการใดๆ  ปัญหาในข้อนี้ผู้เขียนเห็นว่าไม่ได้เกิดจากความไม่เข้มแข็งของตัวผู้เสียหายเอง แต่โดยกลไกของกระบวนการยุติธรรมนั้นไม่เอื้ออำนวยให้ผู้เสียหายมากพอและไม่อาจสร้างความมั่นใจต่อผู้เสียหายได้ ผู้เสียหายจึงต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง มีสังคมและชุมชนรอบข้างในการสนับสนุนจึงสามารถที่จะลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของตนเองได้ ทั้งที่ความจริงแล้วกระบวนการยุติธรรมนั้นควรเอื้ออำนวยให้แก่ทุกคน

  1. ปัญหาความทับซ้อนระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้กระทำผิดและเจ้าหน้าที่ผู้ทำการสอบสวน

เนื่องจากตามหลักกฎหมายแล้วเมื่อคดีเกิดในท้องที่ใดก็จำเป็นต้องดำเนินคดีในท้องที่นั้น และเมื่อความผิดการทรมานเป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ การดำเนินคดีนั้นต้องแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เดียวกันแล้วย่อมมีปัญหาในเรื่องความเป็นอิสระและเป็นกลางในการดำเนินคดี ซึ่งหลายครั้งพบว่าเมื่อผู้เสียหายอยู่ระหว่างการถูกควบคุมตัว เจ้าหน้าที่กลับไม่รับเรื่องการมาร้องเรียนของญาติซึ่งการทำร้ายร่างกายนั้นเป็นคดีความผิดต่อแผ่นดินบุคคลใดๆสามารถกล่าวโทษก็ได้ หรือบางกรณีผู้เสียหายไปแจ้งความที่สถานีตำรวจเอง เจ้าหน้าที่ก็อาจบ่ายเบี่ยงไม่รับแจ้งความเช่นกัน

นอกจากนี้คดีทรมานยังถูกส่งไปยังคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพราะถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ทำให้คดียิ่งมีความล่าช้า และผลการไต่สวนที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะพบว่าคดีไม่มีมูล[7]

  1. ปัญหาการพิสูจน์พยานหลักฐานและการควบคุมตัวในสถานที่ลับ

เนื่องจากการกระทำทรมานมักกระทำในสถานที่ปิดลับโดยเฉพาะการควบคุมตัวตามกฎหมายพิเศษ อาทิเช่น พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพระพุทธศักราช 2457  ซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวบุคคลได้ไม่เกินเจ็ดวันหรือพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติดพ.ศ.2519 ซึ่งให้ควบคุมตัวผู้ถูกจับได้ไม่เกินสามวันเป็นต้น ซึ่งการใช้กฎหมายพิเศษดังกล่าวหรือการควบคุมตัวในชั้นสอบสวน ณ สถานีตำรวจก่อนมีการฝากขัง ทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงในการใช้อำนาจไม่ชอบ เกิดการซ้อมทรมานรวมไปถึงการอุ้มหายได้ เนื่องจากขาดกระบวนการตรวจสอบและกระทำในสถานที่ลับไม่มีบุคคลอื่นไม่สามารถเข้าถึงได้ระหว่างระยะเวลาดังกล่าว เมื่อเกิดการซ้อมทรมานการค้นหาพยานหลักฐานก็ยิ่งเป็นไปโดยลำบาก

ในด้านรูปแบบการทรมานซึ่งมีทั้งวิธีการที่ปรากฏร่องรอยของบาดแผลเช่นการทุบตี เตะ ต่อย กระทืบ ช็อตไฟฟ้า ซึ่งหากควบคุมตัวเป็นระยะเวลานานร่องรอยบาดแผลมักสูญหายไปตามระยะเวลา ตัวอย่างเช่นหากถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกและมีการทรมานเกิดขึ้นในสองถึงสามวันแรก เมื่อครบระยะเวลาเจ็ดวันร่องรอยบาดแผลส่วนใหญ่มักจะหายไปแล้ว หรือหากผู้เสียหายถูกควบคุมตัวต่อตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ.2548 หรือถูกดำเนินคดีและฝากขัง การนำตัวผู้ถูกควบคุมตัวมาตรวจสอบและพบแพทย์ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากลำบากมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการทรมานซึ่งไม่ทำให้เกิดบาดแผลแต่สร้างความกลัวและอายให้ผู้ถูกทรมานได้เช่นเดียวกัน เช่น การทำ water boarding การใช้พลาสติกคลุมศีรษะให้ขาดอากาศหายใจ การใช้เข็มทิ่มแทงบริเวณอวัยวะเพศ การให้อยู่ในอากาศที่หนาวจัด การทุบด้วยของแข็งซึ่งพันด้วยผ้า การบังคับให้เปลือย เป็นต้น วิธีการดังกล่าวทำให้การพิสูจน์พยานหลักฐานเป็นไปโดยยากลำบากมากยิ่งขึ้น

  1. คดีอาญาจำเป็นต้องทราบผู้กระทำความผิด

เนื่องจากการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษนั้นในคดีอาญาจำเป็นต้องทราบบุคคลผู้กระทำความผิด แต่ปัญหาที่ผ่านมานอกจากผู้ถูกทรมานจะถูกควบคุมตัวในสถานที่ลับซึ่งบุคคลธรรมดาไม่อาจเข้าถึงได้แล้ว ในระหว่างการสอบสวนมักปิดตาหรือใช้ถุงพลาสติกดำคลุมศีรษะ ซึ่งนอกจากจะให้ผลทางจิตวิทยาแล้วยังทำให้ผู้ถูกทรมานไม่อาจทราบได้ว่ามีใครร่วมกระทำการดังกล่าวบ้าง การต่อสู้คดีทรมานจึงต้องมีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆเพื่อให้ทำการตรวจสอบเสียก่อน

อย่างไรก็ตามความพยายามที่ผ่านมาขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยอาทิเช่น มูลนิธิผสานวัฒนธรรม มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้เรียกร้องสิทธิโดยการฟ้องเป็นคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายต่อหน่วยงานซึ่งทำการควบคุมตัวผู้เสียหาย ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539 ซึ่งหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ คดีส่วนใหญ่ซึ่งฟ้องต่อศาลแพ่งและศาลปกครองจึงเป็นความรับผิดทางแพ่งซึ่งท้ายที่สุดการจ่ายค่าสินไหมต่อผู้เสียหายก็นำมาจากภาษีของประชาชนไม่ได้เป็นการชดใช้จากเจ้าหน้าที่ผู้กระทำความผิดโดยตรง

  1. กรณีผู้กระทำความผิดมีเพียงเจ้าหน้าที่ทหาร ต้องฟ้องคดีต่อศาลทหารซึ่งผู้เสียหายไม่สามารถฟ้องคดีเองได้

หากผู้เสียหายได้ผ่านอุปสรรคที่กล่าวมาสี่ประการข้างต้นแล้ว แต่ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าหน้าที่ทหารและไม่มีพลเรือนร่วมกระทำความผิดด้วย ผู้เสียหายก็ไม่อาจเข้าถึงความยุติธรรมโดยฟ้องคดีต่อศาลได้เอง เนื่องจากคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจศาลทหารซึ่งผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลทหารคืออัยการศาลทหารและผู้อยู่ในเขตอำนาจศาลทหารเท่านั้น[8]

ตัวอย่างคดีซึ่งมีความคืบหน้า และมีพยานหลักฐานชัดเจนถึงการซ้อมทรมานคือคดีอิหม่ามยะผา กาเซ็ง ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจที่ 39 ควบคุมตัวเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2551 และมีการซ้อมทรมาน จนถึงแก่ความตาย ในคดีไต่สวนการตายโดยศาลจังหวัดนราธิวาสมีคำสั่งว่า นายยะผา กาเซ็ง เสียชีวิตเนื่องจากถูกเจ้าหน้าที่ทหารทำร้ายร่างกาย ทำให้กระดูกซี่โครงหัก ลมรั่วในช่องอกด้านขวา ระหว่างที่อยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ทำให้ต่อมาในคดีอาญาภรรยาอิหม่ามได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดนราธิวาสโดยมีจำเลยที่ 1-5 เป็นเจ้าหน้าที่ทหาร และจำเลยที่ 6 เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจฐานความผิดต่อชีวิตและร่างกาย ความผิดต่อเสรีภาพและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ อย่างไรก็ตามในชั้นไต่สวนมูลฟ้องศาลจังหวัดนราธิวาสได้ยกฟ้องจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นพลเรือน[9]   ทำให้เหลือเพียงจำเลยที่1-5 ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร  การฟ้องคดีอาญาจึงจำเป็นต้องฟ้องคดีต่อศาลทหารเท่านั้นซึ่งภรรยาผู้ตายไม่สามารถเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาผู้กระทำความผิดต่อศาลทหารได้ และปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินใดๆทางอาญากับผู้กระทำความผิด

จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นอาจกล่าวได้ว่าโดยสภาพกลไกกฎหมายในปัจจุบันไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้เลย แม้ปัญหาบางประการอาจแก้ได้โดยการผ่านร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้สูญหายพ.ศ…. อาทิเช่น การควบคุมตัวในสถานที่ลับ การระบุตัวพนักงานสอบสวน การย้ายสถานที่คุมขัง การไต่สวนโดยศาลกรณีมีการร้องเรียนว่ามีการทรมาน อย่างไรก็ตามการทรมานก็อาจดำรงอยู่ในสังคม หากประชาชนยังคิดว่าสามารถกระทำการทรมานได้หากเป็นผู้กระทำความผิดจริงหรือหากอยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็น ผู้เขียนเห็นว่าปัญหานี้จะแก้ด้วยทัศนคติของผู้บังคับใช้กฎหมายและสังคม รวมถึงการสร้างระบบการตรวจสอบการควบคุมตัวที่โปร่งใสและใช้นิติวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์การกระทำความผิดมากกว่าให้น้ำหนักที่คำรับสารภาพ

หากสังคมยังเพิกเฉยต่อการทรมานและปล่อยให้ผู้กระทำความผิดลอยนวลต่อไป นอกจากจะเป็นการทำลายสิทธิของผู้ถูกควบคุมตัว ทำลายหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด(presumption of innocence) ยังเป็นการทำลายระบบกระบวนการยุติธรรม ซึ่งหากกระบวนการยุติธรรมถูกทำลายความน่าเชื่อถือและไว้วางใจเสียแล้ว กระบวนการยุติธรรมก็ไม่อาจปกป้องผู้บริสุทธิ์ได้อีก

[1] “การทรมาน” ตามข้อบทที่ 1 อนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ หมายถึง การกระทำใดกระตามโดยเจตนาที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส ไม่ว่าทางกายหรือทางจิตใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศหรือคำรับสารภาพจากบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม การลงโทษบุคคลนั้น สำหรับการกระทำ ซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม กระทำหรือถูกสงสัยว่าได้กระทำ หรือเป็นการข่มขู่ให้กลัวหรือเป็นการบังคับขู่เข็ญบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม หรือเพราะเหตุใดใด บนพื้นฐานของการเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด เมื่อความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานนั้นกระทำโดยการยุยง หรือโดยความยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐหรือของบุคคลอื่นซึ่งกระทำหน้าที่ในตำแห่งทางการ ทั้งนี้ไม่รวมถึงความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานที่เกิดจาก หรือเป็นผลอันปกติจาก หรืออันสืบเนื่องมากจากการลงโทษทั้งปวงที่ชอบด้วยกฎหมาย

[2] http://www.deepsouthwatch.org/sites/default/files/shadow-report-on-catthai-summary_coalitionreport.pdf

[3] http://th.macmuslim.com/?p=660

[4]https://www.facebook.com/macmuslimfoundation/photos/a.307818569270378.86042.148883741830529/834141353304761/?type=1&theater

[5] http://www.moj.go.th/en/moj-k2?view=item&id=28927:%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AF%20%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%20%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C%20%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%93%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A5%20%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%86%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%20%E0%B9%92%20%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%94

[6] http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1418897173

[7] ตัวอย่างคดี http://www.prachatai.com/journal/2011/06/35360

[8]พระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 49 ศาลทหารในเวลาปกติให้อัยการทหารหรือผู้เสียหายซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ ในอํานาจศาลทหารมีอํานาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา แต่ถ้าผู้เสียหายมิได้เป็นบุคคลที่อยู่ในอํานาจศาล ทหารแล้ว ต้องมอบคดีให้อัยการทหารเป็นโจทก์

ศาลทหารในเวลาไม่ปกติหรือศาลอาญาศึก หรือศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีแทน ศาลอาญาศึกตามความในมาตรา 40 และมาตรา 43 ให้อัยการทหารเท่านั้นมีอํานาจเป็นโจทก์ ผู้เสียหายจะเป็นบุคคลที่อยู่ในอํานาจศาลทหารหรือไม่ก็ตาม ต้องมอบคดีให้อัยการทหารเป็นโจทก์

[9] http://www.deepsouthwatch.org/node/935

By Thai Lawyers for Human Rights เขียนใน Knowledge

Press Statement The alleged torture of Criminal Court bomb suspects

Press Statement

The alleged torture of Criminal Court bomb suspects

For immediate release on 21 March 2015

The public statement issued by the Thai Lawyers for Human Rights (TLHR) on 17 March 2015 has elicited gross denials from the authorities. Herewith, TLHR would like to explain to the public that Section 4 of the Constitution of the Kingdom of Thailand (Interim), B.E. 2557 (2014) provides for rights and liberties as previously held and as per the international obligations bound by Thailand. The abuse of suspects to extract information committed by state officials is definitely a breach to the UN Convention Against Torture and  Other Cruel Inhuman or Degraded Treatment or Punishment (CAT) to which Thailand is a state party and is obliged to follow including among others;

  1. When a complaint of torture arises, the state is obliged to carry out a prompt and impartial investigation.[1]
  2. The state shall ensure that the person who alleges she or he has been subjected to torture has the right to complain and has his case promptly and impartially examined. Steps shall be taken to ensure that the complainant and witnesses are protected against all ill-treatment or intimidation.[2]

Therefore, upon receiving the complaints and given the traces of torture were still visible on the bodies of some suspects, TLHR has come out to demand a prompt and impartial investigation by the state and the examination of independent doctor since the wounds may soon disappear. The complaints of the suspects and the response of TLHR have been made in good faith to ensure a fair investigation. Such a call for examination is therefore beneficial to all parties concerned and in response to the curiosity of society. It is not intended to fabricate a story to cause any damage to the authorities.

TLHR asserts again that the state is obliged to investigate and protect the complainants. Any attempt contrary to that including the threatening of a lawsuit against the complainants who have acted in good faith shall further intimidate the suspects making them too scared to seek any legal remedies. This will lead to a lack of transparency and sincerity to investigate an alleged act of torture and to bring any perpetrators to justice. In addition, such an act is a breach to the obligations the state has toward CAT. It will simply invalidate any commitment the state has made toward the total eradication of torture in Thailand.

With respect in rights and liberties

Thai Lawyers for Human Rights (TLHR)

[1] Article 12 (CAT): Each State Party shall ensure that its competent authorities proceed to a prompt and impartial investigation, wherever there is reasonable ground to believe that an act of torture has been committed in any territory under its jurisdiction.

[2] Article 13 (CAT): Each State Party shall ensure that any individual who alleges he has been subjected to torture in any territory under its jurisdiction has the right to complain to, and to have his case promptly and impartially examined by, its competent authorities. Steps shall be taken to ensure that the complainant and witnesses are protected against all ill-treatment or intimidation as a consequence of his complaint or any evidence given.

TLHR-Logo

แถลงการณ์ชี้แจงการร้องเรียนว่ามีการทรมานคดีผู้ต้องหาปาระเบิด

แถลงการณ์ชี้แจงการร้องเรียนว่ามีการทรมานคดีผู้ต้องหาปาระเบิด

เผยแพร่วันที่ 21 มีนาคม 2558

ตามที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ออกแถลงการณ์เรื่อง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม  2558  ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐหลายรายได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่มีการกระทำทรมานเกิดขึ้นนั้น ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนขอชี้แจงต่อสาธารณชนว่ามาตรา 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) 2557 ได้รับรองสิทธิเสรีภาพที่ชนชาวไทยเคยได้รับความคุ้มครองและตามพันธกรณีด้วยสิทธิมนุษยชน  ซึ่งการทำร้ายผู้ต้องหาเพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่รัฐนั้นเป็นการกระทำความผิดตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and  Other Cruel Inhuman or Degradind Treatment or Punishment – CAT) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม ดังต่อไปนี้

  1. เมื่อมีการร้องเรียนว่ามีการทรมานเกิดขึ้น รัฐมีหน้าที่ในการสอบสวนโดยพลันโดยเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจและปราศจากความลำเอียง[1]
  2. รัฐต้องประกันว่าบุคคลซึ่งอ้างว่าถูกทรมานมีสิทธิในการร้องทุกข์ และทำให้กรณีของตนได้รับการตรวจสอบโดยพลันและปราศจากลำเอียง ในการดำเนินการรัฐต้องประกันว่าผู้ร้องเรียนและพยานจะได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากการประทุษร้ายหรือข่มขู่ให้หวาดกลัว[2]

ดังนั้นเมื่อศูนย์ทนายความได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวทั้งยังพอปรากฏร่องรอยการทำร้ายในผู้ต้องหาบางราย จึงขอเรียกร้องให้รัฐซึ่งมีหน้าที่เข้ามาสอบสวนโดยพลันโดยเจ้าหน้าที่และแพทย์ซึ่งเป็นอิสระและเป็นกลาง เนื่องจากหากเนิ่นช้าไปก็จะไม่ปรากฏบาดแผลอีก การร้องเรียนของผู้ต้องหาและของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนนั้นกระทำโดยสุจริตเพื่อให้ได้รับการตรวจสอบที่เป็นธรรม การเรียกร้องให้ตรวจสอบจึงเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายและจะสามารถตอบข้อสงสัยในสังคม ไม่ได้เป็นการกล่าวหาหรือกุข่าวเพื่อสร้างความเสียหายให้แก่เจ้าหน้าที่แต่อย่างใด

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนขอยืนยันว่ารัฐมีหน้าที่ในการสอบสวนและคุ้มครองผู้ที่ร้องเรียน การปฏิบัติในทางตรงกันข้ามโดยการข่มขู่ว่าจะมีการดำเนินคดีกลับต่อผู้ร้องเรียนโดยสุจริตจะยิ่งทำให้ผู้ต้องหาซึ่งมีความหวาดกลัวอยู่แล้วไม่กล้าดำเนินการทางกฎหมาย  ทำให้ขาดความโปร่งใสและจริงใจในการตรวจสอบการทรมานไม่สามารถนำมาสู่การลงโทษผู้กระทำความผิด ทั้งยังละเมิดต่อพันธกรณีตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานซึ่งรัฐได้แสดงเจตนามุ่งมั่นที่จะทำให้การทรมานหมดไปจากประเทศไทย

ด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพ

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

[1] ข้อ 12 ของอนุสัญญา CAT – ให้รัฐภาคีแต่ละรัฐกระกันว่า เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจของตนดำเนินการสอบสวนโดยพลันและโดยปราศจากความลำเอียง เมื่อใดก็ตามที่มีมูลเหตุสมผลที่จะเชื่อได้ว่า ได้มีการกระทำการทรมานเกิดขึ้นในอาณาเขตใดที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของตน

[2] ข้อ 13 ของอนุสัญญา CAT – ให้รัฐภาคีแต่ละรัฐประกันว่า ปัจเจกบุคคลที่อ้างว่าตนถูกทรมานในอาณาเขตใดก็ตามที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของรัฐนั้น มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจของรัฐนั้น และที่จะทำให้กรณีของตนได้รับการพิจารณาตรวจสอบโดยพลัน และโดยปราศจากความลำเอียงโดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจของรัฐนั้น ให้ดำเนินขั้นตอนทั้งปวงเพื่อประกันว่า ผู้ร้องทุกข์และพยานไดรับความคุ้มครองให้พ้นจากการประทุษร้ายหรือการข่มขู่ให้หวาดกลัวทั้งปวงอันเป็นผลจากการร้องทุกข์หรือการให้พยานหลักฐานของบุคคลนั้น

TLHR-Logo