บทวิเคราะห์ 2 ปีรัฐประหาร: “พรางอำนาจปืนในรูปกระบวนการยุติธรรม”

 

 

เกริ่นนำ

“มาตรา 1 อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” 

พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 

ประกาศใช้ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2475

แตกต่างโดยสิ้นเชิงจากการยึดอำนาจและเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยคณะราษฎร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นการประกาศหลักการสำคัญว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนและหลัก 6 ประการ ที่สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคเป็นหลักการสำคัญ คณะรัฐประหารในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 กลับรวบอำนาจอธิปไตย อันได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ไว้ในมือของ คสช. โดยเบ็ดเสร็จพร้อมยกเว้นความรับผิดตนเองไว้โดยบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 คสช. ประกาศตนเองเป็นรัฐฏาธิปัตย์ หรือผู้ถือครองอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศทั้งที่ไม่ได้มีฐานที่มาใด ๆจากปวงชน และสถาปนาระบบอำนาจ คสช. ที่ไม่เปิดให้ประชาชนสามารถโต้แย้ง คัดค้านหรือได้รับการเยียวยาจากการใช้อำนาจของรัฐ แม้แต่ศาลเองก็มีคำวินิจฉัยในลักษณะยอมรับอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ดังกล่าวในหลายคดี จนกล่าวได้ว่าอำนาจอธิปไตยและหลักประกันสิทธิเสรีภาพของปวงชนถูกลิดรอนไปทั้งหมดตลอดสองปีเศษที่ผ่านมา อ่านเพิ่มเติม

ความคืบหน้าของคดีประจำเดือนเมษายน และนัดพิจารณาคดีประจำเดือนพฤษภาคม 2559

ดูไฟล์ตารางสรุปความคืบหน้าคดีและนัดพิจารณาคดีได้ที่ ความคืบหน้าของคดีประจำเดือนเมษายน และนัดพิจารณาคดีประจำเดือนพฤษภาคม 2559

 

ความคืบหน้าคดีประจำเดือนมีนาคม 2559
ในเดือนเมษายน 2559 มีความคืบหน้าของคดีที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ความช่วยเหลือจำนวน 12 คดี คดีที่น่าสนใจ ได้แก่ นัดสืบพยาน คดีเตรียมก่อเหตุระเบิดศาลอาญา พล.ต.วิจารณ์ จดแตง ฝ่ายกฎหมาย คสช. ผู้กล่าวหาและเป็นผู้ร่วมสอบสวนจำเลยทั้ง 6 คนในคดีนี้ แต่เนื่องจากสืบไม่จบจึงเลื่อนสืบอีกครั้งเป็นวันที่ 3พ.ค.2559 ทั้งนี้นัดล่าสุดนี้ก็ได้เลื่อนไปอีกครั้งเป็นวันที่ 3มิ.ย.2559เนื่องจากพล.ต.วิจารณ์ติดราชการ

คดีเกี่ยวกับอาวุธอีก 1 คดีที่ขณะนี้มีคำพิพากษาแล้วคือ คดีครอบครองวัตถุระเบิด RGD 5 ที่จำเลยที่ 1 ขอเปลี่ยนคำให้การเป็นรับสารภาพ ศาลจึงมีพิพากษาลงโทษจำคุก 10 ปี แต่เนื่องจากรับสารภาพ จึงลดโทษเหลือ 5 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 และ 3 ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวและให้โจทก์มายื่นฟ้องใหม่ภายใน 15 วัน

ต่อมากรณี สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาคประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฟ้องศาลปกครองฟ้องเพิกถอนคำสั่งลงโทษให้ไล่ออกจากราชการ ที่อธิการบดี มธ. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2ออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งไล่สมศักดิ์ออกจากราชการ เนื่องจากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีพฤติการณ์ที่จงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ

คดีที่เกี่ยวกับมาตรา 116 ในเดือนที่ผ่านมามีหนึ่งคดีที่อัยการทหารสั่งไม่ฟ้องแต่ได้ส่งสำนวนคดีกลับให้พนักงานสอบสวนส่งให้อัยการศาลพลเรือนดำเนินการต่อคือ คดีของนางแจ่ม (นามสมมุติ) กรณีโพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับข่าวการทุจริตคอรัปชั่นการสร้างอุทยานราชภักดิ์ฯ โดยพาดพิงถึงบุคคลในรัฐบาล โดยอัยการทหารเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจพิพากษาของศาลทหาร พนักงานสอบสวนได้นัดส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนสอบสวน ต่อพนักงานอัยการศาลแขวงพระโขนงในวันที่ 4 พฤษภาคม 2559 เวลา ซึ่งคดีนี้มีลักษณะการกระทำคล้ายคดีของรินดา พรศิริพิทักษ์ ที่ศาลทหารเห็นว่าเป็นคดีหมิ่นประมาทฯ จึงไม่อยู่ในการพิจารณาของศาลทหาร

คดี 112 ในเดือนที่ผ่านมา ได้แก่ คดีของ เสาร์ (สงวนนามสกุล) ที่ถูกดำเนินคดีจากการยื่นคำร้องถึงศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบันฯ ซึ่งอัยการทหารมีความเห็นสั่งฟ้องแต่ศาลอนุยาตให้ประกันตัวในวงเงิน 400,000บาท ความสำคัญของคดีนี้คือจิตแพทย์สถาบันกัลยาราชนครินทร์ มีความเห็นว่าจำเลยมีอาการของโรคจิตเภต

คดีที่เกี่ยวกับการชุมนุมอัยการทหารมีความเห็นสั่งฟ้อง นักกิจกรรมที่ทำกิจกรรม “นั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ส่องแสงหากลโกง” ทั้ง 6 คน ในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 3/58 ข้อ 12 ศาลทหารได้อนญาตให้ประกันตัวทั้ง 6 คน

นัดพิจารณาคดีประจำเดือนเมษายน 2559
ในเดือนพฤษภาคมนี้ มีนัดหมายคดีต่างๆ ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจำนวน 11 คดี ที่สำคัญ ได้แก่ นัดสืบพยานคดี 112ทั้งหมด 3 คดี คดีแรกจือเซงหรือสมอล บัณฑิตอาณียา นักเขียนอิสระถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จำเลยได้แสดงความคิดเห็นการเมืองในที่ประชุมพรรคการเมือง ก่อนหน้านี้จือเซงเคยถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 มาก่อนโดยคดีได้ขึ้นสู่ถึงศาลฎีกามีคำพิพากษารอลงอาญา เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ป่วยจิตเวช ศาลนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2559 เวลา 8.30 น.ศาลทหารกรุงเทพ

คดีที่สอง สิรภพ กรณ์อรุษ หรือรุ่งศิลา ถูกดำเนินคดีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากโพสต์บทกลอนและบทความที่เขาเขียนทางโซเชียลมีเดีย โดยนัดสืบพยานโจทก์ วันที่ 11 พฤษภาคม 2559 เวลา 8.30 น. ศาลทหารกรุงเทพ และกรณีของสิรภพยังมีนัดพยานโจทก์ คดีฝ่าฝืนเรียกรายงานตัวใน วันที่ 23 พฤษภาคม 2559เวลา 8.30 น. ศาลทหารกรุงเทพอีกด้วย และนัดสืบพยานคดี 112คดีที่สามคือคดีของ อัญชัญ (สงวนนามสกุล) นัดสืบพยานโจทก์วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 เวลา 8.30 น. ศาลทหารกรุงเทพ ซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวกับการแชร์คลิป “บรรพต” อีกหนึ่งคดี

นอกจากนี้ยังมีคดี 112ที่ศาลนัดสอบคำให้การอีก1 คดี คือ ประจักษ์ชัย (สงวนนามสกุล) โดยศาลทหารนัดสอบคำให้การ วันที่ 30 พฤษภาคม 2559 เวลา 8.30 น. ซึ่งก่อนหน้านี้ศาลได้ส่งตัวไปตรวจที่สถาบันกัลยาราชนครินทร์ แพทย์มีความเห็นว่าจำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีให้จำเลยไปรักษา แต่ศาลได้มีความเห็นนำคดีกลับมาพิจารณาอีกครั้งเนื่องจากจิตแพทย์ลงความเห็นว่าจำเลยมีอาการวิกลจริตจริง แต่สามารถต่อสู้คดีได้ คดีนี้ศาลอนุญาตให้ประกันตัว

คดีที่เกี่ยวกับเหตุรุนแรงทางการเมืองก่อนการรัฐประหารแต่มีการจับกุมดำเนินคดีในภายหลังซึ่งเป็นคดีในศาลพลเรือนคือ คดีเหตุระเบิดที่ถนนบรรทัดทองในช่วงการชุมนุมของ กปปส. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานโจทก์ วันที่ 10-12 , 17-18 , 24 พฤษภาคม 2559 เวลา9.00 น.เป็นต้นไป นัดสืบพยานจำเลยวันที่25,27 พฤษภาคม 2559 เวลา 9.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งจำเลยในคดีนี้ยังถูกดำเนินคดีข้อหาครอบครองวัตถุระเบิด RGD5 ที่ศาลทหารกรุงเทพด้วย

เปิดคำฟ้องอัยการศาลทหารคดีหมิ่นสุนัขทรงเลี้ยง แค่กดไลค์แฟนเพจก็ผิด ม.112

4 มี.ค. 2559 อัยการศาลทหารยื่นฟ้องนายฐนกร (สงวนนามสกุล) ต่อศาลทหารกรุงเทพ  ในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112, 116 และม.14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 ก่อนศาลอนุญาตให้ประกันตัว ด้วยหลักทรัพย์ 5 แสนบาท และกำหนดเงื่อนไขห้ามออกนอกประเทศ

ตามคำฟ้องของอัยการระบุว่า การกระทำความผิดของฐนกรแบ่งเป็น 3 การกระทำ ดังนี้

1)  จำเลยกดถูกใจแฟนเพจ “ยืนหยัด ปรัชญา” ที่โพสต์ข้อความและรูปภาพเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชนุภาพ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112  และเป็นการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จอันเป็นความผิดเกี่ยวความมั่นคงในราชอาณาจักร

2)  จำเลยได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กของจำเลย เกี่ยวกับสุนัขทรงเลี้ยง  ข้อความดังกล่าวเป็นไปในลักษณะประชดประชัน อันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเป็นการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวความมั่นคงในราชอาณาจักร

3)  จำเลยได้ใช้เฟซบุ๊กของจำเลย โพสต์ภาพบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ โดยมีข้อความประกอบภาพสรุปความได้ว่าบุคคลตามภาพมีความเกี่ยวข้องกับการทุจริตอุทยานราชภักดิ์ เป็นการลดทอนความน่าเชื่อถือของบุคคลเหล่านั้นต่อประชาชนทั่วไป อันเป็นความเท็จ เพราะความจริงไม่ปรากฎหลักฐานการทุจริตแต่อย่างใด ทำให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ และเป็นการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงในราชอาณาจักร อ่านเพิ่มเติม

กลุ่มส่องโกงราชภักดิ์แจ้งความกลับ ผบ.พล.ร.9 กับพวก ฐานกระทำข่มขืนใจ หน่วงเหนี่ยวกักขังให้ปราศจากเสรีภาพ

‘จ่านิว’ และผู้ถูกจับกุมจากกิจกรรมนั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ ส่องแสงหากลโกง 3 คน เข้าให้การเพิ่มเติมที่กองบังคับการปราบปรามกล่าวหา พล.ต.ธรรมนูญ วิถี กับพวกรวม 6 คน ว่าเป็นผู้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าจับกุมเขากับพวกที่สถานีรถไฟบ้านโป่ก่อนนำตัวไปควบคุมทธมณฑล อันเป็นการกระทำข่มขืนใจ หน่วงเหนี่ยวกักขังให้ปราศจากเสรีภาพ

7 มี.ค. 2559 นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ นายกิตติธัช สุมาลย์นพและนายวิศรุต อนุกุล  เข้าให้การเพิ่มเติมต่อ ร.ต.อ.วิชิต สันติสิทธิมนธร รองสารวัตร(สอบสวน)กองกำกับการ5 กองบังคับการปราบปราม เป็นการให้ข้อเท็จจริงประกอบการแจ้งความเพิ่มเติม หลังวันที่ 6 มี.ค. 2559 จ่านิวและพวกได้เข้าแจ้งความให้ดำเนินคดีต่อ พล.ต.ธรรมนูญ วิถี ผบ.กองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกรณีเจ้าหน้าที่กระทำการข่มขืนใจ กักขังหน่วงเหนี่ยวทำให้ปราศจากเสรีภาพ

13.00 น. นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ ให้การว่า เมื่อวัน 7 ธ.ค. 2558 ตนนั่งรถไฟโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการท่องเที่ยวและตรวจสอบการทุจริตในโครงการอุทยานราชภักดิ์ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบทุจริตในโครงการต่างๆของรัฐได้ จึงได้ประกาศเชิญบุคคลที่สนใจนั่งรถไฟไปด้วยผ่านเฟซบุ๊กของตนระหว่างการเดินทางได้ถูกเจ้าหน้าที่ขัดขวางและเข้าจับกุมที่สถานีรถไฟบ้านโป่งโดยไม่แจ้งสิทธิในการเข้าจับกุม และถูกควบคุมตัวที่หน่วยทหารภายในพุทธมณฑล

สิรวิชญ์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติต่อตนอย่างรุนแรงในระหว่างการจับกุมและควบคุมตัวไปยังพุทธมณฑล ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ พล.ต.ธรรมนูญ วิถี และเจ้าหน้าที่ตามที่ตนได้กล่าวหา

ด้านนายวิศรุต อนุกุลการย์ ให้การว่า เมื่อวัน 7 ธ.ค. 2558 ตนได้เข้าร่วมกิจกรรมนั่งรถไฟไปราชภักดิ์และเดินทางไปด้วยตนเอง ซึ่งทราบว่าไม่มีการห้ามเดินทาง และเป็นสิทธิที่จะเดินทางไปได้ การเดินทางครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบการทุจริตโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ตามที่เป็นข่าวในสื่อมวลชนแต่ขณะที่นั่งรถไฟมาถึงสถานีบ้านโป่ง เจ้าหน้าที่เข้ามาบอกให้ยุติการเดินทาง แต่ตนและพวกไม่ยอมจึงถูกควบคุมตัวไปที่ห้องประชุมของสถานีรถไฟบ้านโป่งก่อนถูกนำตัวไปยังหน่วยทหารที่พุทธมณฑลวิศรุตจำได้ว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงและเจ้าหน้าที่ตำรวจชายเข้ามาพูดคุยด้วยที่พุทธมณฑลเพื่อสอบถามว่าชุมนุมกันอย่างไรมากันกี่คนทราบข่าวจากไหน แต่ไม่ได้แจ้งสิทธิใดๆให้ตนทราบ ก่อนนำเอกสารบางอย่างมาและยืนยันให้ลงชื่อ ซึ่งตนยอมลงชื่อแต่ขีดฆ่าในภายหลัง ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ พล.ต.ธรรมนูญ วิถี และเจ้าหน้าที่ตามที่ตนได้กล่าวหา

ต่อมา 16.30 น. ‘แชมป์ 1984’ นายกิตติธัช สุมาลย์นพ ให้การว่าตนเห็นว่าการร่วมกิจกรรมนั่งรถไฟไปราชภักดิ์ เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2558 ไม่มีลักษณะเป็นกิจกรรมทางการเมือง เพราะระหว่างทางนายสิรวิชญ์ได้บรรยายถึงของดีและสถานที่สำคัญของแต่ละท้องที่ตามทางที่รถไฟผ่านมาตลอดทางตนจึงถือโอกาสมาเที่ยวและตรวจสอบสอบทุจริตของโครงการราชภักดิ์ไปในตัว  เนื่องจากโครงการดังกล่าวสร้างมาจากเงินภาษีประชาชนที่ประชาชนควรมีสิทธิตรวจสอบได้  เมื่อรถไฟมาถึงสถานีบ้านโป่ง พล.ต.ธรรมนูญ วิถี เป็นผู้สั่งการที่สถานีรถไฟบ้านโป่งและออกคำสั่งให้จับกุมผู้ร่วมกิจกรรม ก่อนสั่งให้ทหารพาตนออกจากตู้รถไฟไปขังไว้ที่ห้องประชุมสถานีรถไฟบ้านโป่งโดยอ้างว่าเกรงจะมีมวลชนฝั่งตรงข้ามจะเข้ามาทำร้าย แต่ตนสังเกตว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้จับกุมมวลชนฝั่งตรงข้าม จึงเข้าใจว่าเป็นข้ออ้างของเจ้าหน้าที่เท่านั้น

‘แชมป์ 1984’ ให้การอีกว่า ระหว่างการจับกุม เจ้าหน้าที่ไม่ได้แจ้งสิทธิ และนำตัวไปกักขังที่ค่ายพุทธมณฑล ซึ่งมี พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ เป็นผู้คุมสถานการณ์ที่พุทธมณฑล และออกคำสั่งให้ทหารควบคุมตัวแชมป์ไว้ในห้องเพียงคนเดียว โดยไม่ให้ทนายเข้าพบกว่า 3 ชั่วโมง

นอกจากนี้กิตติธัชได้มอบภาพถ่ายวันเกิดเหตุ ขณะถูกเจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจและทหารจับกุมเป็นหลักฐานเพิ่มเติม พร้อมหลักฐานจากหนังสือพิมพ์ วันที่ 7 ธ.ค. 2558 ยืนยันว่า โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีอนุญาตให้ตนกับพวกเดินทางไปอุทยานราชภักดิ์ได้

สิรวิชญ์กับพวก ให้การต่ออีกว่า หากพบหลักฐานเพื่มเติม จะนำมาพบพนักงานสอบสวน ภายใน 1 เดือน หลังจากเสร็จสิ้นการให้ปากคำเพิ่มเติม พนักงานสอบสวนให้นายสิรวิชญ์กับพวกตรวจสอบความถูกต้อง และลงชื่อในเอกสารให้การเพิ่มเติม  ก่อนจะรวบรวมสำนวนเพื่อยื่นต่อผู้บังคับบัญชาต่อไป

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 59 ทั้งสามคนได้แจ้งความให้ดำเนินคดีกับ พล.ต.ธรรมนูญ วิถี ผบ.พล.ร.9, พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ เสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชาฝ่ายกฎหมาย คสช., นายสุรพล แสวงศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี, นายธวัช สุระบาล รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี, นายสมยศ พุ่มน้อย นายอำเภอบ้านโป่ง, พ.ต.อ.ไพโรจน์ คุ้มภัย ผกก.สภ.บ้านโป่งและพวกซึ่งยังไม่ทราบชื่อและจำนวน ในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย และข่มขืนใจ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 และมาตรา 310 โดยมี ร.ต.อ.วิชิต สันติสิทธิมนธร เป็นผู้รับแจ้งความและลงบันทึกประจำวัน โดยมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบติดตามมาสังเกตการณ์การแจ้งความดำเนินคดีด้วย

ด้านสิรวิชญ์เปิดเผยว่า สาเหตุที่มาร้องทุกข์ที่กองบังคับการปราบปราม เนื่องจากผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่ในท้องที่เกิดเหตุหรือสถานที่ที่การกระทำความผิดเกิดขึ้น จึงเกรงว่าหากร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ อาจไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งกองบังคับการปราบปรามยังมีอำนาจสอบสวนการกระทำความผิดทางอาญาที่เกิดขึ้นทั่วราชอาณาจักรอีกด้วย

อัยการศาลทหารกรุงเทพเลื่อนฟังคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง ‘จ่านิว สิรวิชญ์’ ไป 9 มีนา

วันนี้ ‘จ่านิว สิรวิชญ์’ เข้ารายงานตัวตามนัดส่งตัวให้อัยการศาลทหาร อัยการเลื่อนนัดฟังคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องออกไปเป็นวันที่ 9 มี.ค.59 อ้างเหตุต้องใช้เวลาตรวจสำนวน

15 ก.พ.59  เวลาประมาณ 9.30 น.  นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว  พร้อมด้วย ทนายความ และนายประกัน เข้าพบพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจรถไฟธนบุรี พนักงานสอบสวนได้ให้นายสิรวิชญ์ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานว่าได้มารายงานตัวตามนัดส่งตัว

10.00 น. พนักงานสอบสวนได้นำตัวนายสิรวิชญ์มายังศาลทหารกรุงเทพ  เพื่อส่งตัวให้อัยการศาลทหารมีคำสั่งต่อไป แต่ปรากฎว่าอัยการศาลทหาร ได้แจ้งให้นายสิรวิชญ์มาฟังคำสั่งอีกครั้งในวันที่ 9 มี.ค.59 โดยอัยการทหารให้เหตุผลว่า เนื่องจากยังไม่อาจมีคำสั่งทางคดีได้ และต้องใช้เวลาในการตรวจพิจารณาสำนวนตามสมควร และปล่อยตัวกลับในเวลาต่อมา อ่านเพิ่มเติม