สั่งฟ้องคดีผู้มีอาการทางจิตยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา ผิด 112

20 เม.ย. 2558 อัยการศาลทหารกรุงเทพสั่งฟ้องคดีนายเสาร์ จำเลยที่มีอาการทางจิต ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยใช้หลักประกันวงเงิน 400,000 บาท

คำฟ้องระบุว่า เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2558 เสาร์ได้เขียนข้อความลงในใบคำร้องของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีหมายเลขดำที่ อม. 14/2549 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 1/2553 ระหว่างอัยการสูงสุด โจทก์ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำเลย โดยมีเนื้อหาทำนองว่าสามารถติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผ่านสื่อได้ ซึ่งเสาร์ได้ยื่นใบคำร้องนี้ให้แก่นิติกรชำนาญการประจำศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112

อ่านเพิ่มเติม

ศาลทหารมีคำสั่งพิจารณาคดียื่นคำร้องหมิ่นสถาบันฯ ต่อ หลังจิตแพทย์มีความเห็นจำเลยสู้คดีได้แล้ว

ศาลทหารนัดไต่สวนรายงานผลการตรวจอาการทางจิตว่าสู้คดีได้หรือไม่ของจำเลยคดีเขียนหนังสือร้องเรียนที่มีข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ถึงนายกฯ ที่ ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานกพ.เมื่อวันที่ 19 ก.พ.2558 แพทย์มีความเห็นจำเลยเข้าข่ายวิกลจริตจริง แต่อาการดีขึ้นแล้วสามารถสู้คดีได้ ศาลเห็นตามแพทย์จึงนัดสอบคำให้การในวันที่30 พ.ค.2559

29 มี.ค.2559 ศาลทหารนัดไต่สวนรายงานผลการตรวจวินิจฉัยและประเมินความสามารถในการต่อสู้คดีของประจักษ์ชัย(สงวนนามสกุล)จำเลยคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์จากการเขียนหนังสือร้องเรียนถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยยื่นหนังสือให้กับทหารที่ประจำอยู่ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

นัดนี้ศาลทหารได้เรียกจิตแพทย์เจ้าของไข้ซึ่งเป็นแพทย์ชำนาญการพิเศษ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ มาเบิกความถึงรายละเอียดในรายงานตรวจวินิฉัยฯเมื่อวันที่ 4 ก.พ.2559 ซึ่งเป็นการตรวจอาการทางจิตของประจักษ์ชัยครั้งล่าสุด

แพทย์ได้เบิกความตอบคำถามศาลว่า ศาลทหารได้ส่งตัวนายประจักษ์ชัยให้ทำการตรวจรักษาตั้งแต่วันที่ 6 ก.ค.2558 และได้ทำการตรวจรักษาในฐานะผู้ป่วยในตั้งแต่วันที่ 22-28 ในเดือนเดียวกัน และหลังจากนั้นยังได้ทำการตรวจรักษาแบบผู้ป่วยนอกอีกหลายครั้ง กระบวนการตรวจของสถาบันกัลยาณ์ฯ จะมีคณะกรรมการวินิจฉัย 5 ฝ่าย คือจิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก นักกิจกรรมบำบัดและนักสังคมสงเคราะห์ แต่ได้ทำการตรวจประเมินอาการครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ส.ค.2558

แพทย์เบิกความถึงการตรวจอาการครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 4 ก.พ.ว่านายประจักษ์ชัยยังมีอาการหลงผิดอยู่ โดยอาการหลงผิดนี้คือการทำผู้ป่วยมีความเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้แม้ว่าจะมีบุคคลอื่นหรือหลักฐานมาแสดง

นายประจักษ์ชัยขณะนี้ได้รับยาต้านโรคจิตอยู่และสามารถรักษาหายได้โดยต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะหายเมื่อไหร่ แต่ขณะนี้นายประจักษ์ชัยมีอาการดีขึ้นไม่มีอาการหูแว่ว สามารถควบคุมตนเองได้ และสามารถใช้ชีวิตขั้นพื้นฐานเองได้ และในขณะนี้สามารถรับรู้ขั้นตอนคดี เล่าเรื่องเกี่ยวกับคดี และสามารถต่อสู้คดีได้แล้ว

ศาลได้อนุญาตให้ทนายความจำเลยถามพยานเพิ่มเติม แพทย์เบิกความว่าตั้งแต่หลังการตรวจอาการเมื่อวันที่ 4 ก.พ.แล้วไม่ได้ทำการตรวจอีกจนกระทั่งถึงวันนี้จึงไม่ทราบว่าขณะนี้อาการของนายประจักษ์ชัยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้วัดว่าสู้คดีได้หรือไม่ตามที่ได้ประเมินไว้เมื่อวันที่ 4 ก.พ.2559

ทนายความได้ถามพยานว่าคนที่มีอาการหลงผิดต้องหลงผิดในทุกเรื่องหรือไม่ แพทย์ตอบว่าอาการหลงผิดนั้นไม่ต้องเป็นกับทุกเรื่องแต่เมื่อหลงผิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วก็จะไม่เปลี่ยนแปลงความเชื่อ ส่วนอาการหลงผิดของประจักษ์ชัย เขายังคงมีความเชื่ออยู่เหมือนเดิมตามที่ได้ทำการประเมินอาการครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ส.ค.2558 ซึ่งตามรายงานผลการตรวจวินิจฉัยในครั้งนั้นคือผู้ป่วยมีอาการทางจิตเรื้อรัง มีอาการหลงผิด โดยผู้เป็นโรคจิตเภตนี้เข้าข่ายเป็นผู้วิกลจริต

ภายหลังการไต่สวนศาลได้เรียกโจทก์และจำเลยขึ้นถาม โจทก์แถลงกว่าขอให้ศาลยกคดีนี้ขึ้นมาพิจารณาต่อ แต่ทางจำเลยได้มีคำร้องให้ขอเลื่อนการฟั่งคำสั่งรายงานผลการตรวจวินิจฉัยและประเมินความสามารถในการสู้คดีออกไปเนื่องจากเห็นว่าผลการตรวจอาการทางจิตของนายประจักษ์ชัยนั้นไม่ได้เป็นปัจจุบันและจำเลยยังป่วยด้วยโรคตับแข็งอีกด้วย จึงขอโอกาสได้เรียบเรียงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียดเป็นแถลงการณ์ประกอบดุลยพินิจในการทำคำสั่ง

ทั้งนี้ศาลเห็นว่าผลการตรวจวินิจฉัยของแพท์ยนั้นมีเป็นเอกสารราชการยืนยัน อีกทั้งจำเลยยังได้รับการประกันตัวจึงสามารถเข้ารับการรักษาได้ ศาลจึงมีคำสั่งให้ยกคดีนี้ขึ้นมาพิจารณาต่อและได้นัดจำเลยสอบคำให้การในวันที่ 30พ.ค.2559

ทนายความของนายประจักษ์ชัยได้ตั้งข้อสังเกตว่าในบันทึกคำเบิกความของศาลไม่ได้บันทึกประเด็นสำคัญเอาไว้คือ แพทย์ได้เบิกความตอบศาลด้วยว่าอาการของโรคจิตเภตนั้นเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง : ศาลทหารสั่งจำหน่ายคดียื่นคำร้องหมิ่นฯชั่วคราว จนกว่าหมอรักษาอาการดีขึ้น

ทนายฝ่ายจำเลยร้องไต่สวนอาการทางจิต คดี “บัณฑิต ม.112” จิตแพทย์ชี้ยังสู้คดีได้ ศาลทหารสั่งสืบต่อ

วานนี้ (11 ก.พ. 2559) ศาลทหารกรุงเทพนัดไต่สวนจิตแพทย์คดีตามมาตรา 112 ของ นายบัณฑิต อานียา นักเขียนวัย 74 ปี หลังบัณฑิตเข้ารับตรวจอาการทางจิตที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ตั้งแต่ตุลาคม 2558 ตามคำร้องขอให้ศาลส่งตรวจอาการวิกลจริต ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ทนายความยื่นต่อศาลไว้

โดยศาลไต่สวนความเห็นของนายแพทย์อภิชาติ แสงสิน นายแพทย์ชำนาญการจากสถาบันกัลยาฯ เพื่อประกอบรายงานที่แพทย์ได้ยื่นส่งต่อศาลก่อนหน้านี้

แพทย์เบิกความตามรายงานว่า “ลุงบัณฑิตมีร่องรอยความเจ็บป่วย ได้รับการรักษาไม่ต่อเนื่อง มีเเนวโน้มก่อคดีซ้ำ จึงควรได้รับการรักษาต่อเนื่อง ขณะประกอบคดีรู้ผิดชอบ” และได้เบิกความเพิ่มเติมจากรายงานต่อไปว่า “จำเลยมีความคิดยึดติดกับเรื่องบางเรื่อง และการรับรู้ความเป็นจริงอ่อนด้อยกว่าคนทั่วไป”

ศาลถามแพทย์ว่า ลุงบัณฑิตสามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ ทางแพทย์จึงตอบว่าสามารถต่อสู้คดีได้ ทนายความจึงถามผ่านศาลว่า ถ้าจะนิยามอาการของบัณฑิตเป็นจิตเภทหรือวิกลจริตได้หรือไม่ จิตเเพทย์จึงตอบว่า จิตเภทเป็นส่วนหนึ่งของอาการวิกลจริต เพราะคำวิกลจริตนั้นกว้างมาก

หลังจากนั้นศาลจึงแถลงว่าคดีนี้บัณฑิตสามารถต่อสู้คดีได้และนัดสืบพยานโจทก์ คือ ส.ท. พิชาญ วรรณกี้ และ จ.ส.อ.กายสิทธิ์ เจริญไพบูลย์ ในวันที่ 4 พ.ค. 59 เวลา 8.30 น

ทั้งนี้ ป.วิ.อาญา มาตรา 14 บัญญัติว่า “ในระหว่างทําการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สารถต่อสู้คดีได้ ให้พนักงานสอบสวนหรือศาลเเล้วเเต่กรณีสั่งให้พนักงานแพทย์ตรวจผู้นั้นเสร้จเเล้วให้เรียกพนักงานแพทย์ผู้นั้นมาให้ถ้อยคำหรือให้การว่าตรวจได้ผลประการใด”

โดยทั่วไปแล้ว ในกรณีที่จำเลยเป็นผู้วิกลจริตและสามารถต่อสู้คดีได้นั้น หากดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แล้วพบว่าขณะกระทำความผิดนั้นจำเลยวิกลจริต จำเลยก็อาจได้รับการยกเว้นโทษ หรือศาลอาจใช้ดุลพินิจ ลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ได้ ตาม ป.อาญา มาตรา 65

ที่ผ่านมา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษย์เคยยื่นคำร้องลักษณะนี้ในหลายคดี โดยคดีนี้เป็นคดีที่สองในศาลทหารที่ศาลส่งตัวไปรักษาอาการทางจิตและสืบจิตแพทย์ประกอบ โดยในคดีก่อนหน้านี้ศาลทหารสั่งจำหน่ายคดี (ดูคดีก่อนหน้านี้ที่: https://tlhr2014.wordpress.com/2015/10/20/prajakchai112/)

แพทย์เห็นว่าวิกลจริตแต่สู้คดีได้ คดี 112 รอคำสั่งอัยการฟ้องหรือไม่

4 ก.พ. 2559 นายเสาร์ ชายที่ถูกศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกล่าวหาว่า กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 จากการยื่นคำร้องที่มีเนื้อหาพาดพิงพระมหากษัตริย์ต่อศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถูกพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งสองห้อง นำตัวไปส่งให้พนักงานอัยการทหารเพื่อมีคำสั่งฟ้อง หรือสั่งไม่ฟ้องคดี แต่เนื่องจากพนักงานอัยการต้องใช้เวลาพิจารณาสำนวนคดี จึงนัดมาฟังคำสั่งในวันที่ 20 เม.ย. 2559

หลังจากครบกำหนดฝากขัง ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 19 ส.ค.2558 พนักงานสอบสวนยังไม่ได้ส่งสำนวนให้กับพนักงานอัยการ เนื่องจากเห็นควรให้งดการสอบสวนและส่งผู้ต้องหาเข้ารับการรักษาอาการป่วยทางจิตที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ จนกว่าจะหายหรือสามารถต่อสู้คดีได้ ตามที่ทนายความได้ยื่นหนังสือขอให้ส่งตัวเสาร์ไปตรวจอาการทางจิต ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.14 เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2559

20 ส.ค. 2558 เสาร์ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ก่อนพนักงานสอบสวนจะเป็นผู้นำตัวเขาไปเข้ารับการรักษาที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ แพทย์ผู้ทำการรักษาได้ส่งรายงานการตรวจวินิจฉัยโรคและการประเมินความสามารถในการต่อสู้คดีของเสาร์ให้แก่พนักงานสอบสวน ซึ่งทนายความได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่สถาบันกัลยาณ์เมื่อเดือน ธ.ค. 2558 เพียงว่า เสาร์เป็นผู้วิกลจริตแต่สามารถต่อสู้คดีได้

จากความเห็นแพทย์ที่ระบุว่าเสาร์สามารถต่อสู้คดีได้นั้น คณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีความเห็นควรสั่งฟ้องคดี พนักงานสอบสวน สน.ทุ่งสองห้อง จึงได้ส่งสำนวนคดีให้อัยการศาลทหารกรุงเทพ และนำตัวเสาร์ไปพบพนักงานอัยการในวันที่ 4 ก.พ. 2559 แต่พนักงานอัยการแจ้งว่าต้องใช้เวลาพิจารณาสำนวนเพื่อสั่งคดีตามสมควร จึงนัดให้มาฟังคำสั่งว่าจะฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีอีกครั้งในวันที่ 20 เม.ย. 2559 เวลา 10.00 น.

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2559 ทนายความได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมให้สั่งไม่ฟ้องคดีนายเสาร์ เนื่องจากอาทิตย์ป่วยเป็นโรคจิตเภท มีอาการความคิดหลงผิด เชื่อว่าตนมีความสามารถเกินจริง สามารถสื่อสารกับบุคคลต่าง ๆ ผ่านโทรทัศน์ โทรทัศน์พูดถึงตนเอง และมีความสัมพันธ์พิเศษกับบุคคลสำคัญซึ่งไม่ตรงกับความจริง

นอกจากนี้ เสาร์ยังไม่รู้สำนึกในการกระทำของตน เพราะเชื่ออย่างสนิทใจในเรื่องที่ไม่เป็นความจริงว่าเป็นความจริง และไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดว่า การยื่นคำร้องที่มีข้อความพาดพิงพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การกระทำของผู้ต้องหาจึงไม่มีความผิด เพราะขาดเจตนา ซึ่งการถูกดำเนินคดีอาจส่งผลกระทบต่อการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยอาการทางจิต ที่ควรได้รับการรักษาจากสถานพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ไม่เสี่ยงต่อการกระทำผิดซ้ำ

ทั้งนี้ ทนายความยังไม่เห็นรายงานการตรวจวินิจฉัยโรคและการประเมินความสามารถในการต่อสู้คดีของนายเสาร์ ที่แพทย์ส่งให้แก่พนักงานสอบสวนแต่อย่างใด

คดี 112 ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้กล่าวโทษ

13 มี.ค. 2558 ชายคนหนึ่งเดินทางไปยื่นคำร้องที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเขียนคำร้องยื่นฟ้องต่อศาลด้วยลายมือลงบนกระดาษ A4 เปล่า หลังจากยื่นคำร้องแล้ว เขาเดินทางกลับไปบ้านเพื่อรอฟังคำตอบ

และข้อความในคำร้องนั่นเอง ที่ทำให้ชายผู้นั้นถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์

อ่านเพิ่มเติม